‘สมเด็จพระเทพฯ’ เสด็จฯ เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2561 “BDMS Academic Annual Meeting 2018” ทรงเน้นย้ำถึง การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยยึดถือหลักคุณธรรม เมตตาการุณย์ เอาใจใส่ต่อผู้ป่วยโดยไม่เลือกปฏิบัติ ยังเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติงานรักษาชีวิตผู้ป่วย ควรจะต้องยึดมั่นอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกในทางที่ดี และมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ความเจริญล้ำหน้าอย่างสมัยใหม่ กับแนวความคิดเรื่องคุณธรรมที่ยึดถือกันมา จึงควรที่จะอยู่ควบคู่กันไปไม่แยกจากกัน
บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ผนึกกำลังโรงพยาบาลในเครือ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเปาโล และโรงพยาบาลรอยัล จัดการประชุมวิชาการ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2561 “BDMS Academic Annual Meeting 2018” ภายใต้แนวคิด “Excellent Healthcare Network : Medical Advances Meet Compassion” โดยเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาจากรพ. ชั้นนำจากต่างประเทศและในประเทศ มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด และบุคคลากรทางการแพทย์กว่า 1,500 คนที่เข้าร่วมงาน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม รพ.กรุงเทพ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ร่วมถวายการต้อนรับ ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล
โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทานพระราชดำรัสเปิดงานมีใจความตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ายินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการร่วม บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2561 ที่จัดขึ้นในวันนี้ แนวคิดหลัก Excellent Healthcare Network : Medical Advances Meet Compassion ที่กำหนดขึ้นสำหรับการประชุมวิชาการในครั้งนี้ เป็นแนวคิดที่เห็นว่าเหมาะสม ในปัจจุบัน แม้วิทยาการด้านการแพทย์และเทคโนโลยีในการรักษาผู้ป่วยจะก้าวหน้าพัฒนาไปเพียงใด การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยยึดถือหลักคุณธรรม เมตตาการุณย์ ความเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยโดยไม่เลือกปฏิบัติยังเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติงานรักษาชีวิตผู้ป่วย ควรจะต้องยึดมั่นอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกในทางที่ดีและมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ความเจริญล้ำหน้าอย่างสมัยใหม่ กับแนวความคิดเรื่องคุณธรรมที่ยึดถือกันมา จึงควรที่จะอยู่ควบคู่กันไปไม่แยกจากกัน ประการหนึ่งความมีคุณธรรมจะช่วยจรรโลงสังคมให้เป็นปกติสุข และผู้คนอยู่อย่างสงบร่มเย็นทั่วกัน ขออำนวยพรให้การประชุมวิชาการครั้งนี้ สัมฤทธิ์ผลสมความประสงค์ทุกประการ”
แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการและประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มรพ.กรุงเทพ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานการจัดงาน กล่าวว่า งานประชุมวิชาการในปีนี้ ได้จัดงานภายใต้แนวคิดหลักชื่อว่า “Excellent Healthcare Network: Medical Advances Meet Compassion” เครือข่ายผู้ให้บริการทางการแพทย์ แห่งความเป็นเลิศ โดยได้รับเกียรติจากสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงระดับสากล จากหลากหลายประเทศ อาทิ
- Doernbecher Children’s Hospital, Oregon Health and Science University(OHSU), USA
- The University of Texas, MD Anderson Cancer Center, USA
- Hannover Medical School (MHH), Germany
- Missouri Orthopedic Institute, USA
ในการประชุมครั้งนี้ มีหัวข้อบรรยายและการฝึกปฏิบัติการ ครอบคลุมสาขาวิชาการต่างๆ ทางการแพทย์ ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล งานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์และสาขาอื่นๆ จำนวน 185 หัวข้อ โดยหัวข้อการบรรยายในปีนี้ เน้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในเรื่องของการดูแลสุขภาพและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ควบคู่กันไป อาทิ การค้นพบวิธีรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดด้วยวิธีการบำบัดยีน (Evolution of Stem cell in transplant in Thalassemia) โดย ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง หัวหน้าโครงการโรคมะเร็งในเด็ก สาขาโลหิตวิทยาและโรคมะเร็ง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และหัวหน้ากุมารแพทย์ด้านโรคเลือด โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช เรื่อง The Sustainable Competitive Advantage in Medical Tourism โดย Paul Chang, MD. Vice President, Accreditation, Standards and Measurement JCI นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้งในประเทศและต่างประเทศตอบรับการร่วมแสดงปาฐกถา อาทิ Professor Reza J. Mehran, MD แพทย์ด้านมะเร็งจาก MD Anderson Cancer Center, USA Joseph Vincent Califano DDS, PHD ทันตแพทย์จาก Oregon Health and Science University(OHSU) Prof.Dr.Med.Christian Krettek, MD แพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์และอุบัติเหตุฉุกเฉิน (Orthopedics &Trauma) จาก Hannover Medical School (MHH)ประเทศเยอรมนี เป็นต้น
สำหรับความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจหลากหลายสาขา เช่น นวัตกรรมในการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีการบำบัดยีน โดยการวิจัยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมมือกับนักวิจัยจาก University of Paris และทีมแพทย์จากสหรัฐอเมริกา (Harvard Medical School) โดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพ่อแม่ของผู้ป่วยนำมาทดลองรักษา นับว่าเป็นเรื่องใหม่ของวงการการรักษาโรคธารัสซีเมีย ตัวนำที่ใช้ในการบำบัด มีการรวมยีน Beta-Globin ทั้งนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวยังได้รับการตีพิมพ์ใน The New England Journal of Medicine ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติอีกด้วย
ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ในอนาคตหากมีระบบการรักษารูปแบบนี้อย่างครบวงจรและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ประชาชนก็จะสามารถเข้าถึงการรักษารูปแบบนี้ได้มากขึ้น การรักษาและดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยเกี่ยวกับกระดูกและข้อและผู้ป่วยสูงอายุ การดูแลผู้ป่วยทางด้านโรคหัวใจ ในส่วนของการพัฒนาพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ มีการบรรยายพิเศษที่น่าสนใจ อาทิ บทบาทของเภสัชกรเกี่ยวการเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในผู้ป่วย การปรับปรุงยารักษาโรคมะเร็งในช่องปากรวมถึงผลกระทบ ความปลอดภัย และผลข้างเคียงจากการใช้ยา เพื่อเป็นการสนับสนุนให้โรงพยาบาลพัฒนาการบริหารจัดการและการบริการให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่รวดเร็วของโลกยุคดิจิตอล ในเรื่องของทันตกรรมมีหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น กระบวนการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนและกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียม Computer Guided Implant Surgery การทำทันตกรรมประดิษฐ์เพื่อทำอวัยวะเทียมบริเวณช่องปากและใบหน้า (Prosthesis) ในผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินฯ