6 ทักษะการทำงานยุค 4.0 ที่นักศึกษาต้องมี

31

ปี 2562 กำลังจะมาถึงในไม่ช้า การพัฒนาตัวเองให้พร้อมเข้าสู่ปีที่กำลังจะมาถึง เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ในปีหน้า ในภาคการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ต่างก็มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น

อีกทั้งในโลกของการทำงานทุกวันนี้ การมีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ต่างก็มองหาคนที่มีทั้งความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ รวมถึงทักษะการปรับตัวในการทำงาน มาร่วมงานในองค์กรด้วย

ทักษะต่างๆ ที่นายจ้างส่วนใหญ่มองหาก็คือ ทักษะทั่วไปในการใช้ชีวิตในสังคม (Social Skill) โดยเฉพาะในสายงานด้านสังคมศาสตร์ที่ต้องก้าวทันพลวัตรของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง จึงต้องการคนที่ปรับตัวก้าวทันโลกอยู่เสมอ ผ่านเทรนด์ทักษะใหม่ๆ ที่ไม่ค่อยมีสอนในมหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ วิศเวศวร คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (พีบีไอซี) เป็นวิทยาลัยนานาชาติที่นอกจากจะมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาณาบริเวณศึกษาที่โดดเด่นทั้งไทย จีน และอินเดีย อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ ทั้งด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และศิลปศาสตร์ พีบีไอซียังมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่สามารถใช้ชีวิตในสังคมและการทำงานอย่างมีคุณภาพ ผ่านหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรอบรู้ และทักษะทั่วไปในการใช้ชีวิตในสังคม (Social Skill)  โดยทักษะที่มีความสำคัญในปี 2562  ได้แก่

  1. มองสังคมอย่างเข้าใจผ่านหลักนิติธรรม

วิชาหลักกฎหมายเพื่อความยุติธรรมของสังคม (Principle of Law for Social Justice) แม้ชื่อวิชาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย แต่การเรียนวิชาหลักกฎหมายเพื่อความยุติธรรมของสังคม ที่พีบีไอซีมิได้มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้ข้อกฎหมายอย่างลึกซึ้ง แต่การเรียนวิชานี้จะมุ่งเน้นไปที่หลักนิติธรรมในสังคมต่างๆ การทำความเข้าใจหลักการทางกฎหมาย และความสัมพันธ์กันของกฎหมายและระบบสังคมนั้นๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้หลักการเหล่านี้ และนำมาต่อยอดในการวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมในบริบทของประเทศต่างๆ ได้ อีกทั้งวิชานี้จะเป็นรากฐานในการทำความเข้าใจระบบกฎหมายของอาณาบริเวณเฉพาะในวิชาเอกของนักศึกษาอีกด้วย

2.ก้าวทันโลก รอบรู้องค์การระหว่างประเทศ

ในปัจจุบันที่โลกเชื่อมกันภายใต้ความร่วมมือด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรือวัฒนธรรม การทำความเข้าใจความร่วมมือพหุพาคีและองค์การระหว่างประเทศที่มีมากมายในปัจจุบัน ผ่านการเรียนวิชาความร่วมมือพหุพาคีและองค์การระหว่างประเทศ จะทำให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ระดับสถานะของประเทศต่างๆ เหตุและผลในการเข้าเป็นสมาชิกของแต่ละความร่วมมือหรือองค์การ อีกทั้งการแสดงบทบาทในแต่ละเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์สูงสุดของประเทศนั้นๆ และการอยู่ร่วมกันในประชาคมโลก

  1. รู้จัก Big Data เพื่อการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด

ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มากมาย แต่ทำอย่างไรจึงจะสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายนั้นไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการใช้เทคโนโลยีอันอัจฉริยะ เป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้อย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ในวิชาวิเคราะห์ข้อมูลแบบประยุกต์ ที่นักศึกษาได้เรียนรู้ระเบียบวิธีใหม่เพื่อจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน เข้าใจข้อมูลชุดใหญ่และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้  รวมถึงการเลือกนำข้อมูลไปต่อยอดในงานวิจัยในวิชาระดับสูงต่อไป

  1. ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ

หนึ่งในวิธีการศึกษาสายสังคมศาสตร์ที่จะทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาในประเด็นเฉพาะที่สนใจอย่างลึกซึ้งและจับต้องได้ เช่นเดียวกับการศึกษาแบบสายวิทยาศาสตร์นั้น ก็คือการศึกษาวิจัย ในหัวข้อเฉพาะอย่างลึกซึ้ง แต่การศึกษาวิจัยนั้น ก็มีหลักการ ขั้นตอน เทคนิค และวิธีการที่มีรูปแบบเฉพาะ การเรียนวิชาระเบียบวิจัยด้านสังคมศาสตร์ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล ออกแบบวิจัย เก็บข้อมูล รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการประเมินผลการวิจัยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

  1. ศิลปะในการนำเสนอและการพูดในที่สาธารณะ

การมีความรู้มากมาย แต่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่พีบีไอซี ที่มีจุดมุ่งหมายในการผลิตผู้นำอย่างอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ คือการมีทักษะในการสื่อสาร ทั้งการพูดในที่สาธารณะ การนำเสนอผลงาน การกล่าวสุนทรพจน์ในเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบุคลิกความเป็นผู้นำ ซึ่งทั้งหมดนี้นักศึกษาพีบีไอซีจะได้เรียนในวิชาศิลปะในการนำเสนอและการพูดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นวิชาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคต ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดก็ตาม

  1. ความสามารถในการเป็นทูตวัฒธรรม

นอกจากการเรียนที่พีบีไอซีจะมุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นผู้นำในวิชาชีพต่างๆ แล้ว การเรียนด้านอาณาบริเวณศึกษาเฉพาะที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน โดยเฉพาะการศึกษาทั้งไทย จีน และอินเดีย ซึ่งแต่ละพื้นที่ต่างก็มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง นอกจากการเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ผู้เรียนด้านสังคมศาสตร์ควรมีทักษะในด้านนี้ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงความแตกต่าง หลากหลายของแต่ละพื้นที่ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

โดยวิชาแกนทั้ง 6 วิชานี้ จะเริ่มการเรียนการสอนกับนักศึกษาพีบีไอซี ชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป เชื่อว่าหากนักศึกษาผ่านการเรียนวิชาแกนทั้ง 6 วิชาที่กล่าวมา จะช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ของนักศึกษาพีบีไอซี ที่นอกจากจะมีความรู้ที่กว้างแบบสหวิทยาการทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และศิลปศาสตร์ อีกทั้งความรู้แบบเจาะลึกด้านอาณาบริเวณศึกษาทั้งไทย จีน และอินเดีย ส่งผลให้นักศึกษามีทักษะในการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต ควบคู่กับความรู้ที่อัดแน่นในทุกหลักสูตร นอกจากนี้พีบีไอซียังมีการเรียนการสอนแบบหลักสูตรนานาชาติ ทำให้ตลอด 4 ปี นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษอยู่ตลอดเวลา มั่นใจได้ว่าเรียนจบจากที่นี่ จะต้องมีทักษะที่พร้อมทั้ง 6 ด้าน และยังสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่อง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในยุค 4.0 อย่างแน่นอน

“อย่างไรก็ดี การเรียนรู้ที่จำกัดอยู่แค่รายวิชาในหลักสูตรเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ นั้น อาจทำให้เรามีความรู้ความสามารถในด้านที่เรียนโดยเฉพาะ แต่ในชีวิตการทำงานนั้น ไม่ได้ต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านวิชาการเท่านั้น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยในการทำงาน ก็คือ ทักษะความรอบรู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้จักวิธีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ การรู้จักมารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นเสมือนทักษะทั่วไปในการใช้ชีวิตในสังคม (Social Skill) ที่มีส่วนสำคัญในการมุ่งสู่ความสำเร็จทางด้านวิชาชีพ (Vocational Success) ได้ คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะสามารถเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ในรายวิชาระดับมหาวิทยาลัยได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่า ในคณะหรือสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ได้มีการพัฒนารายวิชาให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่เน้นการเรียนการสอนเพียงแค่ด้านวิชาชีพเพียงเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นให้นักศึกษามีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมที่ปรับตัวเท่าทันยุคสมัย และพร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับน้องๆ มัธยมปลายที่สนใจรายละเอียดหลักสูตรและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยที่มุ่งผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญทั้งแง่มุมเศรษฐกิจ การเมือง ภาษาและวัฒนธรรม ในพื้นที่เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย หรือไทย ด้วยการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ และโอกาสที่จะได้ศึกษาแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยคู่สัญญาชื่อดังในต่างประเทศ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.pbic.tu.ac.th สอบถามโทร. 0-2613-3701 หรือ facebook.com/PBIC.TU