รู้หรือไม่ว่า ท่ายืน•นั่ง•นอน บ่งบอกพฤติกรรมส่วนตัวและอาการเจ็บป่วยโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ด้วย ไม่ว่าจะปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดคอ ปวดหลัง นอนหลับไม่สนิท ทั้งยังส่งผลต่อรูปร่าง เช่น พุงยื่น หลังงอ ส่วนใหญ่เกิดจากท่าทางที่คุณเคยชินในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลต่อบุคลิกภาพและสุขภาพของคุณในระยะยาว ว่าแต่ร่างกายกำลังส่งสัญญาณอะไรบอกเรากันบ้าง? แล้วการเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยจะช่วยให้คุณมีสุขภาพและบุคลิกภาพดีขึ้นได้อย่างไร ? มาดูกัน
ร่างกายกำลังบอกอะไรกับคุณ ?
ทันทีที่คุณเผลอร่างกายจะปรับเข้าสู่ท่านั่งและท่ายืนที่คุ้นเคยโดยอัตโนมัติ เช่น คนที่นั่งหลังงอ ไหล่ห่อ คอตก มักเกิดจากการนั่งทำงาน เล่นเกม ติดสมาร์ทโฟน ซึ่งมักจะตามมาด้วยอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเอว เมื่อยตัว อ่อนเพลียเรื้อรัง (นวดเท่าไหร่ก็ไม่หายปวดเมื่อย) ส่วนคนที่ยืนงอเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ไหล่ห่อ หลังค่อม พุ่งยื่น ยืนค้อมตัวไปข้างหน้า คอยื่นไปข้างหน้าหรือเอนไปข้างหลัง มักเกิดจากท่าทางการยืนและการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้วตลอดวันและต้องยืนทรงตัวนานหลายชั่วโมง คนที่สวมรองเท้าไม่เหมาะสม เช่น พื้นรองเท้าแข็ง รองเท้าคับแน่น นิ้วเท้าเบียดซ้อน ฯลฯ ลองปรับเปลี่ยนท่านั่งและท่ายืนให้ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและสบายมากขึ้น (แม้คุณจะรู้สึกเกร็ง ๆ บ้างในช่วงแรก) พร้อมส่งเสริมให้บุคลิกภาพสง่างามและรูปร่างดูดีขึ้นด้วยนะ
ปรับเปลี่ยนเพื่อบุคลิกภาพที่ดี ทำไมต้องกังวลด้วยล่ะ ?
หากคุณยืนหรือนั่ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน มันจะสร้างความเครียดและอาการตึงล้ากล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นเอ็นเกิดความเจ็บปวดและเสียหาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง คอ•บ่า•ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม และเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคเอ็มเอส (Multiple Sclerosis) ซึ่งเกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็น ซึ่งการปรับเปลี่ยนท่านั่งและท่ายืนจะช่วยลดภาระของกล้ามเนื้อให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดความเจ็บป่วยที่เกิดกับร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์กายภาพบำบัด (Journal of Physical Therapy Science) ระบุว่า ท่านั่งและท่ายืนส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและความรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก เพราะการนั่งตัวตรงจะช่วยให้กล้ามเนื้อสมดุลที่สุด ทั้งยังลดแรงกดดันที่ส่งไปยังข้อต่อและเส้นเอ็นอีกด้วย
ในความเป็นจริงแล้วการยืนและการนั่งล้วนกดน้ำหนักลงบริเวณหลังส่วนล่าง แม้ว่าการยืนจะออกแรงกดมากกว่านอนราบประมาณ 5 เท่า แต่เชื่อเถอะว่าการนั่งมีพลังมากกว่านั้น การปรับเปลี่ยนท่านั่งเก้าอี้และท่ายืนจะช่วยดูแลกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เช่นเดียวกับการยืนตัวตรง ไม่ห่อไหล่ ไม่งอหลังจะช่วยให้ลดอาการตึงเล้าของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย รวมถึงลดอาการเกร็งและกล้ามเนื้อกระตุกได้ด้วย
บุคลิกภาพและท่าทางที่เหมาะสม
• ยืนตัวตรง หน้าอกผ่าย คอตั้ง ผ่อนคลายช่วงไหล่ไปข้างหลังเล็กน้อย หลีกเลี่ยงการยืนงอเข่าข้างใดข้างหนึ่ง เพราะน้ำหนักตัวจะกดลงที่หัวเข่าและปลายเท้าเพียงข้างเดียว ส่งผลให้ปวดเข่า เท้าชา ปวดเท้า และบุคลิกไม่ดี
• ปลายเท้าทั้งสองข้างควรอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ เพื่อรักษาสมดุลของน้ำหนักตัวที่กดลงสู่หัวเข่าและปลายเท้า
• หลีกเลี่ยงการนั่งบนเก้าอี้หรือโซฟานุ่ม ๆ เป็นเวลานาน เพราะน้ำหนักจะกดลงบริเวณหลังส่วนล่างมากเกินไป ส่งผลให้ปวดหลังและปวดเมื่อยบริเวณเอว
• นั่งตัวตรง ปรับระดับเก้าอี้ให้เหมาะสมกับโต๊ะคอมพิวเตอร์ ไม่ก้มหน้ามองจอ ไม่นั่งยกไหล่ เพื่อลดอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ควรมีแผ่นดันหลังเพื่อช่วยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อหลังให้ตรงและผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน
• ใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อรองรับหลังส่วนล่างเมื่อนั่งบนเก้าอี้หรือขับรถ เช่น แผ่นรองนั่ง BackJoy นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลิกภาพและนักกายภาพบำบัดระดับโลกอย่างรุ่น “โพสเจอร์คอร์” (BackJoy Posture Core) และ “คอร์ แทร็คชั่น” (BackJoy Core Traction) พัฒนาจากแผ่นรองนั่งรุ่นขายดีตลอดกาล “โพสเจอร์ พลัส” (BackJoy Posture Plus) ที่ทำให้ BackJoy กลายเป็นซิกเนเจอร์ของแผ่นรองนั่งป้องกันอาการปวดหลังและเสริมบุคลิกภาพที่ดี โดยแผ่นรองนั่งรุ่นใหม่ได้ออกแบบฐานรองนั่งให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับสรีระได้มากขึ้น และวัสดุคุณภาพดีที่มอบสัมผัสนุ่มสบาย จนคุณสัมผัสได้ถึงการรองรับที่ผ่อนคลายมากขึ้น
แค่ปรับ•ขยับ•เปลี่ยน พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน คุณก็พร้อมมีบุคลิกภาพที่ดีและสุขภาพดีในระยะยาวแล้วล่ะ