ปัจจุบัน ภาพรวมปัญหาสุขภาพของคนไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น จากการได้รับการดูแลรักษา ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบกับผู้ป่วย หรือคนไข้ มีทางเลือกในการรักษามากมาย ผ่านองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายมหาศาล (บิ๊กดาต้า) ธุรกิจโรงพยาบาลจำเป็นต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน
นายแพทย์ อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 เล่าถึงพัฒนาของโรงพยาบาลพญาไท 2 เนื่องในโอกาสครบรอบ 32 ปี และก้าวสู่ปีที่ 33 ว่า ช่วง 10 ปีแรกของการก่อตั้งโรงพยาบาลพญาไท 2 ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตามอาการทั่วไป ในช่วง 10 ปีต่อมา เน้นการพัฒนาคุณภาพการรักษา เพื่อดูแลผู้ป่วยให้ได้ตามมาตรฐานสากล และช่วง 10 ปีหลัง โรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวจากมาตรฐานระดับประเทศ ไปสู่มาตรฐานระดับสากล เช่น โปรแกรมมาตรฐานรับรองเฉพาะโรค CCPC มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทันสมัย
สำหรับปีนี้ โรงพยาบาลมุ่งต่อยอดสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ก้าวหน้าระดับโลก หรือ State-of the art Medical Campus เพื่อให้บริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาล เป็น Research based hospital มีการวิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์ ทั้งการจับมือกับสถาบันการแพทย์นานาชาติ เช่น Oregon Health & Science University (OHSU) / Osaka University Hospital ในด้านการส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกันโดยปรับไลฟ์สไตล์ในการชีวิตนำไปสู่สุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในด้านการดูแลรักษา ไม่ใช่แค่การดูแลผู้ป่วย แต่ต้องมีความใส่ใจมากขึ้น ซึ่งช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลยึดหลัก “Customer Centric” หรือคนไข้เป็นศูนย์กลางของการรักษา ให้ข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย ปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงพัฒนานวัตกรรมเชิงป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับรหัสพันธุกรรม รวมถึงโรคความเสื่อมของร่างกายที่สามารถวางแนวทางการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
“การดูแลผู้ป่วยด้วยแนวทางนี้ ทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากร จะต้องมีกระบวนการในการทำความเข้าใจในมุมมอง เคารพในความต่าง ความซับซ้อนของจิตใจ สังคม พื้นฐานและประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยควบคู่กับการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งการป้องกันก่อนป่วยในกลุ่มทั่วไป ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค และการป้องกันโรคแทรกซ้อนในกลุ่มที่เป็นโรคแล้ว” นายแพทย์ อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย ผู้อำนวยการแพทย์กล่าวเสริม
นายแพทย์ อนันตศักดิ์ กล่าวว่า การให้ข้อมูล ทางเลือกต่างๆ ในการรักษาแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล เป็นการให้อำนาจในการตัดสินใจเลือกแนวทางรักษาของผู้ป่วย ยินดีให้ผู้ป่วยรับการวินิจฉัยจากบุคลากรทางการแพทย์ได้หลายคน นำไปสู่การเลือกแนวทางรักษาที่ดีที่สุด โดยผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สร้างความรู้สึกที่ดี เพิ่มการเข้าถึงโรงพยาบาลได้มากขึ้น เพราะปัจจุบันมีบิ๊กดาต้ามากมายในวงการแพทย์ที่ผู้ป่วยเองมีกระบวนการเรียนรู้ เป็นการสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ นำไปสู่แนวทางการรักษาที่ดีที่สุด สอดรับกับแนวทางการให้บริการผู้ป่วยแบบ “เข้มข้น ใส่ใจ เชื่อมโยง”
ทั้งนี้ ในโอกาสครบรอบ 32 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 จัดทำแคมเปญ “สุขภาพดีครบ 32” ที่เน้นการตรวจหาความเสี่ยงของโรค ที่ออกแบบแพคเกจให้เหมาะสมกับทุกช่วงวัย และเป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาล ได้แก่ ช่วงวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป เน้นเรื่องโรคที่อาจเกิดจาการทำงาน เช่นปวดหัว ออฟฟิศซินโดรม ปวดตาจากการใช้คอมพิวเตอร์/โทรศัพท์เคลื่อนที่ การตรวจสารโลหะหนัก โรคเครียดจากการทำงาน หมดไฟ (ต่อมหมวกไตล้า) โรคกล้ามเนื้อ/เส้นเอ็นอักเสบ โรคมะเร็ง ตรวจหาภูมิแพ้จากเลือด เป็นต้น
ช่วงวัย 50 ปีขึ้นไป เน้นการปรับพฤติกรรม รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โรคที่เกิดจากพฤติกรรม โรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ ความดัน โรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน วัยทอง มะเร็งฯลฯ
กลุ่มแม่และเด็ก เน้นสุขภาพแม่และเด็ก ตั้งแต่ครรภ์ คลอด หลังคลอด เพราะการตั้งครรภ์ในปัจจุบันจะเกิดขึ้นในผู้หญิงกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สุขภาพคุณแม่มือใหม่ พัฒนาการเด็ก
และแพคเกจทั่วไปราคา 3,200 บาท ตรวจทั้งหมด 18 รายการ
จากข้อมูลจาก TDRI ระบุว่า ปัจจุบันค่าใช้จ่ายสุขภาพโดยรวมของคนไทยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล 75% ค่าป้องกันและดูแลสุขภาพ 5% และมีค่าอื่น ๆ เช่น ซื้อวิตามินอีก 20% โดยกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่ป้องกันได้ หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตมาเป็นการดูแลสุขภาพ ตรวจหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนการรักษาได้เพิ่มมากขึ้น