การลงทุนในที่นี้ คือการลงทุนผ่านตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (KTAM) ให้เหตุผลว่าทำไมตลาดหุ้นอาเซียนจึงมีความน่าสนใจในระยะยาว ดังนี้
1. เป็นที่คาดหมายว่า GDP ของอาเซียนจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ภายในปี 2050 รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา
2. คาดการณ์ว่าภูมิภาคอาเซียนจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ระบบราง ท่าเรือ สนามบิน โรงไฟฟ้า ระบบประปา และโครงข่ายการสื่อสาร มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี 2016 – 2030
3. ภาคการท่องเที่ยวเติบโตสูง ในปี 2018 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 129.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.6% จากปีก่อน โดย GlobalData คาดการณ์ว่า นักท่องเที่ยวเข้าอาเซียนจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 4.72% ต่อปี จนแตะ 155.4 ล้านคนในปี 2022
4. โครงสร้างประชากรในภาพรวมของอาเซียน มีจำนวนคนอายุไม่ถึง 35 ปีมีอยู่มากกว่า 380 ล้านคนหรือคิดเป็น 58% ของประชากรในอาเซียน ซึ่งมากกว่าจำนวนชาวสหรัฐฯอเมริกาทั้งประเทศ มีกำลังแรงงานใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากจีนและอินเดีย
จำนวนคนชั้นกลางในอาเซียน จะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 135 ล้านคน (24%) ในปี 2015 ไปเป็น 334 ล้านคน (51%) ในปี 2030 อันเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการบริโภคให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว
5. อาเซียนเป็นจุดหมายอันดับต้น ๆ ในการย้ายฐานการผลิต นับตั้งแต่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน โดยปัจจัยที่ดึงดูดการลงทุน ทั้งทำเลที่ตั้ง ห่วงโซ่อุปทานและเครือข่ายขนส่งที่แข็งแกร่ง กำลังแรงงานขนาดใหญ่ รวมถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศมหาอำนาจทั้งสองซึ่งเป็นคู่ขัดแย้ง
ส่วนปัจจัยสนับสนุนตลาดในระยะสั้น เจพี มอร์แกน เปิดเผยสถิติในอดีตที่ผ่านมา ชี้ว่าตลาดหุ้นอาเซียน มักสร้างผลตอบแทนโดดเด่น ในช่วง 3-6 เดือนหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ ( Fed ) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่อนคลายนโยบายการเงินในช่วงกลางของวัฏจักรเศรษฐกิจ
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ผลตอบแทนของ YTD (2ม.ค.-23 ก.ค.) อยู่ที่ 11.02% ย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 6.54% ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 5.93% และย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 6.08% ซึ่งสูงกว่า Benchmark ( MSCI South East Asia Index ) YTD
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานอนาคต / การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน