เทคโนโลยีเกิดใหม่ เปลี่ยนชีวิตคนภายในปี 2030

38

แม้เราจะยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง แต่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ หรือ แนวคิดของผู้คน

ล่าสุด เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้เปิดเผย อนาคตของการใช้ชีวิตที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน หรือ Future of Connected Living งานวิจัยใหม่ที่สำรวจว่าเทคโนโลยีที่เกิดใหม่จะเปลี่ยนแปลงรูปหรือปฏิรูปรูปแบบการใช้ชีวิตของเราในปี 2030 ไปอย่างไร โดยการวิจัยนี้จัดทำขึ้นผ่านความร่วมมือกับ สถาบันแห่งอนาคต (Institute for the Future หรือ IFTF) และแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne)ในการดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำทางธุรกิจ 1,100 คนใน 10 ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศญี่ปุ่น (APJ) ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ ผลการสำรวจให้ข้อมูลและมุมมองของโลกอนาคตที่เปี่ยมล้นไปด้วยโอกาสอันเนื่องมาจากความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีส์ที่มอบศักยภาพในการที่จะขับเคลื่อนความก้าวหน้าของมนุษย์ทั่วทั้งโลก

เทคโนโลยีเกิดใหม่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำคัญ

สถาบันแห่งอนาคต (IFTF) และฟอรัมการประชุมของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้คาดการณ์ว่าเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (edge computing) 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีด้าน reality ทั้งหมด อย่าง Extended Reality (XR) และ IoT จะผสานรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้าง “การเปลี่ยนแปลง” ครั้งสำคัญห้าประการในทศวรรษใหม่ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีพลังในการที่จะเปลี่ยนแปลงสรรพชีวิตต่างๆ ที่อยู่ทั่วโลก

สถาบันแห่งอนาคต (IFTF) ทำนายการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาในช่วงระหว่างปัจจุบัน จนถึงปี 2030 ดังนี้

  1. เครือข่ายของระบบเสมือนจริง (Networked Reality) ในอีกสิบปีข้างหน้า ไซเบอร์สเปซจะกลายเป็นภาพซ้อนทับ (overlay) บนความเป็นจริงที่มีอยู่ของเราจากการที่สภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของเราขยายออกไปเกินกว่าโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ในการแสดงผลอื่นๆ
  2. ยานยนต์ที่เชื่อมต่อเข้าหากัน (connected mobility) และความสำคัญของเครือข่ายที่รวมเข้าด้วยกัน (Networked Matter):  สามารถในการเชื่อมต่อและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง – ยานพาหนะในอนาคตจะกลายเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้ เราจะไว้วางใจให้พาหนะเหล่านี้เดินทางไปในทุกที่บนโลกที่สามารถจับต้องได้ใบนี้ในขณะที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์กับโลกเสมือนที่พร้อมให้เราเข้าถึงได้ในทุกที่ที่เราอยู่
  3. จาก ดิจิทัล ซิตี้ (Digital Cities) ไปสู่ เซนเทียน ซิตี้ (Sentient Cities) หรือเมืองที่มีความรู้สึก – เมืองต่างๆ จะลุกขึ้นมามีชีวิตผ่านทางเครือข่ายต่างๆ ทั้งของโครงสร้างพื้นฐานของทั้งวัตถุอัจฉริยะ (smart objects) ระบบการรายงานผลด้วยตัวเอง (self-reporting systems) และการวิเคราะห์ด้วยพลังของ AI ที่รวมเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน
  4. ผู้ช่วยและระบบกฏเกณฑ์ขั้นตอนวิธีต่างๆ (Agents and Algorithms) พวกเราแต่ละคนจะได้รับการดูแลสนับสนุนจาก “ระบบปฏิบัติการเพื่อการดำรงชีวิต” (operating system for living) ที่เป็นส่วนตัว ที่สามารถคาดเดาได้ถึงความต้องการของเรา และให้การสนับสนุนภาระกิจต่างๆของเราในแต่ละวันในแบบเชิงรุกเพื่อทำให้มีเวลาว่างเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  5. โซเชียลไลฟ์ของหุ่นยนต์ (Robot with Social Lives) หุ่นยนต์จะกลายมาเป็นเป็นหุ้นส่วนในชีวิตของเรา ช่วยเพิ่มทักษะและขยายขีดความสามารถของเราในด้านต่างๆ  หุ่นยนต์จะแบ่งปันความรู้ที่ได้รับใหม่ไปยังเครือข่ายโซเชียลหุ่นยนต์ (social robot network) ไปยังนวัตกรรม crowdsource และกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าในแบบเรียลไทม์

    ปัง ยี เบ็ง

“การเชื่อมต่อและความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีจะมีความแตกต่างออกไปอย่างมหาศาลในปี 2030 และเราเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุดระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรคือความสัมพันธ์ในระยะยาวของเผ่าพันธ์ที่แตกต่าง (symbiotic) และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน” ปัง ยี เบ็ง รองประธานอาวุโส ภูมิภาคเอเชียใต้ เดลล์ เทคโนโลยีส์

“เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นที่ร่วมในการสำรวจ ต่างยินดีที่จะเป็นพันธมิตรกับเครื่องจักรและหุ่นยนต์เพื่อสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดในด้านต่างๆ ของมนุษย์ เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิต และสร้างความสมดุลย์ของการทำงานและการใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ในขณะที่ช่วยให้เมืองของเรามีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น”

นายนพดล ปัญญาธิปัตย์

ในส่วนของการเติบโตในด้านการนำเทคโนโลยีเกิดใหม่เข้ามาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างๆ จะปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราไปในรูปแบบที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน จากการที่ภาครัฐกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงด้วยแผนงาน Thailand 4.0 พร้อมเป้าหมาย Digital Thailand การลงทุนที่สำคัญจำเป็นต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy) รวมทั้งการกำกับดูแลสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไปจนถึงการสร้างอัตลักษณ์ดิจิทัล (digital identities) สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการพูดคุยและค้นหาแนวทางในการที่เราจะสามารถทำให้อนาคตนี้เป็นจริงด้วยความร่วมมือของมนุษย์และเครื่องจักรที่ครบถ้วนสมบูรณ์”

การเปลี่ยนแปลงที่คาดไว้

องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยกำลังเตรียมพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แล้ว โดยการสำรวจส่วนหนึ่งเผยให้เห็นถึงมุมมองของผู้นำทางธุรกิจดังนี้

  • 80 เปอร์เซ็นต์ (89 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) คาดหวังว่าพวกเขาจะปรับเปลี่ยนรูปแบบในการใช้เวลาด้วยการจัดการภาระการงานด้วยระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น
  • 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจ (60 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) พร้อมตอบรับเครื่องจักรที่กำลังจะกลายมาเป็นเครื่องจักรที่สามารถคิดและทำงานได้ด้วยตัวเอง (self-aware)
  • มากกว่าครึ่งของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยที่ ระบุว่าพวกเขาคาดว่า Networked Reality จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในอนาคต
  • 63 เปอร์เซ็นต์ (78 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) กล่าวว่าพวกเขาพร้อมตอบรับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงทั้ง VR (virtual reality) และ AR (augmented reality) ในทุกวัน
  • 62 เปอร์เซ็นต์ (79 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) กล่าวว่าพวกเขายินดีต้อนรับผู้ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิด (brain computer interfaces)

มุ่งสู่ความท้าทาย

จากผลการวิจัย การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สำคัญที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความท้าทายต่อผู้คนและองค์กรที่กำลังต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ปรารถนาจะควบคุมพลังของเทคโนโลยีเกิดใหม่จำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวม ประมูลผล และนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทันกับนวัตกรรมที่มีเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นธรรมของระบบกฏเกณฑ์ (algorithms) ที่มีแนวโน้มในการที่จะดำเนินการทำทุกสิ่งอย่าง ตั้งแต่การตัดสินใจว่าวิธีการที่บริษัทพิจารณาว่าจ้างบุคคล ไปจนถึงผู้ที่มีคุณสมบัติในการกู้ยืมเงินที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่นเดียวกับความกังวลที่มีเพิ่มขึ้นจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ รัฐบาลต่างจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีในการทำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถแบ่งปันและนำข้อมูลมาปรับใช้ในกรณีที่เมืองต่างๆ จะเปลี่ยนรูปแบบจากดิจิทัลไปสู่เซนเทียน (sentient) หรือเมืองที่มีความรู้สึกได้

ผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทย ต่างคาดการณ์ถึงความท้าทายต่างๆ รวมไปถึงความกังวลที่มีต่อ คาดการณ์ถึงความท้าทายและความกังวลเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม (social lives):

  • ผลสำรวจ ระบุว่า78% (61% ในประเทศไทย) คาดว่าในปี 2030 ผู้นำทางธุรกิจจะมีความกังวลต่อความเป็นส่วนตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • 74% ของผู้นำธุรกิจที่เข้าร่วมในการสำรวจ (69% ในประเทศไทย) ระบุว่าพวกเขาพิจารณาให้ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) อยู่ในของความอันดับต้นๆ (top) ของความท้าทายในระดับสังคมขนาดใหญ่ (societal-scale) ที่ต้องมีการแก้ไข
  • ผลการสำรวจชี้ว่า 49 เปอร์เซ็นต์ (60 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) พร้อมตอบรับเครื่องจักรที่กำลังจะกลายมาเป็นเครื่องจักรที่สามารถคิดและทำงานได้ด้วยตัวเอง (self-aware)

ข้อกังวลและความท้าทายอื่นๆ ที่มีการระบุถึงยังรวมไปถึงการใช้ AI โดย 49 เปอร์เซ็นต์  (38 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) เรียกร้องให้มีการออกระเบียบและความชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ AI รวมถึงกรณีของผลกระทบที่มีจะมีต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทางดิจิทัล (digital disruption) ด้วย 84 เปอร์เซ็นต์ (90 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) ยอมรับว่าการปฏิรูปดิจิทัล (digital transformation) ควรที่จะขยายครอบคลุมไปให้ทั่วทั้งองค์กรของพวกเขามากกว่าเดิม

เพื่อการดำเนินการวิจัย ทางสถาบันแห่งอนาคต (IFTF) พึ่งพาข้อมูลการศึกษานับเป็นเวลาหลายทศวรรษของสถาบันเกี่ยวกับอนาคตของการทำงานและเทคโนโลยี ผนวกเข้ากับการวิจัยล่าสุดของเดลล์ เทคโนโลยีส์และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก การวิจัย The Future of Connected Living ถือเป็นงานวิจัยชิ้นที่สาม และเป็นชิ้นสุดท้ายในซีรีย์การวิจัยที่มีทั้งหมดสามส่วนซึ่งรวมถึง The Future of the Economy และ The Future of Work ที่ได้รับการเปิดเผยก่ออนหน้านี้ภายในปี 2019 นี้