เมืองไทยยังหนีฝุ่นไม่ได้ เสนอ 7 มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

24

“สุวิทย์” เดินหน้าฝ่าวิกฤติฝุ่นพิษ ยกระดับ PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ ชี้นับจากนี้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับ PM2.5 ทุกปี สั่งระดมผลงานวิจัยแก้ปัญหาเร่งด่วย ด้าน วช.เสนอ 7 มาตรการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า  กระทรวง อว. ได้ยกระดับการแก้ไขปัญหา PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากสถานการณ์เรื่องฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยได้กลายเป็นภัยคุกคามของคนไทยทั้งประเทศที่ต้องเผชิญทุกปี สามารถเกิดได้ในทุกภูมิภาคของประเทศในเวลาที่แตกต่างกัน เริ่มจากในช่วงปลายปีจนถึงกุมภาพันธ์  ควันพิษจะล่องลอยอยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง  ขณะที่ภาคอีสานจะรับช่วงต่อจากกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนมีนาคม พร้อมๆ กับภาคเหนือที่จะประสบปัญหาฝุ่นพิษ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน  แต่เมื่อผ่านกลางปีไปตั้งแต่มิถุนายนถึงตุลาคม ภาคใต้จะเต็มไปด้วยหมอกควัน เป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ทุกปี

“ผมได้ให้โจทย์ใหญ่กับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในการแก้ไขประเด็นที่ท้าทาย (Grand Challenge) โดยต้องระดมผลงานวิจัยทั้งหมดในการปัญหาดังกล่าว โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ  คือ 1. ทำอย่างไรที่จะลดการเกิดฝุ่นที่ต้นกำเนิด 2. ทำอย่างไรที่จะมีกลไกลในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการควบคุมปริมาณฝุ่น  และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ 3. การดูแลประชาชนว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร”

ด้าน ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักการงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศ ของประเทศไทยกำลังเป็นปัญหาระดับชาติ และสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 25 ไมครอน หรือ PM25 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรงอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระหบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึง ส่งผลกระทบเชิงลบในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิของประทศ กระทรวง อว. โดย สำนักงานการวิชัยแห่งชาติ (วช) ได้ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิคราะห์ปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM25 เกินค่ามาตรฐาน จึงพร้อมหนุน 7 มาตรการผชิญเหตุเร่งผลักดันการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจึงร่วมกันนำเสนอเป็นมาตรการ 7 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 มาตรการการลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดทุกจุดอย่างเป็นระบบ  ใช้ผลการศึกษาวิจัยสาเหตุการสะสมของควันและฝุ่นละอองในอากาศ จากการใช้เชื้อเพลิงในภาคคมนาคม อุตสาหกรรม และการเผาในพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยและของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหยุดการเกิดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดทุกจุดทุกพื้นที่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กลไกลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลว่าความถูกต้องเป็นอย่างไร และเปิดผลข้อมูลออกไป ก็จะเป็นกลไกที่สำคัญและจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

เรื่องที่ 2 มาตรการระยะสั้นเร่งด่วนเพื่อลดฝุ่นจากการคมนาคม  ลดการใช้รถส่วนบุคคล และรถขนส่งที่เกิดฝุ่น PM 2.5 ได้สูง โดยให้สามารถทำงานจากบ้าน (Work from Home) เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชน และเพิ่มรถเมล์ปลอดควัน เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ  รวมถึงมาตรการ Park & Ride (จอดและจร) ด้วยบริการรถรับ-ส่ง จากจุดจอดรถชานเมืองเข้าถึงตัวเมืองโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางจากจุดจอดรถแล้วจร

ซึ่งในมาตรการนี้ อว. ได้มีการประกาศนโยบายลดการเดินทางโดยไม่จำเป็นและลดการใช้รถส่วน ส่งเสริมการใช้บริการรถขนส่งคมนาคม พร้อมให้มหาวิทยาลัย  โรงเรียน อยู่ในการดูแลส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีการใช้การขนส่งสาธารณะมากขึ้น  รวมถึงการเสนอมาตรการเหลื่อมเวลาทำงานของส่วนราชการ

เรื่องที่ 3 มาตรการลดและหยุดการเผาในที่โล่ง  และบริหารจัดการควบคุมการเผาผ่านระบบสารสนเทศ (IT Management) ให้มีการลงทะเบียนเพื่อจัดกลุ่มและควบคุมช่วงเวลา/อัตราการเผา/ทิศทางลม เพื่อลดความหนาแน่นของฝุ่นควันจากการเผา (Peak Load)

เรื่องที่ 4 มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลค่า PM 2.5 อย่างทันท่วงที ถูกต้อง เข้าใจง่าย เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันได้ และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะแจ้งรายงานผลและคำแนะนำประจำวันจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง และเร่งติดตั้งเครื่องวัดปริมาณฝุ่น Dust Boy เพิ่มขึ้นให้มีจุดวัด 8,000 จุดทั่วประเทศ

เรื่องที่ 5 มาตรการลดผลกระทบสุขภาพของประชาชน  เมื่อค่า PM 2.5 มีปริมาณสูงขึ้น ต้องมีกลไกลสำคัญเร่งด่วนในการดูแลสุขภาพประชาชน  เช่น แจ้งเตือน และรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นได้ รวมทั้งการแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชน  การลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าอุปกรณ์การตรวจวัดให้เข้าถึงได้ อุปกรณ์ความปลอดภัย หน้ากากอนามัย ใช้กลไกลเรื่องภาษี และการวิจัย  จัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ สำหรับประชากรที่มีความอ่อนไหว เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือพื้นที่ในโรงพยาบาล

เรื่องที่ 6  มาตรการขับเคลื่อนการวิจัยและใช้ประโยชน์จากการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม  สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเซ็นเซอร์วัดอนุภาคฝุ่น ในอากาศแบบเรียลไทม์ การพัฒนาและใช้เครื่องลดฝุ่นในรูปแบบต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในเครือข่ายนานาชาติและบริหารความเสี่ยงต่อสุขภาพในเมืองอัจฉริยะ  จัดกิจกรรมตอบโจทย์ประเด็นท้าทาย (Grand Challenge) ทำโดยวิจัย นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ด้วยวิธีให้ทุนและการประกวดนวัตกรรมการตรวจวัดและการลดฝุ่น (ประกวดกิจกรรม X-PRIZE) ขยายผลโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน ระยะที่ 3 มีการพัฒนาระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ (NRCT Air Quality Information Center: NRCT AQIC) และการนำวิจัยนวัตกรรมไปจัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผา

เรื่องที่ 7 มาตรการระยะยาว  เป็นกลุ่มมาตรการซึ่งทางเครือข่ายนักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง คิดว่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น การเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  การแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดน การดูแลส่งเสริมอาชีพใหม่ที่ยั่งยืน  และการจัดตั้งเครือข่ายบูรณาการแก้ปัญหา รวมทั้งกลไกลการปลูกพืชคลุมดิน ทำฝายชะลอน้ำเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งโครงการที่กระทรวง อว.มีอยู่แล้ว  เรื่องการส่งเสริมพัฒนาเมืองเพื่อลดปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต