ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผู้อุทิศตนใช้ความรู้ในการผลิตยาต่อต้านไวรัส HIV

599

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับ “วันเอดส์โลก”  บิล เกตส์  ผู้ก่อตั้งบริษัท ไมโครซอฟท์ ได้โพสต์เฟสบุ๊คยกย่อง ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ โดยระบุว่า

“Dr. Krisana Kraisintu, a pharmacist from Thailand, has dedicated her life to making medicines more affordable and accessible. Her efforts have saved and improved countless lives” หรือ “ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรจากประเทศไทย ได้อุทิศชีวิตของเธอในการผลิตยาราคาไม่แพงและสามารถเข้าถึงได้ ความพยายามของเธอช่วยชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วน”ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผู้อุทิศตนใช้ความรู้ในการผลิตยาต่อต้านไวรัส HIV ในผู้ป่วยโรคเอดส์ของประเทศไทย ก่อนเร่รอนเดินทางด้วยความมุ่งมั่นเพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตยาต่อต้านเอดส์ในทวีปแอฟริกา ด้วยความหวังที่ต้องการจะให้ผู้ป่วยในประเทศโลกที่สามนั้นสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาที่มีราคาถูก

ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย กฤษณาเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาและมารดาเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขทั้งคู่ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขเช่นกัน

กฤษณาจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร หลังจากจบการศึกษาแล้ว กฤษณาได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ทำงานในองค์การเภสัชกรรมและเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ “ยาเอดส์” ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา เธอดำรงตำแหน่งสุดท้ายในองค์การเภสัชกรรมคือผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม

ภายหลังลาออกจากองค์การเภสัชกรรม กฤษณาได้เริ่มต้นการทำงานในประเทศคองโกเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ “Afrivir” โดยมีส่วนผสมเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกากว่าอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเอริเทรีย แทนซาเนีย เบนิน และไลบีเรีย

ผลงานของกฤษณาเป็นที่สนใจในวงกว้างขึ้น เมื่อมีการนำไปตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของบทความภาษาเยอรมัน และมีการสร้างภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของเธอ เรื่อง อะไลฟ์ทูลิฟ – เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (A Right to Live – Aids Medication for Millions) ในปี พ.ศ. 2549 รวมถึงการสร้างภาพยนตร์บรอดเวย์ชื่อ คอกเทลล์ (Cocktail) ในปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศนอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชียประจำปี พ.ศ. 2551และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันกฤษณาดำรงตำแหน่งคณบดีของคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2535 ดร.กฤษณาได้ศึกษาวิจัยยาต้านไวรัสเอดส์ หลังจากความพยายาม 3 ปี  ในปี พ.ศ. 2538 ก็ประสบความสำเร็จในผลิตยาสามัญที่เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ได้เป็นครั้งแรกของโลก โดยยาตัวนั้นคือ “ZIDOVUDINE” (AZT) หลังจากนั้นได้มีการวิจัยต่อยอดยาอีกหลายชนิด แต่ที่ประสบความสำเร็จและดังมากที่สุดคือ “GPO-VIR” ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์ 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกของโลก

แต่ด้วยเหตุที่ยาต้านไวรัสเอดส์นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ปริมาณมากในผู้ป่วย มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ดร.กฤษณาจึงริเริ่มผลิตยาในราคาที่ลดลงจากราคาที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอดส์มีความสามารถในการเข้าถึงยาได้ง่าย ซึ่งกลายเป็นสามารถที่ทำให้บริษัทผลิตยาหลายแห่ง ดำเนินการฟ้องร้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าว ดร.กฤษณา ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรสิทธิมนุษย์ในต่างประเทศ

กระทั่งในปี พ.ศ.2545 ดร.กฤษณา ได้ลงมือกระทำสิ่งที่ใครอาจไม่เคยคิดจะทำมาก่อนด้วยการลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม เพื่อเดินทางไปช่วยเหลือผู้ป่วยในประเทศทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นการเดินทางไปเพียงลำพัง ด้วยความมุ่งมั่นที่ว่า “ถ้าเขาอยากกินปลา เราก็ควรสอนเขาตกปลาเอง ไม่ใช่ว่าเอาปลาไปให้เขากิน” โดยช้เวลา 3 ปีตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกในประเทศคองโก ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และสามารถผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR ได้สำเร็จ

ดร.กฤษณา ยังได้เดินทางไปยังประเทศแทนซาเนีย เพื่อช่วยเหลือในด้านเภสัชกรรม จนสามารถวิจัยและผลิตยารักษาโรคมาลาเรียชื่อ “Thai-Tanzunate” ได้สำเร็จ ซึ่งต่อมายานี้ได้กลายเป็นยาที่ขายดีที่สุดในประเทศ

รวมทั้ง ประเทศอเอริเรีย เบนิน ไลบีเรีย และมาลี  รวมทั้งประเทศอื่นๆ ซึ่งชีวิตในแอฟริกานั้นลำบาก โลดโผน และไม่มีความแน่นอน ผลตอบแทนที่เธอได้รับนั้น คือการได้ช่วยเหลือผู้คนจำนวนมหาศาล

ขณะเดียวกันประเทศและหน่วยงานต่างๆต่างมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติให้กับเธอ ได้แก่ รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์

รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชีย จากนิตยสารรีดเดอร์ ไดเจส ประจำปี พ.ศ. 2551

รางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ จากสำนักนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้เรื่องราวของเธอยังเป็นที่รู้จักในยุโรปและอเมริกา และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง A Right to Live-AIDS medication for Millions (2006) ซึ่งได้รับรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์กว่า 3 รางวัล และถูกนำไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์สหรัฐอเมริกาชื่อ Cocktail

ขอบคุณภาพจาก มหาวิทยาลัยรังสิต