ไอบีเอ็ม ส่งต่อแนวคิดสู่นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ หวังช่วยยกระดับเทคโนโลยีเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจของประเทศไทย รับมือการเปลี่ยนผ่านภายหลังการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ยุติลง พร้อมเปิดตัวโครงการประกวดซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติ TICTA2020 ชูแนวคิด Digitalization for New Normal ผู้ชนะจะได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิท้ลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาต่อยอดเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ Digitalization for New Normal ภายในงานเปิดตัวโครงการประกวดซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติ TICTA2020 เพื่อส่งต่อแนวคิดให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่จะมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจของประเทศไทย ภายหลังจากกลุ่มธุรกิจในไทย ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และจากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ได้กลายเป็นตัวช่วยเร่งให้กลุ่มธุรกิจไทยมีการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Transformation ให้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ จากการสำรวจกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับอะไรบ้าง 80% จำนวนลูกค้าหาย การสั่งซื้อหายไปหมด อุปสงค์หรือห่วงโซ่ธุรกิจ (Supply Chain) หายไป โดยในอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงการเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวหายไป แต่สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีผลกระทบน้อยที่สุดคือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
สำหรับ 10 แนวโน้มเทคโนโลยีที่มาแรง และมีการนำไปหารือกันในวงกว้างภายในงาน World Economic Forum ที่ผ่านมามีดังนี้
1.Online Shopping and Robot Delivery ทำให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโตมากในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 และจะมีการพัฒนานำหุ่นยนต์เข้าสู่ตลาดมากขึ้น รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซมีการปรับตัวดีขึ้น
2. Digital Contactless Payment ระบบการชำระเงินจะเปลี่ยนไปสู่การจับจ่ายซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น สู่สังคมไร้เงินสด มีการสแกนจ่าย
3. Remote work เห็นชัดว่ามีแนวโน้มให้พนักงานทำงานที่บ้านมากขึ้น เพื่อลดการเดินทาง การพัฒนาระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสารจึงต้องดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงระบบความปลอดภัยด้วย
4. Distance Learning นักเรียนทั่วโลก 2 พันล้านคนไม่ต้องไปเรียนหนังสือ ดังนั้นนับจากนี้ทักษะของครูที่ต้องสอนการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์
5. Telehealth การแพทย์ทางไกลเพื่อให้คนไข้สามารถเข้าถึงการรักษากับหมอเก่งๆได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องไปที่โรงพยาบาลเพื่อลดการระบาดเของโรค
6. Online Entertainment การคิดสร้างสรรค์ความบันเทิงผ่านออนไลน์ เช่น การจัดงานคอนเสิร์ตแบบออนไลน์ เป็นต้น
7. Supply Chain การผลิตที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องมีระบบที่สามารถหาวัตถุดิบรองรับการผลิตในทันท่วงที
8. 3D printing การพิมพ์แบบ3มิติ พัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์
9. Drone อากาศยานไร้คนขับ จะมีบทบาทมากขึ้น มีประโยชน์ใช้งานหลากหลาย เช่น ใช้ในการสำรวจหรือขนส่งสินค้าได้
10. เทคโนโลยี 5G เครือข่ายไร้สายยุคใหม่ที่จะมาเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจหลายๆกลุ่ม
เทรนด์เทคโนโลยีข้างต้น ถือว่าเป็นโจทย์หลักที่กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือแม้แต่นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลงานได้ในอนาคต
สำหรับโครงการ TICTA2020 จะเน้นการพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรมโดยภาพรวม รวมถึงการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรมใหม่ และศักยภาพของบุคลากรในประเทศ สมาคมขอเชิญชวนผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา บริษัท Start Up มีส่วนร่วมในโครงการ TICTA2020 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลงาน การสร้างเน็ตเวิร์คในกลุ่มผู้เข้าแข่งขันอันจะช่วยต่อยอดด้านธุรกิจและการตลาด โดยจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 หมวดหลัก และผู้ร่วมแข่งขันสามารถเลือกเข้าแข่งขัน Cross Category หรือ Technology of the Year ได้ด้วย โดยปีนี้ได้เพิ่มเทคโนโลยี Blockchain เป็นสาขาย่อยในหมวด Technology of the Year โดยจะเปิดรับสมัครผลงานถึงกันยายนนี้