ข้าวตราไก่แจ้ ร่วมสู้โควิดกับโครงการ ข้าวไก่แจ้ Support ปี 2 แจกข้าวสารผู้ประกอบการ 

20
ธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล

ข้าวตราไก่แจ้ เดินหน้าแจกข้าวสาร ต่อลมหายใจผู้ประกอบการร้านขายอาหารทั่วประเทศ ตั้งเป้าแจก 1 เดือน 10 ร้านค้า พร้อมเดินหน้าสู้วิกฤตโควิด-19 อีกครั้ง กับโครงการ “ข้าวไก่แจ้ Support ปี 2” หวังช่วยผู้ประกอบการลดต้นธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ทุน เพื่อก้าวผ่านวิฤตโรคโควิด-19 ระบาดอีกครั้ง

ธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ไก่แจ้” กล่าวว่า หลังจากเกิดสถานการณ์โรคโควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ส่งผลให้ประชาชนในประเทศไทยและทั่วโลก ต้องกลับมาถอยหลังเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหาร บางรายเพิ่งจะฟื้นตัวจากสถานการณ์ครั้งที่แล้ว ต้องกลับมาสู้ต่ออีกครั้ง

“ข้าวตราไก่แจ้” จึงขอเป็นส่วนหนึ่ง ร่วมสู้โควิดกับพี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเราได้สานต่อโครงการ “ข้าวไก่แจ้ Support ปี 2” เดินหน้าแจกข้าวสารให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อยทั่วประเทศ เพื่อต่อลมหายใจให้กับทุกคน อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนในการซื้อข้าวสารมาประกอบอาหาร “เราจะรอดไปไม่ได้ถ้าไม่ช่วยเหลือกัน” เราอยากให้ทุกคนได้ไปต่อ โดยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งเราตั้งเป้าแจกข้าวสาร 1 เดือน 10 ร้านค้า
นาย ธีรินทร์ ปิดท้ายว่า หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้นมา เราก็เริ่มหันมาดูในส่วนของผู้ประกอบการร้านค้า-ร้านอาหาร จำพวกร้านค้าเล็กๆ ที่ประสบปัญหาในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี “ผลกระทบหนึ่งคือทำให้ร้านค้าเล็กๆ บางร้านที่ไม่ได้รู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี ถูกตัดขาด บางร้านยอดขายหายไป 80-90% เลยทีเดียว เราเล็งเห็นความลำบากในจุดนี้ จึงอยากช่วยเหลือ แม้ไม่ได้มากมาย แต่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องต้นทุนลงได้

“โดยในปี 2564 นี้เราได้เดินหน้าต่อด้วยการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น เน้นไปที่กลุ่มลูกค้าต่างประเทศผ่านทางออนไลน์มากขึ้นกว่าแต่เดิม เพราะในปี 2563 ตลาดต่างประเทศโตขึ้นจากเดิมมากถึง 30% โดยแบรนด์เราได้บุกตลาดต่างประเทศในโซนยุโรปไปแล้ว 7 ประเทศ” ผมมองว่าผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 2 ในปี 2564 นี้ ไม่น่าจะแย่กว่าปีที่แล้ว เพราะคนไทยมีการปรับตัวแล้ว มีความเข้าใจในโควิดมากยิ่งขึ้น มีความตื่นตระหนกน้อยลง และรู้จักในการป้องกันตัวมากขึ้น รวมถึงทางฝั่งรัฐบาลเองก็ไม่ได้มีนโยบายที่จะล็อคดาวน์ แต่หันมารณรงค์ในด้านการป้องกันมากขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจก็ยังพอที่จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เรียกง่ายๆ ว่าอยู่ได้ทั้งโควิด-19 และเศรษฐกิจ” ถึงอย่างไร ธุรกิจต่างๆ อาจจะต้องเริ่มปรับตัวให้เร็ว โดยเฉพาะธุรกิจที่ยังต้องพึ่งพากับต่างประเทศ ที่จะต้องเร่งหาแนวทางในการจัดการ รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการปรับตัวอาจจะต้องรอให้โควิด-19 หายก่อนแล้วค่อยดำเนินธุรกิจต่อ หรือเปลี่ยนมาจับกลุ่มลูกค้าคนไทยแทน เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินอยู่ได้ต่อไป