รวม “ไอเดีย” จัดสวนหลังบ้านยุค WFH จากนักจัดสวนมืออาชีพ

104

ยุค New Normal  โลกใหม่ใบเดิมที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตไป   ดังนั้นจะดีแค่ไหน ถ้ามีสักมุมในบ้านไว้อากาศบริสุทธิ์สดชื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในยามที่แดดร่มลมตก กระทั่งเปลี่ยนความรู้สึกจากการทำงานของคุณแบบ Work from home เป็น Work with happy heart หรือ Work from Heaven

เมื่อเร็วๆ นี้ Dhepa Courtyard Urban Home (โครงการเทพา คอร์ทยาร์ด เออร์เบิร์น โฮม) รามคำแหง 118 โครงการทาวน์โฮม 3 ชั้นครึ่งที่โดดเด่น แตกต่าง เพราะผู้พัฒนาโครงการเป็นสถาปนิกเอง ได้จัดงาน  “เสพศิลป์หลังบ้าน สัมผัสบรรยากาศของ 3 สวน 3 สไตล์ จากศิลปินชั้นนำ”  Dhepa Space Project : Garden Gallery เพื่อเป็นไอเดีย สำหรับการดีไซน์สวนหลังบ้านแบบที่เป็นคุณ  สอดคล้องกับการสร้างทาวน์โฮมแนวคิดใหม่ ที่ทำให้เจ้าของบ้านได้อิ่มเอมกับบรรยากาศสวนสวย Urban Courtyard ส่วนตัวได้ทุกวัน   เพราะโครงการฯ ที่นี่ออกแบบด้วยแนวคิดการเชื่อมต่อพื้นที่ภายในบ้านให้เข้าถึงกันอย่างลงตัว ทั้ง Vertical & Horizontal Space ด้วยการเพิ่มพื้นที่ห้องนั่งเล่นแบบ Double Volume สูงกว่า 5.2 เมตรและเชื่อมต่อพื้นที่สวนกับพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้สวยงามและใช้งานได้จริงทุกตารางนิ้ว เรามาเยี่ยมชมกันตั้งแต่หลังแรก

เจรมัย พิทักษ์วงศ์ แห่งนิตยสารบ้านและสวน ร่วมทำสวนจากแนวคิดของนำเอาสาระและหลักการต่างๆ  จากคอลัมน์จัดสวนในบ้านและสวนมาใช้ เกิดเป็นสวนที่สวยร่มรื่น ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าและต้นไม้ชนิดต่างๆ อยู่รวมกันได้แบบยั่งยืน ให้สวนเต็มไปด้วยพืชสมุนไพร และพรรณไม้นานาชนิด ชื่อ  Content Garden ผลงาน สวนภายใต้แนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เทคนิค ผสมผสานพรรณไม้สร้างสภาพแวดล้อม

สวนของผมอยู่ภายใต้แนวคิดที่นิยมไปทั่วโลก “เพอร์มาคัลเจอร์” (Permaculture) หรือ การออกแบบสวนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ใช้พันธุ์ไม้ถึง 6 ระดับทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้คลุมดิน ไม้หัว และไม้เลื้อย เพื่อจำลองรูปแบของระบบนิเวศตามธรรมชาติ มีคีย์โฮม (Keyhole) ซึ่งเป็นแปลงผักที่ท่อตรงกลางสำหรับใส่เศษอาหารในครัวเรือนลงไปให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักเป็นสารอาหารคืนแก่ผักที่ปลูกในแปลง และยังช่วยประหยัดน้ำที่รดเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด มีซุ้มระแนวไม้เลี้อยสำหรับนั่งเล่นชมสวนหรือพักผ่อนได้ตลอดวัน

ผลงานของ เจรมัย พิทักษ์วงศ์

“โดยมีจุดเด่นคือการเป็นสวนแบบคีย์โฮล (keyhole) หรือแปลงผักที่มีท่อตรงกลางสำหรับใส่เศษอาหารในครัวเรือนลงไปในแต่ละวัน เพื่อเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักให้สารอาหารคนแก่พืชผักในแปลง ด้านการออกแบบและเลือกใช้พรรณไม้ผู้ออกแบบเน้นการปลูกแบบผสมผสาน มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้คลุมดิน ไม้หัว และไม้เลี้อย โดยไล่ระดับความสูง ต่ำสลับกันถึง 6 ระดับตามความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อจำลองบรรยากาศให้เหมือนระบบนิเวศน์ในธรรมชาติที่อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัย ที่สำคัญการปลูกต้นไม้ หลายๆ ระดับ ยังช่วยกรองอุณหภูมิความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านโดยตรงเกิดสภาวะนำสบาย ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้ให้ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้ตลอดวัน”

สุริยะ อัมพันธศิริรัตน์ สถาปนิก และนักออกแบบภูมิทัศน์ แห่ง WALLLASIA เจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2557 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยกระทรวงวัฒนธรรม และยังได้รับรางวัลจากงานออกแบสถาปัตยกรรมอีกมากมายที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ   ชื่อ Gallery ดอกไม้ทานได้  ผลงาน งานออกแบบพื้นที่ส่วนตัวที่ปรับเปลี่ยนได้ เทคนิค ศิลปะกับการเกษตร Art+Agriculture = artgriculture เผยว่า

ผลงานของ สุริยะ อัมพันธศิริรัตน์

“ผมจัดสวนนี้จากแนวคิดสวนสวยทานได้หลังบ้าน  คิดว่าเมื่อศิลปะและการทำเกษตรขนาดจิ๋วมาหลอมรวมกันบนความแตกต่างแบบหยิงหยาง เหล็กสนิม และดอกไม้ทานได้หลากสีนานาพันธุ์ สามารรถสร้างสรรค์เป็นเมนูอร่อย ตลอดปี ทั้งเป็นสมุนไพรยาดี ช่วยรักษาให้ร่างการแข็งแรง ท่ามกลางความร่มรื่นภายใต้ร่มเงาของกลุ่มต้นสะเดา อิสระบนพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามกิจกรรมที่หลากหลายของคนในบ้านอย่างอบอุ่นด้วยเส้นสายที่ต่อเนื่องมาจากรูปแบบของตัวบ้าน พร้อมเก้าอี้เหล็ก magpie (นกกางเขนสีขาวดำ) สัญลักษณ์แห่งความประทับใจที่ศิลปินมี่ต่อนกกางเขนตัวหนึ่งที่ชอบมาเล่นน้ำในช่วงบ่าย ณ สวนคอร์ท กลางออฟฟิศวอลลาเซียอยู่เป็นประจำ อีกทั้งกระทะน้ำหยดที่เพิ่มความชุ่มชื้น และเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเป็นแหล่งน้ำให้นกมาแวะพักดื่มน้ำในช่วงบ่าย กับปลาหางนกยุงที่ว่ายอย่างสนุกสนาน และยังช่วยตัดวงจรของยุงอีกด้วย สวนทานได้แห่งนี้ สอดผสานเข้ากับพื้นที่ภายในบ้านสดชื่นทุกครั้งที่ได้มอง กลายเป็นความสวยงามแห่งการมีชีวิตชีวา”

สกุล อินทกุล ศิลปินระดับแถวหน้า เจ้าของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ผู้สร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกจากงานออกแบบดอกไม้ที่เป็นที่เลื่องลือ และได้รับการยอมรับในระดับสากล  ชื่อ   แบล็คสไปเดอร์ลิลลี่ (Black Spider Lily) ผลงาน  ประติมากรรมโลหะ พร้อมงานออกแบบสวนและงานออกแบบองค์ประกอบ สภาพแลดล้อมโดยรอบ  เทคนิค งาน ตัดเชื่อมโลหะ

ผลงานของ สกุล อินทกุล

“สวนของผม มีแนวคิดจาก  ดอกพลับพลึง กทม. หรือ ดอกพลับพลึงตีนเป็ด (spider Lily-Hymemocallis littoralis) นั้น แม้จะเป็นดอกไม้ที่เห็ฯกับอยู่ดาษดื่นทั่วไปในกรุงเทพมหานคร แต่ด้วยความประทับใจในรูปทรงที่สง่าสวยงามของดอกไม้สีขาวนี้ สกุล อินทกุล จึงได้นำความประทับใจนั้น มารังสรรค์ให้เกิดเป็นงานประติมากรรมโลหะขนาดใหญ่ที่มีความสง่างามน่าประทับใจ อันสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจ ได้ในทันที่พบเห็น และการที่ประติมากรรมชิ้นนี้ถูกจัดวางอยู่ภายในสภาพแวดล้อมที่ถูกออกแบบอย่างสวยงาม ร่มรื่น ลงตัวด้วยองค์ประกอบที่มีพื้นผิวสัมผัส อันหลากหลายทั้ง หิน ไม้ น้ำ และต้นไม้ใหญ่นั้น ก็มีพลังดึงดูดที่สามารถ เชิญวนให้ผู้ชมงานได้เดินเข้ามาใกล้ๆ เพื่อชื่นชมงานประติมากรรม ในระยะประชิด และได้รื่นรมย์กับความสงบนิ่งของสวนแบบเซนเบื้องหน้า”

ว่ากันว่า สวนหลังบ้าน คือพื้นที่พักผ่อนสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว เป็นทั้งพื้นที่ที่ผู้ใหญ่ได้ใช้เวลาผ่อนคลายจากการทำงาน และเป็นที่ที่มีไว้ให้เด็กวิ่งเล่นรับบรรยากาศกลางแจ้ง ดังนั้นแล้ว การจัดสวนให้มีความสวยงาม รวมไปถึงมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่เราควรจะใส่ใจ  อีกทั้งในปัจจุบันเราจะหาอากาศบริสุทธิ์และมุมสดชื่นได้ยากเต็มที หากมีสวนหลังบ้านที่สวยงามแบบนี้คงดีไม่น้อย อยู่บ้านก็ไม่ต่างกับวิมานบนสวรรค์