ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย หลังหายป่วยจากการติดเชื้อ COVID-19

23

เมื่อได้รับการรักษา COVID – 19 จนหายแล้ว แต่ความรุนแรงและอาการของโรคยังหลงเหลืออยู่ ทำให้ยากต่อการกลับมาใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอุ่นใจ การได้รับการรักษาและฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น และควรได้รับการดูแลจากทีมแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติ

พญ. ประภาภรณ์ ปราชญ์พยนต์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อผู้ป่วยหายจาก COVID – 19 แล้ว จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว ในแต่ละบุคคลมีความรุนแรงของโรคขณะติดเชื้อที่แตกต่างกัน อาจจะเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง การรับรู้ ความจำ จึงทำให้วิธีการฟื้นฟูร่างกายแตกต่างกัน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นสามารถส่งผลต่อร่างกายได้ตั้งแต่หลังจากหายจากการรักษาหาย ไปถึง 1 ปี

พญ. ประภาภรณ์ ปราชญ์พยนต์

” เราจึงออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังหายจาก COVID – 19 เฉพาะบุคคลให้ตรงกับปัญหาของผู้ป่วยให้มากและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ สามารถกลับไปทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยการตรวจประเมินร่างกายจากทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องด้วยทีมกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด”

โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังหายจาก COVID – 19 ทางศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.กรุงเทพ เปิดให้บริการสำหรับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อแล้วต้องการฟื้นฟูร่างกาย รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่ไม่เคยติดเชื้อ แต่รู้สึกว่าร่างกายมีปัญหาหลังจากรักษาโรคเป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพของร่างกาย แพทย์จะออกแบบและวางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะบุคคล ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องมือเชิงเวชศาสตร์ฟื้นฟู และฝึกสมรรถภาพของร่างกายโดยทีมนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด อาทิเช่น ในผู้ที่มีเสมหะ หรือหายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อยง่าย อาการอาจจะมีความสัมพันธ์กับปอดที่มีพังผืด ทำให้มีปัญหาในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ใช้เครื่อง Trilogy ที่จะช่วยขยายปอด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ให้ปอดทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาของการทรงตัว การเดิน ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก จะมีโปรแกรมที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้อและข้อ ด้วยเครื่อง Aquatic treadmill เครื่องออกกำลังกายแบบสายพานวิ่งในน้ำ เป็นการดูแลเพื่อให้กล้ามเนื้อระบบกระดูกและระบบข้อแข็งแรงขึ้น รวมถึงเครื่อง Ceiling hoist ที่จะช่วยพยุงน้ำหนักตัวแบบปรับระดับได้ ฝึกการทรงตัว ยืน และการเดิน กระตุ้นให้ร่างกายผู้ป่วยสั่งการให้เกิดการควบคุมความสมดุลของร่างกายและช่วยในการเดิน ป้องกันการล้ม ในกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องของอาการตึง ปวด จากการนอนนาน ๆ ในกลุ่มที่ผู้ป่วยเป็นน้อยหรือปานกลางอาจมีปัญหาเรื่องปวดได้

ซึ่งจะมีเครื่องมือต่าง ๆ อุปกรณ์ทางกายภาพที่ช่วยลดปวด และดูแลให้ผู้ป่วยแข็งแรงมากขึ้น ใช้ RF Radiofrequency เครื่องมือที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุทำหน้าที่ลดอาการปวดจากเส้นประสาทที่ต้นทาง ก่อนส่งสัญญาณไปสมองช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด เพิ่มการฟื้นตัว แผลหายเร็ว ลดการคั่งค้างของเสียต่างๆ เช่น เส้นเลือดดำ กรดแลคติก ช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เกิดการคลายตัว อาการเจ็บปวดลดลง และเครื่อง PMS (Peripheral Magnetic Stimulation) รักษาอาการปวด กระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่จะช่วยดูแลและบรรเทาอาการปวด เมื่อย ล้า ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เบาตัว หลังรับการรักษา

ในกรณีของผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็น COVID -19 มาก่อน แต่รู้สึกมีปัญหาทางด้านระบบต่าง ๆ จากการรักษาตัวเป็นเวลานาน ๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง การรับรู้ ความจำ สามารถเข้าโปรแกรมนี้ได้ อาทิ WalkBOT เครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินบนลู่วิ่งออกกำลัง ที่ใช้ในการฝึกเคลื่อนไหวและควบคุมกล้ามเนื้อ เครื่องบริหารแขนและข้อมือ Hand Rehabilitation Training ฝึกการเคลื่อนไหว เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนและมือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ใช้ระบบ Visual Feedback ช่วยกระตุ้นการตอบสนอง การรับรู้ ด้วยโปรแกรมที่ช่วยในการฝึกของผู้ป่วย ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมนักกิจกรรมบำบัด เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือระบบความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ

เครื่อง Treadmill ลู่เดินและวิ่งออกกำลังกาย เป็นเครื่องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ส่งผลดีต่อระบบปอด หัวใจและหลอดเลือด เพื่อความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ หากทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อวัน ช่วยฟื้นฟูสมองและความจำ นอกจากนี้ยังมี เครื่องบริหารกล้ามเนื้อแขนและขา(HURS) เป็นเครื่องออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อแขนขาประสานกับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เรียนรู้พัฒนาการของตนเองได้อย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดช่วยในการวางแผนและประเมินตลอดการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายตามอาการที่หลงเหลืออยู่ให้ดีขึ้น

รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของระบบการหายใจ หัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เพิ่มสมรรถนะการรับรู้และความจำ นอกจากนี้จะมีการเอกซเรย์ปอด ตรวจผลเลือดต่าง ๆ ควบคู่ในการวางแผนฟื้นฟูผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

เพื่อการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และกลับมาทำงานได้อย่างมั่นใจหลังหายจาก COVID – 19 ผู้ป่วยควรหมั่นสังเกตอาการ หากสงสัยว่ายังมีอาการหลงเหลืออยู่ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาและฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด