ผู้สูงอายุใช้ชีวิตไม่มีข้อจำกัด หมดห่วง “เรื่องข้อเสื่อม” ที่รพ.นครธน

16

โรงพยาบาลนครธน ตอบรับสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย พร้อมนำการดูแลด้านการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดแบบ Pain Management เข้ามาช่วยลดการเจ็บปวดหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประเทศไทยมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ในปีพ.ศ 2563 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 20% ในปี 2564 นี้ ซึ่งจากการที่สังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงมีแนวโน้มพบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเข่าเสื่อมสูงขึ้น และเพื่อให้ผู้สูงวัยสูงวัยอย่างมีคุณภาพสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข รพ.นครธนจึงเล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับการรักษาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเพื่อลดการบาดเจ็บและเจ็บปวดรวมถึงสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น

แพทย์นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เปิดเผยว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อที่อยู่ตรงกลางระหว่างข้อเข่าเกิดการสึกหรอ ฉีกขาด เริ่มบางลง เสื่อมสมรรถภาพตามวัย รวมถึงการทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อเกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างข้อต่อไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งหากปล่อยไว้ก็อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือส่งผลให้เกิดการปวดเข่า ความเสียหายรุนแรง หรือความเสื่อมของข้อเข่าเพิ่มขึ้น

โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดข้อเข่าเสื่อมนั้นหลักๆมาจากวัยที่เพิ่มขึ้น มักพบในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจเพราะมีการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน ภาวะกล้ามเนื้อที่แข็งแรงไม่มากเท่าผู้ชาย นอกจากนั้นยังสามารถพบในปัจจัยอื่น ๆ หลากหลาย อาทิ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลต่อข้อต่อต้องรับน้ำหนักมากขึ้น การใช้งานข้อเข่าบ่อย ๆ อาทิการนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขึ้นลงบันได การเกิดอุบัติเหตุ ที่บาดเจ็บต่อเส้นเอ็น และข้อเข่า การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า การเล่นกีฬาผาดโผน การมีโรคประจำตัว

เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ ข้อเข่าหลวม หรือประวัติกรรมพันธุ์ โดยอาการของข้อเข่าเสื่อมจะค่อยๆแสดงอาการค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเริ่มปวดเป็นๆหายๆ เหยียดเข่าได้ไม่สุด เข่าฝืดตึง มีเสียงลั่นในข้อดังกรอบแกรบ ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ อาทิ เดินได้ไม่ไกล ไม่สามารถขึ้นลงบันได นั่งยอง ๆ พับเพียบ หรือคุกเข่าได้ หากปล่อยไว้จะก่อให้เกิดข้อเข่าผิดรูป ปวดมากขึ้นจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้

การเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยการรักษาจะพิจารณาความรุนแรงของโรคเป็นเกณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่การบริหารข้อเข่าด้วยกายภาพบำบัด การทานยา การฉีดยา หรือหากเป็นระยะรุนแรง การพิจารณาเข้ารับการผ่าตัดสามารถช่วยให้ผู้สูงวัยลดการเจ็บปวด และกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ

แพทย์นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์

ทั้งนี้โรงพยาบาลนครธน ได้ใช้เทคนิค ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthoscopy– MIS TKA) เข้ามารักษาผู้ป่วย เพื่อช่วยลดขนาดแผลผ่าตัด ลดการบาดเจ็บ ลดการบอบช้ำของเนื้อเยื่อโดยรอบข้อเข่า โดยให้แผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 4 – 6 นิ้ว หากเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิม แผลผ่าตัดจะประมาณ 8 – 10 นิ้ว ช่วยให้เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว และลดภาวะแทรกซ้อน

อีกทั้งยังได้รับการดูแลด้านการเจ็บปวดหลังผ่าตัด Pain Management โดยการฉีดยาระงับความปวดที่รอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) เป็นการใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง ภายใต้การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)เพื่อช่วยระงับปวดหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการระงับปวดด้วยวิธีผสมผสาน (Multimodal Analgesia) คือ การใช้ยาที่มีกลไกการ ออกฤทธิ์แตกต่างกันร่วมกัน จึงระงับปวดได้ดี

และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจแพ้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS หรืออาจมีข้อจำกัดในการใช้ยาชนิดนี้ เช่นโรคกระเพาะ และกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) ซึ่งอาจมีผลภาวะแทรกซ้อน เช่น มีความรู้สึกตัวลดลง เกิดกดการหายใจ มีอาการคันตามผิวหนัง ท้องผูก เป็นต้น

นอกจากผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดที่ให้แผลผ่าตัดขนาดเล็กกว่าแบบดังเดิม ที่ช่วยลดการบาดเจ็บ ลดการสูญเสียเลือดจากแผลผ่าตัดแล้ว ยังไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดอีกด้วย เพราะสามารถควบคุมความปวดระหว่าง และหลังผ่าตัดได้มีประสิทธิภาพ ลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่รักได้เร็วขึ้น

สำหรับการดูแลข้อเข่าหรือชะลอความเสื่อมของข้อเข่าในผู้สูงอายุนั้น สามารถทำได้โดยการลดน้ำหนักให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้ข้อเข่าเสียดสีกัน เช่นการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ คุกเข่า นั่งยอง ๆ ควรนั่งบทเก้าอี้ และวางขาลงพื้นทั้งสองข้าง ไม่ควรขึ้นบันไดบ่อยครั้ง การยืนควรยืนทิ้งน้ำหนักให้เท่ากันทั้งสองข้าง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้ข้อต่อแข็งแรง และสิ่งสำคัญหากเริ่มมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อลดการบอบช้ำบริเวณรอบข้อ และช่วยลดการบาดเจ็บของข้อสะโพกของผู้สูงอายุได้อีกด้วย เพราะการปวดหรือบาดเจ็บของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น จะทำให้ผู้สูงอายุรับน้ำหนักตัวได้ไม่ดี การทรงตัวไม่ดี อาจส่งผลหรือเกิดอุบัติเหตุกับข้อสะโพกตามมาได้

โรงพยาบาลนครธน ตั้งอยู่ในทำเลย่านพระราม 2 สะดวกเข้าถึงง่าย และเปิดการสื่อสารสะดวกหลากหลายช่องทาง ทั้งผ่านระบบโทรศัพท์ โทร.02-450-9999 บริการคอนแทคเซ็นเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมงและออนไลน์แพลตฟอร์มทางเว็บไซต์ www.nakornthon.com สามารถนัดหมายแพทย์เฉพาะทางและ บริการถาม-ตอบปัญหาสุขภาพผ่าน LINE official @Nakornthon และเฟซบุ๊กเพจ FB: Nakornthon Hospital บริการให้ข้อมูลรวมถึงติดตามข่าวสารและข้อมูลการรักษาเพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้โรงพยาบาลยังเข้าถึงผู้รับบริการต่างชาติ(กลุ่มคนจีน) ผ่านทาง Weibo และ WeChat ตอบโจทย์คนในแต่ละพื้นที่บริการได้อย่างครบครัน ด้วยการดูแลอย่างเข้าใจดุจญาติมิตรทุกขั้นตอนจากการตรวจรักษาไปจนถึงการฟื้นฟูด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มุ่งเน้นให้ความคุ้มค่าเหนือราคา