แอปโก้ ชวนคนไทย เติมความรู้เชิงป้องกันสุขภาพระดับโครโมโซม

13

เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายน แอปโก้ชวนคนไทยและผู้สูงวัย เติมความรู้สุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อรับมือเรื่องสุขภาพ ชะลอการเสื่อมถอย ให้ผู้สูงวัยยังแข็งแรง อายุยืนยาวถึง 100 ปี โดยกลับมาดูแลสุขภาพของเทโลเมียร์ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้สมดุล เตือนเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ โดยเฉพาะเครียด นอนดึก นอนน้อย และระวังโรคอ้วน เพราะเป็นตัวเร่งเซลล์ชรา

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ แอปโก้ หัวหน้าคณะวิจัย Operation BIM กล่าวว่า เนื่องจากสังคมเปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์ของประชากรก็เปลี่ยนไปด้วย ในอดีตหญิง 1 คน ให้กำเนิดลูก 5 คน แต่ปัจจุบัน หญิงหนึ่งคนให้กำเนิดเด็กเพียง 1.5 คน ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว คือมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี มากกว่า 20 % ของประชากร หากผู้สูงวัยไม่แข็งแรง มีปัญหาสุขภาพ ก็ย่อมจะเป็นภาระสังคมในการดูแล

ทำอย่างไร ที่จะช่วยให้คนไทย และผู้สูงวัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว มีความสุขกาย สุขใจ ไปพร้อมกัน ลดเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือลดเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มากับผู้สูงอายุ เช่น ความดันสูง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ คณะวิจัย Operation BIM ของบริษัท แอปโก้ จึงให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่สมดุลกับประชาชน เพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเชิงป้องกัน โดยเฉพาะความรู้เรื่องเทโลเมียร์ หรือหมวกหุ้มปลายโครโมโซม การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และเม็ดเลือดขาวเซลล์ทีพิฆาต

“ถ้าหากว่าเรามีอายุมากขึ้น สูงวัยมากขึ้น ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีสุขภาพเสื่อมถอยตลอดไป ปัจจุบันมีข้อมูลว่า ถ้าเราสามารถมีสุขภาพที่ดีไปถึง 80-100 ปี ได้ อย่างที่พวกเราทุกคนตั้งใจ ถึงตรงนั้น ความสำคัญ คือ ประสิทธิภาพของสมองจะเป็นช่วงที่ดีที่สุด คือตั้งแต่ช่วง 75-80 ปี เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามทำอย่างยิ่งคือทำให้สุขภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เป็นภาระของสังคม ตรงกันข้าม งานที่ผลิตโดยบุคลากร ประชากรสูงวัย เป็นงานที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาประเทศ เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันการที่คนเราจะมีอายุยืนยาว ถึง 100ปี และยังแข็งแรง มีความเป็นไปได้สูงมากขึ้น ด้วยการดูแลระบบภูมิคุ้มกันจากภายใน การชะลอความเสื่อมถอยของเทโลเมียร์”

ศ.ดร.พิเชษฐ์  อธิบายว่า เทโลเมียร์ คือส่วนหุ้มปลายของโครโมโซม ซึ่งทุกๆเซลล์มีนิวเคลียสอยู่ ในนิวเคลียสมีโครโมโซมอยู่ 23 คู่ แล้วเซลล์จะแบ่งตัวตลอดเวลา ในการแบ่งตัวแต่ละครั้งเทโลเมียร์ถูกตัดสั้นลงเรื่อยๆ จนกระทั่งสั้นลงกว่านี้ไม่ได้แล้ว เซลล์ก็จะหยุดการแบ่งตัว เมื่อถึงตอนนั้นหมายความว่าเซลล์จะฝ่อ ตายไปในที่สุด เราก็จะสิ้นอายุขัย หรือชราภาพ หากเทโลเมียร์สั้นลงเร็วเราก็เสียชีวิตเร็ว อายุเราก็จะสั้น และเจ็บป่วย แต่ล่าสุดพบว่า ในกลไกระดับโครโมโซมมีกระบวนการซ่อมสร้างเทโลเมียร์ให้กลับมายาวขึ้นได้ หากเอนไซม์เทโลเมอเรส (Telomerase) ถูกกระตุ้นให้ทำงาน

ล่าสุดคณะวิจัย Operation BIM แอปโก้ ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมวัฒนชีวา สูตรเสริมฤทธิ์จากสารสกัดพืชกินได้ 5 ชนิด คือ มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และใบบัวบก ซึ่งมีการผสมผสานความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของเทโลเมียร์ ควบคู่กับวิทยาการภูมิคุ้มกันล่าสุดในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะมังคุด ซึ่งมีสาร GM-1 ที่มีสรรพคุณยับยั้งเซลล์มะเร็ง ทำให้สามารถกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว เซลล์ T พิฆาต ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคร้าย และสามารถกระตุ้น เอนไซม์เทโลเมอเรส (Telomerase) ทำให้มีการซ่อมสร้างเทโลเมียร์ หรือหมวกหุ้มปลายโครโมโซมให้ยาวขึ้น จึงเกิดการย้อนวัย ผิวพรรณดี กลับมาแข็งแรง โดยมีผลการศึกษาว่านวัตกรรมใหม่นี้มีส่วนช่วยย้อนวัยได้เฉลี่ย 5.8 ปี

ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ ซึ่งมีหลักสูตร Wellness เพื่อการสร้างชาติ ได้จัดให้นักศึกษา มาฟังบรรยายเรื่องเทโลเมียร์ จากบริษัทแอปโก้ กล่าวว่า นับเป็นความภาคภูมิใจที่นักวิทยาศาสตร์ไทยทำสำเร็จ เพราะสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์ และมีความสำคัญ ซึ่งมีงานวิจัยว่า คนเราสามารถมีอายุยืนยาวได้ถึง 123 ปี จึงมั่นใจว่าความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ ความตื่นตัว และวิทยาการใหม่ๆ เรื่องเวลเนส ที่ไทยมีองค์ความรู้อยู่มาก และการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่องเวชศาสตร์ชะลอวัย การส่งเสริมพฤติกรรมดีในการดูแลสุขภาพต่างๆ ความรู้เรื่องการดูแลเทโลเมียร์ จะมีส่วนสำคัญที่นำไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร ที่จะเห็นคนไทยคนแรกมีอายุยืนถึง 123 ปี ซึ่งจากความรู้เรื่องเทโลเมียร์ ก็มีความหวังว่าจะเป็นไปได้

รศ. ดร. ปรียา เลาฬหกุล ผู้เชี่ยวชาญโภชนาการชะลอวัย และที่ปรึกษางานวิจัย APCO โดยศึกษาเรื่องเทโลเมียร์มาอย่างต่อเนื่อง กล่าวว่า เทโลเมียร์ (Telomere-หมวกหุ้มปลายโครโมโซม) ได้รับความสนใจมากขึ้น หลังจาก 3 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ค้นพบกลไกการป้องกันเทโลเมียร์ ทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาทางการแพทย์เมื่อ 13 ปีก่อน โดยมีการศึกษาวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อซ่อมสร้างและยืดความยาวของเทโลเมียร์ ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมวัฒนชีวา จึงเป็นความหวังของคนสูงวัย

“อย่างไรก็ตาม วิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของผู้คนมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เทโลเมียร์สั้นหรือยาว ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง โดยเฉพาะการใช้ชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง อาทิ เครียด โหมทำงานหนักเกินไป อดหลับอดนอนติดต่อกันเป็นเดือนเป็นปี ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารหวานมาก มันมาก เค็มมาก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ทั้งเบาหวาน โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันสูง มะเร็ง โดยเฉพาะเบาหวาน ที่เป็นแล้วก็จะมีโรคอื่นๆที่ตามมาเป็นชุด ทั้งนี้ควรดูแลสุขภาพ หยุดพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพตั้งแต่เป็นหนุ่มเป็นสาว เมื่ออายุมากขึ้นจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี แข็งแรง ที่สำคัญต้องลดเครียด ไม่นอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ ระวังโรคอ้วน”

อวยชัย โรจนนิรันดร์กิจ อดีตนักจิตวิทยาคลินิก กล่าวว่า ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและสนใจเรื่องเทโลเมียร์ ที่ว่าสามารถยาวขึ้นได้ ทำให้ย้อนวัยได้ อยากมีสุขภาพแข็งแรง พยายามไม่โกรธ โดยฝึกสติ ใช้หลักธรรม หมั่นออกกำลังกายด้วยการตีปิงปอง เดินให้ได้วันละประมาณหนึ่งหมื่นก้าว งานจิตอาสาก็บริการสังคม ดูแลคนในหมู่บ้านที่มีคนชราเยอะเหมือนกัน ด้านนางนิตยา โรจนนิรันดร์กิจ กล่าวว่า พยายามดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง เช่น วิ่งทุกวัน ในชีวิตบั้นปลาย อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ป่วยติดเตียง