โรงพยาบาลสวนปรุงพัฒนาระบบการตร วจรักษาผู้ป่วยจิตเวชทางไกลผ่ านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพิ่มช่องทางการเข้าถึงของผู้ป่ วยจิตเวชให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบจากการขาดยา ครอบครัวและชุมชนสุขใจ เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และเล็งขยายผลในพื้นที่อีก
นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการโรงพยาบาลสว นปรุง จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามโครงการพัฒนาระบบบริการกา รตรวจรักษาผู้ป่วย จิตเวช และให้สัมภาษณ์ว่าโรงพยาบาลสวนป รุงเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่รั บผิดชอบดูแลสุขภาพจิตของประชาชน ในเขตพื้นที่ 13 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในเขตสุขภาพที่ 1 และ 2 มีประชากรรวมประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงเช่นในจังห วัดเชียงใหม่มีพื้นที่เป็นภูเขา มากถึง 80%การเดินทางลำบาก ใช้เวลานาน และ มีค่าใช้จ่ายสูง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ประชาชนที่ อยู่ห่างไกลขาดโอกาสในการได้รั บบริการทางสุขภาพที่พึงได้จากโร งพยาบาลชุมชนที่มีเพียงแห่งเดี ยวในแต่ละอำเภอ โดยเฉพาะผู้ป่วยทางจิตเวชซึ่งเ ป็นโรคเรื้อรัง ต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมอากา รอย่างต่อเนื่อง จึงมีความเสี่ยงในการขาดยาสูงทำ ให้อาการทางจิตกำเริบส่งผลกระทบ ต่อครอบครัวและชุมชน จึงได้ให้โรงพยาบาลสวนปรุงเร่งพั ฒนาการบริการประชาชนที่อยู่บนพื้ นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกล โดยนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในภาคบริการจิตเ วชให้ประชาชนเข้าถึงระบบการดูแล รักษาได้อย่างทั่วถึงและเท่าเที ยม
นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง กล่าวว่า การพัฒนาดังกล่าวโรงพยาบาลสวนปรุ งได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุ ขภาพตำบลบ้านใหม่ ตำบลแม่ตื่น ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก พัฒนาระบบการตรวจรักษาทางไกลผ่า นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป โดยที่ตำบลแม่ตื่น ห่างไกลจากตัวอำเภออมก๋อยประมาณ 90 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยสารรถประจำทา งนานกว่า 3 ชั่วโมง มีประชากรรวมหนึ่งหมื่นกว่าคน มีผู้ป่วยจิตเวชในความดูแล 50 คน และร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้รับการ รักษา ที่ต่อเนื่อง เพราะยากจน เดินทางลำบาก แต่ระบบริการทางอินเตอร์เน็ตนี้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมารับการรั กษาถึงโรงพยาบาลสวนปรุง
นายแพทย์ธรณินทร์ กล่าวอีกว่า ในการรับบริการตรวจรักษาทางอินเ ตอร์เน็ต ผู้ป่วยจิตเวชทั้งรายเก่าและราย ใหม่และญาติจะเดินทางไปรอตรวจที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้ านใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบล แม่อุสุ เพื่อเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาทา งไกล โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะเป็นผู้ ดำเนินการตรวจคัดกรองอาการเบื้ องต้น จากนั้นจะให้จิตแพทย์ที่อยู่ที่ โรงพยาบาลสวนปรุงตรวจ โดยจิตแพทย์จะสามารถมองเห็นตัวผู้ ป่วยและประเมินอาการทางจิตของผู้ ป่วยจากการพูดคุยเหมือนนั่งอยู่ ในห้องเดียวกันผ่านทางจอคอมพิ วเตอร์ จากการทดลองใช้ระบบพบว่าได้ผลดี สามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยใ นการเดินทางไปโรงพยาบาลสวนปรุ งซึ่งเคยใช้ครั้งละประมาณ 500-1,000 บาท ลดการเสียเวลาในการทำง านได้อย่างมาก และได้รับยารักษาชนิดเดียวกันกั บที่โรงพยาบาลสวนปรุงใช้ ลดการขาดยา ครอบครัวผู้ป่วยสุขใจขึ้น ชุมชนมีความปลอดภัย โดยโรงพยาบาลสวนปรุงจะขยายผลในพื้ นที่อื่น ๆ อีก ซึ่งจะประชุมวางแผนร่วมกับเขตสุ ขภาพในเดือนมีนาคมนี้