SCOOZI PIZZA เตรียมขายแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 สาขา

10

Scoozi Pizza แบรนด์พิซซ่าที่มีชื่อเสียงและเอกลักษณ์เฉพาะ ได้รับรางวัลการันตี Authentic Italian neapolitan pizza พลิกโฉมครั้งใหญ่บุกตลาดพรีเมียมแมส เร่งเครื่องขยาย 5 สาขา เจาะลูกค้ากลุ่มครอบครัว คนทำงานและคนรุ่นใหม่ พร้อมสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด ผุดโมเดลแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 สาขา อาทิ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ใน 5 ปี กรุยทางสู่ “Leading Urban Pizza Brand” คาดเริ่มขายแฟรนไชส์ในไตรมาส 3 ปีนี้

แกรี่ เมอร์เรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เดสติเนชั่น กรุ๊ป เปิดเผยว่า พิซซ่าถือเป็นเมนูยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลก มีการบริโภคพิซซ่าจำนวนกว่า 5,000 ล้านชิ้นต่อวัน นับเพียงเฉพาะในประเทศไทย มีมูลค่าตลาดสูงถึง 1,500 ล้านบาทต่อปีและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานพิซซ่ามากกว่าแต่ก่อน ทำให้แนวโน้มการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 30% ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2571

“Destination Eats เข้าซื้อ Scoozi Pizza ในปี 2563 โดยเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการแบรนด์ดังหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้ง Hard Rock Café, Hooters Restaurants และ Big Boy Burgers เป็นต้น พร้อมพลิกโฉม Scoozi Pizzaใหม่ ตั้งแต่การปรับปรุงเมนู ตกแต่งร้าน และยกระดับคุณภาพพิซซ่า ปัจจุบันลูกค้าชาวไทยต่างมองหาพิซซ่าอิตาเลียนระดับพรีเมียมแบบดั้งเดิม ใช้วัตถุดิบสดใหม่และมีคุณภาพสูง ราคาขายพิซซ่าต่อชิ้นอยู่ระหว่าง 400-590 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ลูกค้ายินดีจ่าย และวางตำแหน่งทางการตลาดไว้ในระดับบน เพื่อสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น” แกรี่ กล่าว

แกรี่ เมอร์เรย์

อังคณา นิลกำเหนิด รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจแฟรนไชส์ Scoozi เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เทรนด์การกินพิซซ่าเปลี่ยนไป เนื่องจากผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั่วโลก และมีโอกาสลิ้มลองรสชาติต้นตำรับ ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มมองหาพิซซ่าที่ใช้วัตถุดิบจากประเทศต้นตำรับและขึ้นแป้งแบบสด ไม่ใช่พิซซ่าจากแป้งแช่แข็งมากขึ้น ซึ่งตรงกับ DNA ของ Scoozi Pizza ซึ่งให้บริการในรูปแบบ Lifestyle Casual Dinning เน้นคุณภาพของวัตถุดิบสดใหม่ การให้บริการที่ดี ซึ่งแตกต่างจากร้านพิซซ่า QSR(Quick Service Restaurant) ทั่วไปในตลาด

ในช่วงโควิดที่ผ่านมา Scoozi Pizza ได้ปรับตัวโดยสร้าง Ghost Kitchen เพื่อรองรับการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Grab, Line Man, Food Panda, Robinhood และ Shopee รวมทั้งพัฒนาเมนูและจัดทำโปรโมชั่นต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อดึงดูดลูกค้าและสามารถสร้างยอดขายได้ดี

สำหรับปี 2566 นี้ บริษัทมีแผนรุกตลาดพิซซ่าอย่างเข้มข้น เพื่อก้าวขึ้นเป็น “Leading Urban Pizza Brand” โดยปรับโฉม Scoozi Pizza เพื่อรุกตลาดพรีเมียมแมสมากขึ้น รวมทั้งขยายสาขาเพิ่ม 5 สาขา จากปัจจุบันมี 7 สาขา ประกอบด้วย ซอยสาธร10, เอมควอเทียร์ Helix ชั้น6, เซนทรัลแจ้งวัฒนะ ชั้น5 เอกมัย ซอย19 มาเก็ตวิลเลจหัวหิน ชั้น2, เทอร์มินอล 21 พัทยา และสาขาล่าสุด ภูเก็ต นอกจากนี้ Scoozi ยังมี “Scoozi ghost kitchen” เพื่อรองรับการให้บริการเดลิเวรี่ อีก 4 สาขาคือ ลาดพร้าว,อารีย์, อ่อนนุชและอโศก โดยสามารถสั่งผ่านแอพเดลิเวอรี่ได้ ทั้ง Grab, Line Man, Food Panda, Robinhood, Shopee

โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ยังคงกลุ่มครอบครัวที่ผู้ปกครองมีอายุ 35 ปีขึ้นไป รู้จักและหลงรักแบรนด์ Scoozi ในอดีต ไปจนถึงนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มคนทำงาน และชาวต่างชาติในประเทศไทยทั้งนักท่องเที่ยวและอยู่ระยะยาว (Expat)

ทั้งนี้ Scoozi Pizza เป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแรงและเป็นที่รู้จักอย่างดีในประเทศไทยมากว่า 27 ปี อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทมีแผนการทำตลาดอย่างเข้มข้นเพื่อรุกเข้ามาในตลาด Premium mass pizza ภายใต้ 3 กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1.Digital Marketing 2.การสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าในการได้ลิ้มลองรสชาติพิซซ่าที่ไม่เคยได้จากที่อื่นและอร่อยเกินคาด (Experience Marketing) และ3. ชูนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนา (R&D) สินค้าที่มีคุณภาพ (Innovative Product)

“พิซซ่าของเราผ่านการปรุงโดยพ่อครัวที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเมืองไทยมากว่า 30 ปี เน้นความเป็นต้นตำรับ ปรุงใหม่สดทุกวัน ไม่ใช้แป้งแช่แข็งและใช้ส่วนผสมของแท้ต้นตำรับ โดยแป้งสั่งมาจากอิตาลี และ ซอสแบบดั้งเดิมจากเขต San Marzano เพื่อรังสรรค์พิซซ่าและพาสต้าอร่อยๆ ที่มีการดัดแปลงสูตรเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับรสนิยมคนไทย และใช้ Special Pizza Fired oven ในการอบพิซซ่าจะได้ความหอมของแป้งและชีสที่หอมอบอวลในปากกว่าการอบจากเตาทั่วไป และในส่วนของร้านออกแบบให้นั่งสบายๆ สามารถมาเป็นครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนในบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ Scoozi มีศักยภาพในการแข่งขันสูงมาก”

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนเพิ่มบิสสิเนสโมเดลใหม่ ขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเน้นทำเลศักยภาพ ในห้างสรรพสินค้า, คอมมูนิตี้มอลล์, Stand alone และ อาคารสำนักงาน เพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด เบื้องต้นบริษัทตั้งเป้าโมเดลแฟรนไชส์ 200 สาขาใน 5 ปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มขายแฟรนไชส์ ในประเทศ ช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งมีงบประมาณการลงทุนราว 3-4 ล้านบาท ต่อสาขา ใช้ระยะเวลาคืนทุน 2-3 ปี

“บริษัทมีความพร้อมในการขยายแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการออกแบบและตกแต่งร้านจากทีมงานที่มีความชำนาญในการสร้างร้านอาหาร, ระบบการเทรนนิ่งที่สามารถทำให้พนักงานของแฟรนไชซ์มีความชำนาญและพร้อมในการเปิดร้าน, ระบบการขายหน้าร้าน หรือ Point of sale system (POS) ที่สามารถตรวจสอบและควบคุมได้ รวมทั้งมีที่ปรึกษาหลังการเปิดร้าน และทีมงานที่เข้าตรวจสอบควบคุมมาตรฐานของร้าน