Airbnb เผยข้อมูลล่าสุดการเดินทางท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟื้นตัวแรง พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับทุกชุมชนในแต่ละประเทศ โดยในปี 2565 จำนวนคืนของการจองที่พัก (nights booked) บน Airbnb ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึงสองเท่า1 แสดงถึงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและกลับมาเทียบเท่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2562
เนธาน เบลชาร์ซิค ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของ Airbnb เปิดเผยว่า ปัจจุบันการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากภูมิภาคนี้ได้รับความนิยมจากนักเดินทางทั่วโลกมาโดยตลอด ด้วยเรื่องของภูมิอากาศเขตร้อน อาหารท้องถิ่น ธรรมชาติทิวทัศน์ที่สวยงาม และยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย Airbnb มุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลในแต่ละประเทศและชุมชนต่างๆ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภูมิภาคนี้ในรูปแบบการสนับสนุนให้คนท้องถิ่นสามารถเข้าถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ Airbnb ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยผลักดันการท่องเที่ยวกระจายตัวไปสู่ชุมชน และส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างการเชื่อมต่อกับผู้คนและเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ ให้กับคนในท้องถิ่น
การท่องเที่ยวภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงได้รับความนิยมในหมู่นักเดินทางตัวยงที่มักไปเยือนประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ที่จองที่พักของ Airbnb สำหรับทริปพักผ่อนวันหยุด โดยเส้นทางการท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมบน Airbnb คือ ทริปสิงคโปร์-มาเลเซีย, ตามด้วย ทริปสิงคโปร์-ไทย และทริปสิงคโปร์-อินโดนีเซีย1
ปี 2565 ประเทศไทยติดอันดับ 1 ของประเทศที่มีนักเดินทางมาเยือนมากที่สุดบน Airbnb ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1 โดยเมืองยอดนิยมในภูมิภาคฯ ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย, กรุงเทพฯ, พัทยา, เชียงใหม่ และภูเก็ต
โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศสหรัฐอเมริการั้งอันดับ 1 ของนักเดินทางต่างชาติที่เยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2565 ตามด้วยประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เยอรมนี และเกาหลีใต้
Airbnb สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้การเดินทางกระจายตัวออกไปยังจุดหมายปลายทาง
ที่ผู้คนอาจจะไม่คุ้นเคยหรือเป็นที่รู้จักมากนัก เพื่อให้ชุมชนอีกมากมายได้รับประโยชน์จากโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นอานิสงส์จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งนี้ เครื่องมือค้นหาบนแพลตฟอร์ม Airbnb ที่ช่วยให้การเดินทางมีความยืดหยุ่น อาทิ Flexible Dates สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน การที่นักเดินทางค้นหาวันเข้าพักแบบ Flexible Date ในเมืองที่ได้รับความนิยม อาทิ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และเมโทรมะนิลา มีส่วนช่วยให้เกิดการจองที่พักในย่านที่อยู่นอกตัวเมืองดังกล่าว
ในปี 2565 พบว่าการเดินทางแบบกลุ่ม หรือ Group travel ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ครอบครัวจำนวนมากเลือกจองที่พักบน Airbnb เพิ่มขึ้น 60% ในปีที่แล้วเปรียบเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากมีความคุ้มค่าและสเปซของที่พัก เช่นเดียวกับการเดินทางคนเดียว หรือ Solo travel ในภูมิภาคนี้มีการเติบโตมากขึ้นกว่า 2.6 เท่า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า และ นักเดินทางเข้าพักนานกว่าเดิม
Airbnb ช่วยดึงกลุ่มคนทำงานทางไกลและนักท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการพักยาวนานขึ้น อีกทั้ง
มีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ในปี 2565 การเข้าพักระยะยาวที่นานกว่า 28 วัน ในภูมิภาคนี้
เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน
จากข้อมูลจากแบบสำรวจที่จัดทำโดย YouGov ที่สนับสนุนโดย Airbnb พบว่า 85% คนไทยที่ทำแบบสำรวจมีมุมมองในแง่ดีต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นและเศรษฐกิจของประเทศ 35% ระบุว่า รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เดินทางภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้บ่อยขึ้นในอนาคต หลังจากที่ไม่ได้เดินทางมานาน เมื่อถามถึงเรื่องของสิ่งที่จะช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับจุดหมายปลายทางในท้องถิ่นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คนไทยมากกว่าครึ่งที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า น้ำใจไมตรีของคนท้องถิ่นที่ยินดีต้อนรับนักเดินทางและการบอกต่อข้อมูลดีๆ ของท้องถิ่น
นอกจากนี้ที่พักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับการท่องเที่ยวแบบครอบครัว การให้ความสำคัญของอาหารและวัฒนธรรมท้องถิ่น ความสะดวกสบายในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่อยู่นอกเส้นทางหลัก รวมทั้งการมีที่พักที่หลากหลายระดับและราคาตามความต้องการ
นอกจากนั้น นักเดินทาง Airbnb จำนวนมากมีแนวโน้มที่จะเดินทางในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงวันหยุดยาว
และเทศกาลสำคัญทั่วภูมิภาค เช่น มีการค้นหาที่พักช่วงสงกรานต์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 310% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว5 และในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน มีการค้นหาที่พักในประเทศฟิลิปปินส์เพื่อท่องเที่ยวรับซัมเมอร์เพิ่มขึ้นเกือบ 400%6 ในเดือนรอมฎอน พบว่ามีการค้นหาที่พักในประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นเกือบ 600% และในประเทศอินโดนีเซียมากกว่า 500%