พ่อแม่ยุค AI เลี้ยงลูกอย่างไรให้สมองไว เติบโตได้อย่างมีความสุข

63
Six years old elementary schoolboy meeting humanoid robot. He is touching robotic hand's finger. The background is black. Shot with a full frame mirrorless camera.

โลกในอนาคตจะมีหน้าตาอย่างไร” “เราต้องเลี้ยงลูกอย่างไร หากต้องการให้เค้าเติบโตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในอนาคต” เป็นคำถามที่พ่อแม่ทุกคนอยากรู้คำตอบ แต่คงไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้ว่าโลกของเราในอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร

ถึงอย่างนั้น ก็มีสิ่งที่เรารู้อย่างแน่ชัด คือเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจะต้องส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตของลูกหลานของเราอย่างแน่นอน โลกในยุคลูกจะเป็นโลกที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์[1] ทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าสักวันหนึ่งปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligent: AI) จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ โดยเฉพาะตำแหน่งงาน ที่ตอนนี้เราก็พอจะเห็นเค้าลางว่ามีหลายอาชีพที่ AI ทำได้ดีกว่ามนุษย์ นั่นหมายความว่าทำให้มนุษย์หางานได้ยากขึ้น ลูกของเราคงหางานได้ยากมากขึ้น ในอีก 20 ปีข้างหน้าด้วยเช่นกัน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้นเราไม่ต้องกังวลว่าลูกของเราจะฉลาดไม่พอในยุค AI เพราะสมอง คือจุดเริ่มต้นของทุกพัฒนาการของทารก ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน หรือการเรียนรู้ภาษา การโต้ตอบกับพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาก พัฒนาการสมองของทารกในช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของกลไกสมองที่ทำงานร่วมกันในทุกส่วน นักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการนี้ว่า Brain Connection ยิ่งสมองสามารถเชื่อมโยงผ่านกันได้ไวเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ทารกสมองดี เรียนรู้ได้ไว

Asian Chinese Mother bonding time with her baby boy toddler at home

คุณสมบัติใดบ้างที่จะทำให้เด็กเติบโต และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในยุค AI

รู้จักตั้งคำถาม และเลือกข้อมูลที่นำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง ในยุค AI มีข้อมูลมหาศาลอยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่ให้กับมนุษย์ ในทางกลับกัน ข้อมูลเหล่านั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข้อมูลที่เป็นโทษปะปนกันไป ทักษะที่เด็กยุคใหม่ต้องมี ไม่ใช่การจำเพื่อตอบคำถามให้ถูกต้องเหมือนในการเรียนแบบเดิม ๆ แต่ต้องมีทักษะการตั้งคำถามและทักษะการค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง

มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน เรียนรู้ไว รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง เพราะในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คนที่จะประสบความสำเร็จได้คือคนที่มีสมองไว มีความยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดี

เป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีรายงานว่า เด็กยุคปัจจุบัน มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นน้อยลง[2]  เพราะสภาพสังคมในปัจจุบัน เด็กๆ เติบโตในครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะฝึกการรับรู้ความรู้สึก และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเครือญาติ หรือคนรอบตัว แต่กระนั้น “ความเห็นอกเห็นใจ” เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ แม้ว่าการจ้างงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

แต่สิ่งที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายมั่นใจคือ งานที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ได้แก่ งานที่ต้องใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ดังนั้นเด็กที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น

Cute Asian toddler sitting on her mothers lap, reading book together. Children growth and development. Children education.
เราจะเลี้ยงดูลูกอย่างไร ให้เป็นเด็กที่มีคุณสมบัติ 3 อย่างที่กล่าวมา

คุณภาพของการเจริญเติบโตของเด็กเกิดจากการผสมผสานกันระหว่าง พันธุกรรมและการเลี้ยงดู (Nature and Nurture) ในด้านของพันธุกรรมนั้น (Nature) เป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่การเลี้ยงดูลูกในช่วงปฐมวัย (Nurture) จะเป็นรากฐานที่สำคัญ และกำหนดโครงสร้างสมองของเด็กแต่ละคน การเลี้ยงดูที่ดีต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

1.การให้สารอาหารที่ดีและครบถ้วน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีสมองไวที่พร้อมเรียนรู้

2.การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมองของลูก

สารอาหารใดบ้างที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมองลูก

โภชนาการที่ดีในวัยเด็ก คือ นมแม่ ซึ่งอุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโต และการพัฒนาสมองในขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมองเรียนรู้ได้เร็วกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของชีวิต เพราะทุกวินาที จะเกิดการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทถึง 1,000,000 เซลล์ ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาสมองของลูก และเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้ต่างๆ ในอนาคตของลูกนั้นดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ข้อมูลล่าสุดเผยให้เห็นว่า จุดเริ่มต้นพัฒนาการสมองที่ต่างกันเล็กน้อยในช่วงทารก ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในระยะยาว จนอาจกล่าวได้ว่า สร้างสมองไวเริ่มได้ตั้งแต่วันแรกของชีวิต สารอาหารที่เด็กได้รับในวัยนี้ จะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการทำงานของการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลในระยะยาวต่อคุณภาพการเรียนรู้ของคนคนนั้นไปตลอดชีวิต โภชนาการในวัยเด็กเพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมของร่างกายลูกควรอุดมไปด้วยอาหารที่ให้พลังงาน อย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ แร่ธาตุกับวิตามินที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต

นอกจากนี้ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สมองที่ก้าวหน้า ทำให้เราค้นพบว่าสารอาหารในนมแม่ เช่น สฟิงโกไมอีลิน มีผลโดยตรงกับการสร้างปลอกไมอีลินของเซลล์สมอง ซึ่งไมอีลินมีความสำคัญในการเพิ่มความเร็วของการส่งกระแสประสาท ทำให้การเรียนรู้ของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น[3] นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบราวน์  (Brown University) หนึ่งในกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีก ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลการวิจัยด้วยการสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) พบว่า มีสารอาหารต่าง ๆ เช่น สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ เป็นหนึ่งในสารอาหารในนมแม่นั้นมีผลต่อการสร้างไมอีลิน และเด็กที่กินนมแม่มีการสร้างไมอีลินที่เร็วกว่าและมากกว่า

“สฟิงโกไมอีลิน” เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ และมีไขมันที่มีความจำเพาะต่อการสร้างไมอีลินโดยเฉพาะ ไมอีลินนี้เป็นส่วนของหุ้มเส้นใยประสาทที่จะมาเชื่อมโยงเส้นประสาทต่างๆ อันส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาทและการประมวลผลภายในสมอง สมองเด็กที่มีไมอีลินมากกว่าจะเรียนรู้ได้ไวกว่า โดยเฉพาะเด็กที่ได้นมแม่จะมีการสร้างไมอีลินที่มากกว่า “สฟิงโกไมอีลิน” พบมากในนมแม่ ไข่ นม และชีส

การเลี้ยงดูที่ทำให้สมองเรียนรู้ได้ดี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ต้องทำอย่างไร

หากต้องการให้ลูกมีคุณสมบัติที่โลกอนาคตต้องการ คือต้องเป็นเด็กที่มีสมองไว มีกรอบแนวคิดแบบเติบโต (growth mindset) เพื่อพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และที่สำคัญเป็นคนใจดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น จะต้องมีหัวใจหลักในการเลี้ยงดูลูกดังนี้

มีสายสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่าง แม่-ลูก ในช่วง 3 ปีแรกเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด ที่เด็กสร้างสายสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดู เป็นคนที่ตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจของเด็ก เมื่อมีสายสัมพันธ์ที่มั่นคงแล้ว เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อโลกใบนี้ เพราะรู้สึกปลอดภัย และมั่นคงในใจ เด็กก็พร้อมที่จะออกไปเรียนรู้สิ่งรอบตัว

สมองเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย ได้แก่ ในช่วง 6 ปีแรก เป็นช่วงวัยที่เด็กต้องฝึกใช้ร่างกายของตนเองให้เพียงพอในทุกมิติ ทั้งเดิน วิ่ง การปีนป่าย กระโดดโลดเต้น ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน ฝึกการใช้นิ้วมือในทุกนิ้วผ่านการเล่น เช่น การปั้นแป้ง การขยำ ฉีก สัมผัส ระบายสีอิสระ (ไม่ใช่การฝึกคัดลายมือ) จะช่วยให้สมองเด็กพัฒนาได้เต็มที่ ที่สำคัญเด็กที่ได้ใช้ร่างกายของตนเองเต็มที่ จะรู้จักการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ตามศักยภาพของตนเอง รู้จักประเมินตัวเองตามสถานการณ์ ได้ฝึกการควบคุม การยับยั้ง ปรับแผน

ให้เด็กได้คิดและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เมื่อลูกต้องเผชิญกับอุปสรรค หากมิใช่เรื่องที่เป็นอันตราย ลองตอบสนองและเข้าไปช่วยเหลือให้ช้าลงสักนิด เราจะมองเห็น “พฤติกรรมการแก้ปัญหา” ของลูก ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการเติบโตของเด็ก พ่อแม่ควรทำหน้าที่เหมือนโค้ช คอยชี้แนะ แต่ไม่ครอบงำ ไม่แย่งแก้ปัญหาของลูก เพราะสิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในอนาคต

ฝึกให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยการฝึกสะท้อนอารมณ์ให้กับลูก เพราะก่อนที่ลูกจะเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นได้ เขาต้องเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง วิธีการฝึกสะท้อนอารมณ์ คือ เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงอารมณ์ และพ่อแม่สะท้อนอารมณ์ให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่รู้สึกอยู่ ณ ตอนนั้น คืออารมณ์เศร้า โกรธ น้อยใจ อิจฉา เป็นต้น

เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการเตรียมความพร้อมของลูกน้อยตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับสารอาหารที่มีคุณค่า เปรียบเสมือนวัตถุดิบในการสร้างสมอง อย่างนมแม่ซึ่งถือเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดของทารก เพราะอุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิดรวมถึง สฟิงโกไมอีลิน และดีเอชเอ ที่มีส่วนช่วยให้สมอง สามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสฟิงโกไมอีลิน และสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย เข้าชมได้ที่ S-Mom Club ที่เว็บไซต์ https://www.s-momclub.com/ และสามารถสมัครสมาชิกเพื่อปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

[1] Jame Barrat. ‘Why Stephen Hawking and Bill Gates Are Terrified of Artificial Intelligence’, The World Post, 9 June 2015. https://www.huffpost.com/entry/hawking-gates-artificial-intelligence_b_7008706

[2] Jessica Lahey. ‘Why Kids Care More about Achievement than Helping Others’, The Attlantic, 25 June 2014. www.theatlantic.com/education/archive/2014/06/most-kids-believe-that-achievement-trumps-empathy/373378

[3] Nithya Franklyn, Dhanasekhar Kesavelu, Prameela Joji, Rahul Verma, Arun Wadhwa, Chandan Ray. Impact of Key Nutrients on Brain and Executive Function Development in Infants and Toddlers: A Narrative Review, Journal of Food and Nutrition Sciences. Volume 10, Issue 1, January 2022, pp. 19-26. doi: 10.11648/j.jfns.20221001.14