สถาปนิกชาวไทย คว้า 3 รางวัล การประกวด TOSTEM Asia Design award 2023

41

ทอสเท็ม ร่วมยินดีกับ 3 ผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวไทย คว้ารางวัลในงาน TOSTEM Asia Design award 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในการประกวดผลงานการออกแบบที่อยู่อาศัยทั่วภูมิภาคเอเชีย ผ่านการออกแบบที่สร้างสรรค์และมีนวัตกรรม สอดคล้องกับแนวทางของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ เทคโนโลยี และการออกแบบ

วิชา วรสายัณห์ ลีดเดอร์ กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่งเทคโนโลยี บริษัท แอล เอช ที เอเซีย เซลส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป แบรนด์ ทอสเท็ม (TOSTEM) เปิดเผยว่า กิจกรรมการประกวด TOSTEM Asia Design award 2023 เป็นการจัดกิจกรรมครั้งแรกในโอกาสครบรอบ 100 ปี โดยรวบรวมผลงานของสถาปนิกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลงานการออกแบบดีไซน์ของสถาปนิกที่มีประสบการณ์ในการใช้สินค้าของทาง TOSTEM เข้ามา

โดยทาง TOSTEM มีคณะกรรมการคัดเลือกผลงานของสถาปนิกที่ชนะรางวัล และเรียนเชิญผู้ชนะรางวัลการประกวด TOSTEM Asia Design award 2023 มาที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อได้มาสัมผัสประสบการณ์ เรียนรู้วัฒนธรรม นวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย การออกแบบที่อยู่อาศัยผ่านสถาปัตยกรรมอันงดงาม ของเมืองหลวงญี่ปุ่น พร้อมกับได้สัมผัสกับสินค้าใหม่ๆ ของ TOSTEM ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นการแลกเปลี่ยนไอเดีย นำไปต่อยอดในการออกแบบ การเลือกใช้สินค้า ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศของสถาปนิกที่ได้มาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

กิจกรรมการประกวด TOSTEM Asia Design award 2023 มีสถาปนิกผู้สนใจจากทั่วภูมิภาคเอเชียร่วมส่งผลงานเข้าร่วมถึง 133 ผลงาน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ผลงานการออกแบบดีไซน์ของสถาปนิกชาวไทย สามารถสร้างชื่อเสียงคว้ารางวัลมาได้ถึง 3 ผลงานด้วยกัน จากผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 10 รางวัล ประกอบไปด้วยผลงานดังนี้

ากร มหพันธ์ สถาปนิก ชื่อผลงาน วัดคำประมง

ผลงาน วัดคำประมง จากบริษัท M Space สถาปนิกผู้ออกแบบ ภากร มหพันธ์ โดยออกแบบเป็นอาคารพีระมิด 2 หลัง เป็นโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย วัดคำประมง จ.สกลนคร ออกแบบให้กึ่งเปิดกึ่งปิด เน้นแสงธรรมชาติ อากาศถ่ายเท มีความเป็นส่วนตัว เพื่อบำบัดผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า ATIS และ WE 70 ด้วยตัวผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่เรียบง่าย กรอบเฟรมบาง , มุ้งลวดเส้นเล็ก เหมาะกับงานไม้ได้ทัศนียภาพภายนอกเต็มเฟรม ไม่ขัดกับผิวไม้เก่าป้องกัน อากาศ , เสียง , น้ำ ได้ดี ระบายอากาศ , ความชื้น จากภายในทั้งในหน้าร้อนและหน้าฝนได้สะดวก

ส่วนแนวคิดรูปแบบภายนอกของพิรามิดมีรูปทรงปิด การนำมาประยุกต์ใช้โดยให้สามารถอาศัยได้ตลอดเวลา ต้องมีการนำแสงสว่าง และ อากาศธรรมชาติจากภายนอกเข้ามา ผ่านบริเวณด้านฐานของพิรามิด ในขณะที่ส่วนตัวอาคารเป็นดินเผา ที่มีสีใกล้เคียงกับดินในบริเวณนั้น และสีจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งเก่าและกลมกลืนไปกับสภาพธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ปลูกสร้างอาคาร รูปแบบภายในใช้ไม้เก่าที่รื้อจาก บ้าน , วัด ในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มาประกอบเป็นพื้นผนังและฝ้า ซึ่งมีสีวัสดุตามธรรมชาติเดิมที่มียางไม้เคลือบตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพื่อให้ผิวภายในสะท้อนแสงแบบ INDIRECT จากพื้นขึ้นสู่ฝ้าเพดาน คล้ายกับบ้านไม้โบราณในญี่ปุ่น

ชื่อผลงาน Baansuan Tha Phra จากบริษัท Thai Absolute Inspector สถาปนิกผู้ออกแบบ คุณเอก ตัณฑเกษม

ผลงาน Baansuan Tha Phra จากบริษัท Thai Absolute Inspector สถาปนิกผู้ออกแบบ นายคุณเอก ตัณฑเกษม โดยออกแบบบ้านพักตากอากาศคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยการจัดวางอาคารให้เหมาะสมกับสภาพที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย เน้นความโปร่งสบาย โดยใช้การยื่นชายคาที่ยาวเพื่อลดความร้อนและแสงแดด มีพื้นที่ชานระเบียงสำหรับพักผ่อน และเน้นให้มีช่องเปิดที่กว้างเพื่อการระบายอากาศ โดยผลิตภัณฑ์ ประตู-หน้าต่าง TOSTEM ที่ใช้ประกอบด้วย Grants / WE PLUS / P7 / WE 70 / GIESTA บาน Folding door ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์ช่วยผลักดัน บุคลิกภาพของ function ต่างๆ ของอาคารหลังนี้ได้อย่างลงตัว

ผลงาน Yellow House จากบริษัท Joys Architects

ผลงาน Yellow House จากบริษัท Joys Architects สถาปนิกผู้ออกแบบ นายสืบสาย จิตตเกษม, นายประเสริฐ อนันทยานนท์ และ ดร.ณัฏฐ์ ละเอียดอ่อน โดยออกแบบโดยคำนึงถึงการผสมผสานกับธรรมชาติและความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย มี Courtyard ที่เชื่อมสภาพแวดล้อมภายนอกเข้ากับภายในได้อย่างลงตัว Courtyard เหล่านี้ยังช่วยให้ลมไหลเวียนได้ดี รับแสงธรรมชาติ และมอบทิวทัศน์อันน่าหลงใหล พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุเน้นใช้ว้สดุที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบ้านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างตัวฟังก์ชั่นบ้านกับคอร์ททั้ง 4 ซึ่งวัสดุเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศในงานสถาปัตยกรรม และยังสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆ ได้ด้วย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า เลือกใช้หน้าต่างรุ่น ATIS เพราะตอบโจทย์เรื่องเฟรมที่บาง ทำให้บ้านกับคอร์ทดูเป็นพื้นที่เดียวกัน

ซึ่งทั้ง 3 ผลงานที่คว้ารางวัลของสถาปนิกชาวไทย เป็นการสร้างสรรค์งานออกแบบดีไซน์โดยนำสินค้าของทาง TOSTEM มาใช้เป็นองค์ประกอบในงานออกแบบได้อย่างลงตัว ยกระดับความสะดวกสบายและคุณภาพการอยู่อาศัยผ่านการออกแบบอันมีนวัตกรรม และสอดคล้องกับทิศทางของ TOSTEM ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ เทคโนโลยีขั้นสูง และหลักการออกแบบ