บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้เข้าพบ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ “วิศณุ ทรัพย์สมพล” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งท่านได้ส่งผู้อำนวยการกองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค เข้าร่วมประชุมแทนเพื่อรับทราบข้อมูลและร่วมหาข้อมูลดังกล่าว เรื่องความปลอดภัยการติดตั้งหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้า ขนาด ตั้งแต่ 500 KVA. ขึ้นไป กับมาตรฐานการทดสอบด้านความปลอดภัย อัคคีภัย ต่อสาธารณะ, ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ตามมาตรฐาน IEC 62271-202
โดยได้แจ้งถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้านการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า (โมเดลสีลม) ซึ่งติดตั้งตามประเทศเยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ และยุโรป เป็นแนวทางร่วมกันที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่ และทำให้กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย เกิดความปลอดภัย ต่อสาธารณะ, ประชาชนและนักท่องเที่ยวด้านระบบไฟฟ้า และยังเสริมสร้างทัศนียภาพในเมืองหลวงให้เกิดความสวยงามและมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าที่มั่นคง
ประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้เล็งเห็นว่าหม้อแปลงไฟฟ้าบนเสา มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อัคคีภัย ดังกรณีตัวอย่าง ทั่วไปที่หม้อแปลงเกิดการชำรุดหรือระเบิด ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมากและหม้อแปลง ที่ติดตั้งบนเสา ยากต่อการบำรุงรักษา ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ จึงได้นำข้อมูลมาชี้แจงถึงการติดตั้งหม้อแปลง (Unit Substation) ที่มีความปลอดภัย ด้านอัคคีภัย ต่อสาธารณะ, ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ตามมาตรฐาน IEC 62271-202
รวมถึงสร้างทัศนียภาพสวยงาม สามารถตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุด ซึ่งต้องแลกกับการลงทุนในระบบการจ่ายไฟฟ้าที่สูงขึ้น แต่ผู้ใช้จะได้ความคุ้มค่าและความปลอดภัย อีกทั้งอายุการใช้งานหม้อแปลงมากกว่า 20 ปี ตามมาตรฐาน IEC 60076-7 และระบบของ Unit Substation ได้คำนึงและทดสอบระบบไฟฟ้าด้านความปลอดภัย อัคคีภัย ต่อสาธารณะ, ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน Unit Substation ยังเหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการความสวยงามเช่น ถนนสายสำคัญในกรุงเทพมหานคร โบราณสถาน สนามบิน หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม และโรงพยาบาล เป็นต้น
สุประชา บวรโมทย์ ผู้อำนวยการกองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค กทม. กล่าวว่า ทาง กทม. รับทราบและเห็นด้วยกับการชี้แจงประเด็น เรื่องความปลอดภัย อัคคีภัย ที่จะส่งผลกระทบต่อสาธารณะ, ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน พร้อมเล็งเห็นถึงความสำคัญของอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ กทม. จะเร่งนำเรื่องที่ชี้แจงไปพิจารณาพร้อมจัดประชุมอีกครั้ง และ กทม. มีความสนใจหม้อแปลงซับเมอร์ส ที่ติดตั้ง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ ถนนอังรีดูนังต์ หม้อแปลงดังกล่าวผ่านการทดสอบแรงต้านน้ำ 3 เมตร ตามมาตรฐาน IEEE Std.C57.12.24และตอบโจทย์ ด้านความปลอดภัย อัคคีภัย ต่อสาธารณะ, ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน การเสริมสร้างระบบไฟฟ้ามั่นคง สู่มาตรฐานระดับโลก อีกทั้งสร้างทัศนียภาพสวยงามให้บ้านเมือง และเป็นประโยชน์สร้างความปลอดภัยต่อสังคมและประชาชน กทม. พร้อมจะเข้าเยี่ยมชมหม้อแปลงซับเมอร์ส เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนของกรุงเทพมหานคร