เปิดใจแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เอส สไปน์ กับเคสผ่าตัดกระดูกคอที่ต้องวินิจฉัยให้ตรงจุด

59
Group of Young asian businessman and businesswoman sitting outdoors and texting with their smartphones - Concepts about technology and global communication in the modern city,

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมมากขึ้น จากสถิติของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ พบว่า ตั้งแต่ปี 2561–ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษามากขึ้นถึง 4 เท่า โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน สาเหตุจากการทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ รวมไปถึงการก้มเล่นโทรศัพท์มือถือของคนในยุคสังคมก้มหน้า

ขณะที่เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกจะค่อยๆ ทรุดลงหรือเสื่อม อาการของผู้ป่วยจะเริ่มจากปวดคอเรื้อรัง หรือปวดคอแบบเป็นๆ หายๆ ซึ่งจะพบได้ในกลุ่มอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป นอกจากเรื่องของอายุแล้วอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กระดูกคอเสื่อมก็คือ การขยับคอบ่อยๆ แรงๆ ทำให้บริเวณนั้นเกิดความเสื่อมได้เร็วมากขึ้นประมาณ 80% และเกิดความเสื่อมที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอที่ระดับ C5-C6 เนื่องจากเป็นระดับที่ใช้ในการหันหน้าหรือขยับคอ รองลงมาเป็นระดับที่ C4-C5 และ C6-C7 ตามลำดับ

นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยหญิงอายุ 59 ปี มีประวัติชอบขับจักรยานระยะทางไกลๆ โดยลักษณะจะขี่จักยานแบบขึ้นลงลูกระนาด และมีการกระแทกบ่อยๆ ก่อนมาพบแพทย์มีอาการปวดคอร้าวขึ้นบริเวณท้ายทอยและมีปัญหาเรื่องของการนอนพักผ่อน
จากการซักประวัติ พบว่าปัญหาน่าจะเกิดจากกระดูกสันหลังส่วนคอเป็นหลัก และเพื่อความแม่นยำจึงส่งผู้ป่วยไปทำ x-ray ร่วมกับการทำ MRI ซึ่งผลการวินิจฉัยจาก MRI พบว่ามีหมอนรองกระดูกคอเสื่อมแทบทุกข้อ และตัวหมอนรองกระดูกก็ปลิ้นเล็กน้อย

สำหรับผู้ป่วยรายนี้หมอได้ทำการส่องกล้องเพื่อเข้าไปขยายโพรงเส้นประสาทให้โล่งขึ้น ส่วนที่หมอนรองกระดูกปลิ้นก็ทำการจี้เลเซอร์ โดยการนำเข็มเข้าไปที่บริเวณหมอนรองกระดูกที่ปลิ้น และปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงร่วมกับคลื่นความร้อน ทำให้หมอนรองกระดูกหดลง อยากให้ลองนึกภาพลักษณะคล้ายกับเราเอาไฟแช็กลนถุงพลาสติกแล้วถุงพลาสติกก็หดลง โดยปกติแล้วส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ การใช้คลื่นความร้อนเข้าไปจัดการตรงบริเวณหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นนั้นจะทำให้อาการปวดนั้นลดลงได้

นอกจากนี้ นพ.ชุมพล ยังอธิบายว่าการวินิจฉัยโรคให้ตรงจุดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยรายนี้ต้องใช้การรักษาแบบผสมผสาน อย่างเคสนี้ใช้การจี้เลเซอร์ร่วมกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง ด้วยเทคนิคแบบ PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) จะตอบโจทย์มากกว่าเพราะอย่างในผู้ป่วยรายนี้โพรงเส้นประสาทส่วนคอมีการตีบแคบ โดยปกติ MRI จะเห็นภาวะของหมอนรองกระดูกที่เสื่อม ภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ แต่สิ่งที่มองเห็นไม่ชัด ก็คือตัวกระดูก

จึงจำเป็นต้องใช้เอกซเรย์เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยร่วมกัน และผลลัพธ์หลังจากการรักษาก็ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งอาการปวดคอ อาการปวดร้าวขึ้นท้ายทอย หรือว่าลงสะบักก็หายไป ส่วนอาการเจ็บที่บริเวณเข็มแทงนั้น เป็นอาการของเส้นประสาทอักเสบก็จะค่อยๆ ดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

นพ.ชุมพล คคนานต์

“ไม่เจ็บเลย เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ เหมือนยกภูเขาออกจากอกทั้งลูก“นี่คือเสียงสะท้อนจากผู้ป่วย ที่มีต่อผลลัพธ์ในการรักษาหลังจากต้องทรมานด้วยอาการปวดมานานกว่า 2 ปี โดยเธอเผยว่า รู้สึกว่าตัวเองปวดหัวและนอนไม่หลับ จึงไปพบแพทย์เพื่อขอยานอนหลับมาทานนานถึง 2 ปี แต่ก็ยังปวดหัวร้าวมาด้านหลัง จนกระทั่งได้ไปทำ MRI ก็พบว่ากระดูกส่วนคอข้อที่ 7 มีปัญหา ซึ่งคุณหมอก็แนะนำให้ทำกายภาพอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ก็ไม่ดีขึ้น จนเริ่มบั่นทอนชีวิตและจิตใจ กระทั่งได้มารักษากับคุณหมอชุมพล ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ที่นี่คุณหมออยากให้เริ่มตรวจใหม่จะได้หาต้นเหตุของอาการปวดอย่างแท้จริงจนมาพบว่ามีข้อที่ 6 ปลิ้นออกมา เพิ่ม ซึ่งคุณหมอก็ได้แนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่จะทำให้เธอหายจากอาการที่ทนทุกข์มานานถึง 2 ปี