รู้จัก Brand Story telling ปั้นธุรกิจธรรมดา ให้คว้าดวงดาว

3063

ถ้าเราเดินไปสั่งข้าวราดผัดกะเพราไข่ดาวจากร้านป้าตามสั่งแถวบ้าน เราก็คงพึงพอใจกับราคา 40-50 บาทกับอาหารหนึ่งจานที่ได้รับ แต่หากป้าขายสัก 120 บาท เรื่องนี้ก็อาจจะถึงหูนักสืบโซเชียลและสังคมออนไลน์ที่ค่อยรุมประณาม

แต่ถ้าเราเข้าไปนั่งอยู่ในร้านอาหารร้านหนึ่งที่ระบุว่า กะเพราของทางร้านเป็นกะเพราออร์แกนิค สั่งตรงมาจากกลุ่มแม่บ้านช่างก่อสร้างที่ทำเป็นอาชีพเสริม เนื้อหมูเลี้ยงจากฟาร์มปิดอย่างดี มีการเปิดเพลงและนวดทุกบ่ายเพื่อความผ่อนคลาย เช่นเดียวกับไข่ที่สั่งจากฟาร์มไข่ไก่อารมณ์ดี ข้าวสารจากการทำนาบนเกาะ….อะไรทำนองนี้ คิดว่ากะเพราจานนี้จะขยับตัวสูงขึ้นไปอีกเท่าไหร่ เหมือนที่แบรนด์สินค้าหลายแบรนด์ประสบความสำเร็จมาแล้ว กับเรื่องเล่าทั้งด้านที่มาที่ซับซ้อนกว่าปกติของวัตถุดิบ หรือ ตำนานหรือประวัติศาสตร์อันยาวนานของแบรนด์นั้น เป็นต้น

นี่อาจจะเป็นการยกตัวอย่างคร่าวๆ ง่ายๆ ของคำว่า Story telling หรือ การสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคจดจำได้ผ่านการเล่าเรื่องด้วยเทคนิค Story Telling ในยุคที่ทุกแบรนด์ต่างมีสื่ออยู่ในมือแบบเท่าเทียมกัน

การที่จะนำเสนอตัวแบรนด์และสินค้าของตัวเองให้กับลูกค้าได้อย่างไร้ขีดจำกัดและไร้พรมแดน สิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราแตกต่าง หรือโดดเด่นออกมาจากคู่แข่ง คือการทำ Brand Story telling เพราะว่าหากผู้บริโภคจดจำได้ มีความรู้สึกผูกพันกับแบรนด์ เมื่อนึกถึงสินค้าในตลาดกลุ่มนี้ก็จะนึกถึงแบรนด์เราเป็นอันดับแรก เรียกได้ว่า Story telling  สามารถทำให้ธุรกิจก้าวสู่การเป็นดาวเด่นของตลาดนั้นๆ ได้

ทำไมต้องทำ Story telling

Story telling จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และอินไปกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น มากกว่าการให้ข้อมูลแบรนด์แบบทั่วไป ซึ่งจากผลการวิจัย โดยให้แต่ละคนออกมานำเสนอผลงานคนละ 1 นาที โดยแบ่งวิธีการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การนำเสนอด้วยข้อเท็จจริง ผ่านรูปภาพหรือตาราง ผลปรากฏว่าผู้ที่นั่งฟังสามารถตอบได้ถึงสถิติต่างๆ เพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ในขณะที่การนำเสนออีกรูปแบบหนึ่งคือ การเล่าเป็นเรื่องราว หรือ Story telling ผลปรากฏว่า ผู้ฟังสามารถจดจำข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 63 เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าการเล่าเรื่องนั้นจะกระตุ้นสมองหลาย ๆ ส่วน เช่น ส่วนการประมวลผลภาพ เสียง กลิ่น การเคลื่อนไหว และความคิด นอกจากนี้สมองยังทำการจดจำ สร้างอารมณ์เข้าไปร่วมในเวลาการเล่าเรื่อง ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า ทำไมผู้ประกอบการในยุคนี้ถึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอจากข้อเท็จจริงมาสู่รูปแบบของ Story telling

ดังนั้นแบรนด์ที่ทำ story Telling จะสร้างการจดจำและความรู้สึกร่วมของผู้บริโภค จนเกิดเป็นความผูกพันกับแบรนด์ เหมือนการมีแฟนคลับคอยติดตามแบรนด์ เมื่อผู้บริโภคมีความรู้สึกกับตัวแบรนด์แล้วจะส่งผลดีกับแบรนด์อย่างมาก ทำให้มีที่ยืนในตลาดเพราะหากนึกถึงก็จะคิดถึงแบรนด์ที่อยู่ในใจเป็นอันดับแรกและยังจดจำจุดเด่นและลักษณ์ของตัวแบรนด์ได้อีกด้วย ทำให้ธุรกิจของเรามีความชัดเจนสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง การที่ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้ถือเป็นอีกขั้นที่จะให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้จนถึงขั้นเป็นผู้นำในตลาด

หลักการทำ Brand Story telling ที่ต้องรู้

รู้ว่าตัวเราคือใคร  ตัวเราในที่นี้หมายถึง แบรนด์นั่นเอง ต้องรู้ว่าแบรนด์เราคืออะไร ยึดมั่นกับอะไร แล้วจะแทนด้วยคำว่าอะไร เพื่อความชัดเจนของแบรนด์และจุดเด่นที่เราต้องการดึงออกมานำเสนอ หรือการเลือกใช้สีเพื่อแทนตัวแบรนด์เช่น สีเขียว แทนในความหมายเป็นแบรนด์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม

นำเสนอในสิ่งที่เชื่อ  ต้องมีการคัดเลือกว่าจะนำเสนอสิ่งไหนและไม่นำเสนอสิ่งไหนโดยเลือกในสิ่งที่จะสะท้อนตัวตนของแบรนด์ออกมาได้ และเป็นจุดเด่นของสินค้า เพื่อให้ทุกอย่างนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพราะข้อสำคัญในการทำ Brand Story telling จะต้องมีความชัดเจนมากๆ หากนำเสนอไปแบบมั่วๆก็จะเป็นการ จับฉ่าย ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกสับสนและแบรนด์ไม่เป็นที่จดจำ

หา Emotional Connection ให้เจอ  การเชื่องโยงด้วยความรู้สึกและอารมณ์กับกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งแรงเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้แบรนด์เป็นที่รักมากเท่านั้น ในการสร้างความรู้สึกที่เชื่อมโยงกัน ถ้าแบรนด์สินค้าไหนสามารถสร้างจุดเชื่อมกับความรู้สึกเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้าชั้นดีของแบรนด์ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงไม่แพ้กันคือความเหมาะกับธุรกิจที่แตกต่างกันไป เพราะอย่างความรู้สึกอิสระไรการควบคุมอาจจะเหมาะกับแบรนด์เกี่ยวกับแฟชั่น ส่วนความรู้สึอบอุ่น มั่นคง อาจจะไปเหมาะกับธุรกิจด้วยการเงิน การลงทุน เป็นต้น

3 สิ่งนี้ ถือเป็นหลักการพื้นฐานในการที่จะทำ Brand Story telling เพื่อทำให้แบรนด์ มีเสน่ห์ มีเอกลักษณ์ แตกต่างจากคู่แข่ง สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกันของแบรนด์กับผู้บริโภค แต่ในกลุ่มธุรกิต่างๆ ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันไปในการทำและยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันจึงต้องอาศัยข้อมูลและรายละเอียดปลีกย่อยที่มากกว่านี้ ซึ่งอาจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

นี่คือคำแนะนำดีๆ ในยุคที่ใครๆ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้ แต่จะสร้างความโดดเด่นและแตกต่างได้อย่างไร หากสนใจหาความรู้เพิ่มเติมก็ไปชมกันได้ที่งาน OEM MANUFACTURER EXPO 2018 จัดระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2561 ณ Hall 106 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ครั้งแรกของไทยที่เปิดโอกาสให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผู้ประกอบการ ได้แลกเปลี่ยนความรู้การทำธุรกิจทั้งเรื่อง แบรนด์ บรรจุภัณฑ์ แพ็คเกจ และด้านอื่นๆ อย่างครบวงจร