จริงใช่ไหม? ผลสำรวจพบพนักงานชาวไทย หางานที่ใช่ ยากกว่าการหารักที่โดนใจ!

10

ผลการสำรวจของ Jobsdb by SEEK แพลตฟอร์มหางานออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า พนักงานชาวไทยจำนวนมากรู้สึกมีความสุขกับตำแหน่งงานที่ตัวเองกำลังทำอยู่ ถึงแม้ว่าตำแหน่งงานนั้น ๆ อาจจะไม่ได้ตรงกับทักษะและความสามารถที่พวกเขามีโดยตรงก็ตาม

นี่เป็นหนึ่งในข้อค้นพบที่น่าสนใจจากผลการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานชาวไทยที่มีต่องานและการวางแผนการเติบโตทางด้านอาชีพของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นความพึงพอใจในงานของพนักงานในประเทศไทย การมองที่ทำงานปัจจุบันเป็น Comfort Zone และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องอาชีพการงาน

ยิ่งไปกว่านั้น Jobsdb by SEEK ยังมีคำแนะนำและการสนับสนุนในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทักษะ เรียนรู้ลับคมทักษะเดิมในแน่นยิ่งขึ้น ตลอดจนการหางานที่ใช่ผ่าน Better Match ที่จะช่วยเหล่าผู้หางานชาวไทยพัฒนาและเติบโตในเส้นทางอาชีพการงานของตัวเองได้อย่างประสบความสำเร็จ

พนักงานไทยมีความสุขกับงานที่ทำงานอยู่ ถึงแม้ว่างานจะไม่ตรงกับทักษะที่เชี่ยวชาญก็ตาม

จากผลสำรวจของทั้งหกประเทศพบว่าพนักงานชาวไทย รู้สึกว่างานที่กำลังทำอยู่ไม่ตรงกับทักษะที่พวกเขาเชี่ยวชาญ และไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการทำงานของพวกเขามากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า

  • 48% ของพนักงานชาวไทยรู้สึกมีความสุข ไปจนถึงมีความสุขอย่างยิ่งกับตำแหน่งงานที่ทำในปัจจุบัน แม้ว่าทักษะของตัวเองจะไม่ตรงกับงานก็ตาม
  • มีพนักงานไทยเพียง 12% เท่านั้นที่เชื่อว่าตำแหน่งงานของตัวเองตรงกับทักษะและวัตถุประสงค์ในการทำงานอย่างแท้จริง
  • 25% ของพนักงานรู้สึกว่าตำแหน่งงานที่ทำอยู่ไม่ได้สอดคล้องกับความสามารถของพวกเขาเลยแม้แต่น้อย

เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไป กลุ่มพนักงานที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำ (ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 13,000 บาทต่อเดือน) จำนวน 41% รู้สึกว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่ตรงกับทักษะและตำแหน่งงานในฝันของพวกเขาแม้แต่น้อย ในทางกลับกัน 18% ของพนักงานที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 70,000 บาทต่อเดือน) รู้สึกว่างานของตัวเองตรงกับทักษะความสามารถและเป้าหมายเป็นอย่างดี

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของทั้งสองข้อนี้ กล่าวได้ว่าถึงแม้ทักษะของพนักงานชาวไทยอาจไม่ตรงกับตำแหน่งงานที่กำลังรับผิดชอบอยู่ แต่พวกเขายังคงสามารถหาโอกาสที่จะเติบโตในสายงาน พร้อมกับได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น Jobsdb by SEEK จึงขอสนับสนุนให้พนักงานทุกคน ไม่หยุดที่จะมองหาโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะ รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือผ่านการเข้าอบรม การเข้าเรียนในคอร์สเรียนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถของตัวเองให้ทำงานที่มีความสุขได้ดีขึ้น ตลอดจนสามารถเติบโตในสายงานนั้น ๆ ได้อย่างมั่นคง ถึงแม้จะไม่ใช่สายงานที่ตรงกับทักษะของตัวเองในช่วงแรกก็ตาม

การมองที่ทำงานปัจจุบันเป็น Comfort Zone

พนักงานไทยจำนวนมากเต็มใจที่จะทำงานในตำแหน่งเดิม ถึงแม้จะรู้ดีว่าความสามารถในตอนนี้ของตัวเองจะโตเกินตำแหน่งงานไปแล้ว บ่อยครั้งพวกเขาอยู่ในตำแหน่งนั้นนานกว่าหนึ่งปีแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นหรือเปลี่ยนตำแหน่งงาน สาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะพวกเขารู้สึกสบายใจกับความรับผิดชอบที่เขาคุ้นเคย และมั่นใจว่าสามารถทำได้ ความสบายใจนี้นำไปสู่ความสุขในการทำงานตำแหน่งเดิมเป็นระยะเวลานาน ที่เรียกว่า ‘Comfort Zone’ ถึงแม้งานนั้นจะใช้ทักษะที่ต่ำกว่าความเชี่ยวชาญที่มีหรือขัดกับแผนการเติบโตในอาชีพการงานของตัวเอง ก็ยากที่จะตัดสินใจเปลี่ยนงาน อย่างไรก็ตาม

เมื่อพิจารณากลุ่มพนักงานไทยที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี พบว่า มีจำนวนเกินกว่าครึ่งของคนกลุ่มนี้ หรือ 54% ที่ขอไม่ตัดสินใจเลือกทำงานตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน และพร้อมที่จะหางานใหม่ได้ไวกว่าหากเปรียบเทียบกับคนทำงานวัยอื่น ๆ

  • มีเพียง 17% ของพนักงานไทยในช่วงอายุ 45-54 ปี ที่เลือกลาออกจากตำแหน่งที่ไม่เหมาะกับทักษะของตัวเอง
  • 16% ของคนกลุ่มนี้เต็มใจที่จะทำงานในตำแหน่งเดิมเกินห้าปี ก่อนที่จะเริ่มมองหางานใหม่อย่างจริงจัง

เมื่อเปรียบเทียบการหางานกับการหาคู่ชีวิต พบว่าพนักงานชาวไทย 54% ต่างเห็นด้วยว่าการหางานที่เหมาะสมนั้นยากพอ ๆ กับการหาคู่ครองระยะยาว หลายคนยึดติดกับตำแหน่งงานที่ไม่ตรงกับทักษะหรือเป้าหมายเพียงเพราะว่าพวกเขาสบายใจที่จะอยู่ในจุดนั้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่างาน ส่งผลต่ออารมณ์และความสุขในชีวิตของเราได้มากเพียงใด และการตัดสินใจที่จะก้าวออกมาจาก Comfort Zone นั้นยากและถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องอาชีพการงาน

จากผลสำรวจพบว่า 42% ของพนักงานไทยหางานที่ตรงกับคุณสมบัติของพวกเขายากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับตอนช่วงแรก ๆ ของชีวิตการทำงาน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านโอกาสในการเติบโตของตำแหน่งงานในประเทศไทย ขณะเดียวกัน 92% ของพนักงานไทย เปิดใจที่จะเปลี่ยนอาชีพของตัวเอง โดยมองหาและพร้อมทำงานในตำแหน่งที่แตกต่างจากสาขาที่เรียนมา แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและความมุ่งมั่นในการค้นหางานที่ตอบโจทย์ต่อชีวิตพวกเขา

เมื่อมองในระดับภูมิภาค จะพบว่าพนักงานชาวไทยนั้นสามารถยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพของพวกเขาได้มากที่สุด ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ที่ 91% แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพนักงานทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ บ่งชี้ถึงความกล้าหาญในการคิดและตัดสินใจมองหาเส้นทางอาชีพใหม่ๆ ซึ่งสอดคล้องกับทักษะและแรงบันดาลใจที่เปลี่ยนแปลงไปของพวกเขา

แบบสำรวจชุดนี้ เน้นย้ำถึงความคิดเห็นและมุมมองของพนักงานชาวไทยที่มีต่อความพึงพอใจในตำแหน่งงาน ในขณะที่หลายคนมีความสุขกับตำแหน่งงานที่ทำในปัจจุบันถึงแม้ทักษะที่มีจะไม่ตรงกับงานก็ตาม หลายคนที่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงทางอาชีพครั้งสำคัญ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้ได้ทำงานที่ตัวเองพึงพอใจ ดังนั้น เพื่อให้การทำงานในทุกตำแหน่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเห็นถึงแนวโน้มความก้าวหน้า

ทั้งพนักงานและองค์กรจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ พัฒนาทักษะใหม่ หรือ reskill และ upskill เพื่อให้สามารถเติบโตและก้าวหน้าไปในเส้นทางอาชีพที่รักในระยะยาวได้ ทำให้สามารถมองหางานที่เหมาะสมกับ skill ของตนเอง อีกทั้งการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอยู่เสมอ ล้วนส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจก้าวข้ามจาก Comfort Zone รวมถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องอาชีพการงานอย่างมีนัยสำคัญ

สามารถติดตามความเคลื่อนไหว และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Jobsdb by SEEK ได้ทางhttps://www.facebook.com/JobsdbThailandOfficialPage หรือ https://th.jobsdb.com/ หรือสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jobsdb by SEEK เพื่อไม่พลาดตำแหน่งงานที่เหมาะกับคุณได้ที่ Google Play Store หรือ App Store