อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก พร้อมโกยรายได้มหาศาล โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เทียบกับปี 2022 แรงขับเคลื่อนหลักมาจาก Digital Streaming คิดเป็น 88% ของการเติบโตทั้งหมด
- การเติบโตของ Streaming Platform ตัวจุดชนวนสำคัญ: แพลตฟอร์มฟังเพลงออนไลน์เข้าถึงผู้คนได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ดนตรีไทยจึงเข้าถึงหูคนฟังทั่วโลกได้ในพริบตาเดียวโดยปี 2023 Streaming Users มีอยู่ที่ 3 ล้านคน ซึ่งเติบโต 26% จากปี 2022 และการเติบโตของ digital streaming ทำให้การคาดการณ์ของมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกของปี 2023-2030 โตได้ถึง 3 เท่า ด้วยมูลค่าตลาดรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท
2. การเติบโตของยอด Subscription ของ Youtube ในประเทศไทย ที่มาจากการที่ผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมจ่ายเพื่อ “ประสบการณ์ดนตรี” ที่เหนือกว่าระดับ เป็นประสบการณ์ฟังเพลงแบบ Premium มอบความสะดวกสบาย คุณภาพเสียงที่ดีกว่ารวมถึงการได้สิทธิ์ในการเข้าถึงคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ หรือ สิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย โดยพบว่าราคาค่าสมาชิก Subscription สูงขึ้นถึง 2 เท่าจาก 99 บาท เป็น 179 บาท และมีโอกาสเติบโตขึ้นต่อได้อีก 3 เท่า หากอ้างอิงตาม Developed Market ประเทศไทยยังคงมีช่องว่างที่ให้ขยายโอกาสเติบโตให้กับอุตสาหกรรมอีกมาก
Penetration เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ของ Midia ยอด subscription ของประเทศไทย จะเติบโตสูงถึง 4 เท่าใน 7 ปี (2023-2030) จาก 3.2% ไปเป็น 11% และยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกเท่าตัว เมื่อเทียบกับประเทศ emerging country อย่างญี่ปุ่นและเกาหลี ที่มียอด subscription penetration อยู่ที่ 25% และdeveloped country อย่าง Sweden และ United States ที่มียอด subscription penetration อยู่ที่ 45%
- Music IP: ขุมทรัพย์แห่งวงการเพลงไทย ยุคดิจิทัล ยิ่งเยอะ ยิ่งเข้าถึง ยิ่งได้เปรียบ!
“Music IP” หรือทรัพย์สินทางปัญญาด้านดนตรี กลายเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่า ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจแบบไร้ขีดจำกัด โดยเฉพาะผู้ที่ครอบครอง “Large scale of Content” ที่มีจำนวน MUSIC IP มากกว่า และเป็นที่นิยมสูงกว่า ยิ่งได้เปรียบในการเข้าถึงผู้บริโภค และสร้างรายได้มหาศาล
Music IP สร้างมูลค่าอย่างไร?
Music IP คือ หัวใจสำคัญของการสร้างรายได้จากการเผยแพร่ การนำไปใช้ การดัดแปลง และอื่นๆ อีกมากมาย
คอนเทนต์: เพลง มิวสิควิดีโอ คอนเสิร์ตออนไลน์ Podcast และ อื่นๆ ล้วนเป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดผู้บริโภค สร้างรายได้ และ ขยายฐานแฟนคลับ
Large scale of Content = โอกาสทอง เพราะการมี จำนวน IP มหาศาล เปรียบเสมือน “สินทรัพย์” ที่มีมูลค่ามหาศาล และสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว เปรียบเสมือนเหมือนกับ “ขุมทรัพย์ทอง” ที่มีค่าและไม่รู้จักหมด และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาศิลปินเพียงคนเดียว และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
เข้าถึงผู้ฟัง ทุกกลุ่มเป้าหมาย: คอนเทนต์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟัง ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสไตล์สร้างประสบการณ์ดนตรี แบบ 360 องศา: ไม่ใช่แค่การฟังเพลง แต่เป็นการ “สัมผัส” ดนตรีในรูปแบบต่างๆ ที่ Premium และ แตกต่าง
- คนไทยฟังเพลงมากกว่าเล่นโซเชียลมีเดีย พลังแห่ง Evergreen Content ที่สร้างรายได้ไม่รู้จบ! ฟังซ้ำ ดูซ้ำ ไม่มีเบื่อ เพลงฮิตสร้างรายได้ ข้ามยุคสมัย
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยมีแนวโน้มในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือพฤติกรรมการใช้เวลากับกิจกรรมด้านความบันเทิงของคนไทย จากการศึกษาของ Luminate Music Consumption Study พบว่าในปี 2566 การฟังเพลงเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่คนไทยนิยมสูงสุดถึง 75% ตามด้วยลำดับที่สอง คือการเสพคลิปสั้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่ 60% ลำดับสาม คือการเล่นโซเชียลมีเดีย และดูคลิปทำอาหารซึ่งครองอันดับร่วมกันที่ 56%
แสดงให้เห็นว่าการฟังเพลงคือสิ่งที่คนไทยชื่นชอบและเป็นสื่อที่มีโอกาสในการสร้างรายได้จากคนไทยได้มากที่สุด เพราะพฤติกรรมการฟังเพลงของคนไทย สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ “เพลง” ในฐานะ Evergreen Content ที่ไม่มีวันตาย ไม่ว่าจะเป็นเพลงใหม่ เพลงเก่า เพลงไทย ล้วนมีเสน่ห์ที่ดึงดูดให้ผู้คน “ฟังซ้ำ” และ “ดูซ้ำ” ได้อย่างไม่มีเบื่อ
– เพลง คือเพื่อน ในทุกช่วงเวลา: ไม่ว่าจะสุข เศร้า เหงา หรือ สนุกสนาน เพลง คือ “เพื่อน” ที่อยู่เคียงข้าง และ เข้าใจ ทุกความรู้สึก
– คุณค่าทางใจ ที่เหนือกาลเวลา: เพลงฮิต มักมีเนื้อหา ท่วงทำนอง หรือ ความทรงจำ ที่เชื่อมโยงกับผู้ฟัง สร้าง “คุณค่าทางใจ” ที่คงอยู่ แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
– Digital Platform ยิ่งเสริมพลัง: การเข้าถึงเพลง ที่ง่าย และ สะดวก ผ่าน Streaming Platform ต่าง ๆ ยิ่งทำให้เพลงฮิต เข้าถึงผู้ฟังได้ กว้างขวาง และ ต่อเนื่อง ตัวอย่างเพลงฮิตที่ ‘ดังข้ามยุคสมัย’
ระดับโลก: The Beatles, Mariah Carey, Michael Jackson ศิลปินระดับตำนานที่เพลงฮิตของพวกเขายังคงได้รับความนิยม และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
ระดับไทย: พี่เบิร์ดธงไชย, Bodyslam, ปาล์มมี่, Cocktail, อะตอม, Three man down เพลงของพวกเขา เป็นที่จดจำ และร้องตามได้ทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
ยิ่งกว่านั้น หากเจาะลึกไปที่พฤติกรรมการฟังเพลงแล้ว พบว่าคนไทยชื่นชอบการรับชม MV (มิวสิควิดีโอ) มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งที่ 87% แซงหน้าการฟังเพลงผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ ซึ่งคว้าลำดับสองที่ 68% ตามด้วยการรับชมคลิป MV สั้นผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อาทิ TikTok, FB/IG Reels หรือShorts ของ YouTube ที่ 61% นอกจากนั้นยังมีการฟังเพลงผ่านวิทยุ และการฟังเพลงผ่านแผ่นซีดีที่หลายคนคิดว่าตายไปแล้ว กลับคว้าอันดับที่ 4 และ 5ตามลำดับ จึงจะเห็นได้ว่าแล้วยิ่งโซเชียลมีเดียก้าวหน้ามากเท่าไหร่ การฟังเพลงเองก็เติบโตสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงเพลงที่กว้างขวางมากขึ้น
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง: โลกดิจิทัลเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงดนตรีได้ง่าย และ สะดวก กว่าที่เคย สร้าง “ฐานผู้ฟัง” ที่ใหญ่ขึ้น และ กระจายตัว ไปทั่วโลก Music IP คือขุมทรัพย์: ลิขสิทธิ์เพลง ศิลปิน และ คอนเทนต์ ล้วนเป็น “ทรัพย์สิน” ที่มีมูลค่ามหาศาล สามารถต่อยอด และ สร้างรายได้ ในหลากหลายช่องทาง เทคโนโลยี คือตัวขับเคลื่อน: แพลตฟอร์ม Streaming, Social Media, และ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้ศิลปิน เข้าถึงแฟนเพลงได้ง่ายขึ้น สร้าง Engagement และ โอกาสทางธุรกิจ ที่ไม่สิ้นสุด ธุรกิจเพลง ไม่ใช่ Sunset แต่เป็น Sunrise!
ถึงเวลาแล้ว ที่เราต้อง “เปลี่ยนมุมมอง” และ มองเห็น “ศักยภาพ” ที่แท้จริงของธุรกิจเพลงในยุคดิจิทัล