“เซเลปเด็กลูกดารา” กรณีศึกษาของการนำเด็กเข้าสู่ความเสี่ยงออนไลน์

876

จากข่าวดราม่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในกรณีความเข้าใจผิดจนเกิด
ความบาดหมางของครอบครัวดาราเซเลบ นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์
ทางสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง แอดมินจึงอยากนำบทความ
ที่น่าสนใจของคุณพงศธร จันทร์แก้ว นักสังคมสงเคราะห์อิสระ
ผู้ทำงานกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงบทเรียนจาก
เรื่องราวดังกล่าวให้ทุกท่านได้ลองอ่านอีกแง่มุมที่สะท้อนให้เห็นถึง
ผลกระทบกับเด็กๆ ที่มีเรื่องราวชีวิตของตนเองในโลกสื่อสังคมออนไลน์
ตั้งแต่ยังไม่สามารถพูดหรือตัดสินใจได้กันค่ะ

……………………………………………………………..

ในฐานะคนทำงานในแวดวงคุ้มครองเด็ก (child protection)
เราคิดว่าสังคมควรได้มาเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับอันตราย
และความเสี่ยงของ “sharenting” (parenting + sharing)
หรือการที่พ่อแม่ผู้ปกครองนำภาพหรือคลิป
ในเกือบทุกก้าวย่างของชีวิตของเด็กลงในโลกออนไลน์
………………………………………………………………
1. คุณได้สร้างรอยเท้าในโลกออนไลน์ (digital footprint) ให้กับลูกคุณเรียบร้อยแล้ว
เมื่อคุณโพสต์ภาพหรือวีดีโอของลูกคนลงในสื่อสังคมออนไลน์
นั่นหมายความว่ารอยเท้าแรกของเด็กน้อยได้ถูกจารึกลงในที่แห่งนี้
ทุกภาพ ทุกข้อมูลจะมีส่วนต่อการสร้างชื่อเสียงทางออนไลน์ของเค้า
ซึ่งแน่นอนว่าการรับรู้และความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อลูกคุณนั้นต่างกัน
มันไม่แฟร์กับเด็กเลยที่เขาจะถูกรำคาญ หมั่นไส้
ด้วยการที่พ่อแม่มีส่วนสร้างให้เกิดความรับรู้แบบนั้นต่อคนนอก
และมันก็ไม่แฟร์เอาเสียเลยที่พ่อแม่นำความเป็นส่วนตัวของเค้ามาแชร์
โดยที่เขาไม่ได้มีโอกาสที่จะให้การ “อนุญาต” ได้
………………………………………………………………
2. คุณกำลังละเมิดความเป็นส่วนตัว (privacy) และสิทธิในการปกครองตนเอง (autonomy) ของลูกคุณ
เราเห็นความเกินเหตุมากๆ ในหลายกรณี
ที่เด็กบางคนถูกติดตามและคุกคามชีวิตในหลากหลายอิริยาบถ
ไม่ว่าจะเป็นเมื่อร้องไห้ หัวเราะ กินข้าว หรือแม้กระทั่งตอนอาบน้ำ
ผู้ใหญ่ที่ควรมีหน้าที่คุ้มครองเค้าให้ได้รับความเป็นส่วนตัวมากที่สุด
กลับเป็นคนที่ถือกล้องแพร่ภาพสดผ่านทาง facebook เสียเอง
คุณมั่นใจหรือไม่ว่าทุกภาพ ทุกคลิป ทุกเรื่องราว
เกี่ยวกับลูกของคุณตอนนี้ที่ลงไป
จะไม่กลับมาสร้างความอึดอัด รำคาญใจ
หรือถูกนำไปเป็นประเด็นที่ทำให้เข้าถูกหยอกล้อ กลั้นแกล้ง
เมื่อเขาโตขึ้นในภายหลัง
ถ้าเขายังอนุญาตไม่ได้ก็อดทนรอในวันที่เขาโตสักหน่อยเถอะครับ
………………………………………………………………
3. คุณกำลังประกอบสร้างพฤติกรรมในโลกออนไลน์ (digital behavior) ให้กับเค้า
สิทธิของการมีส่วนร่วม (participation)
เป็นสิทธิเด็กจำเป็นที่ผู้ใหญ่อย่างเรา
ต้องขอความความเห็นและขออนุญาตจากเด็กทุกครั้งก่อนลงภาพเค้า
ในขณะที่คนอื่น tag รูปคุณมาใน facebook
คุณยังสามารถรอ approve tag ได้
แล้วลูกคุณหล่ะ คุณละเลยความสมัครใจนั้นไปได้อย่างไร?
“ลงรูปผมอีกแล้วเหรอครับ” เป็นประโยคสำคัญ
ที่ทำให้แม่คนหนึ่งเกิดคำถามกับพฤติกรรมของตนเอง
ถ้าคุณละเลยสิ่งเหล่านั้นคุณอาจกำลังมีส่วนสำคัญ
ในการสร้างความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ (Sense of mistrust)
ให้กับความสัมพันธ์ของคุณและลูก
เด็กหลายคนอาจอึดอึดกังวลใจทุกครั้ง
เมื่อคุณถ่ายรูปเค้าและจับโทรศัพท์ขึ้นมาพิมพ์
และมากไปกว่านั้นลูกคุณจะได้เรียนรู้ว่าผ่านการกระทำของคุณว่า
“ความเป็นส่วนตัวของเค้าคือสิ่งสาธารณะ”
“what is privacy is public”
ถ้าเค้าจะเติบโตขึ้นมาโชว์ทุกสิ่งอย่างส่วนตัว
บอกเล่าทุกช่วงเวลาผ่าน facebook
หรือไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของคนอื่นนั้น
มันก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามีส่วนสร้าง
………………………………………………………………
3. “ความน่ารัก” ภาพจำที่เป็นความคาดหวังสาธารณะ
เมื่อคุณทำให้ลูกเป็นคนดังสาธารณะ
คุณกำลังเชื้อเชิญมวลมหาประชาชนเข้ามา
ให้ความสนใจชีวิตลูกคุณไม่ใช่แค่ในโลกออนไลน์
แต่มันจะลุกลามมาในชีวิต offline ด้วย
ในขณะที่เด็กน้อยวิ่งเล่นในสวนสาธารณะเขาจะไม่ใช่แค่เด็กธรรมดา
แต่จะเป็นเด็กที่ถูกจับจ้องจากหลายสายตา
ลูกคุณจะถูกคาดหวังว่าต้องน่ารัก
ในบางครั้งความคาดหวังนั้นก็ไหลผ่านตัวคุณ
สู่การพยายามทำให้ลูกน่ารักตลอดเวลาด้วย
……………………………………………………………….
ในพรบ.คุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546 ให้เราทุกคนปฏิบัติต่อเด็ก
โดยยึด “ประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลัก”
ในฐานะผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้แม่ผู้ปกครองแล้วนั้น
จึงจำเป็นต้องตั้งคำถามและคิด
ก่อนจะแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกหลานของเราว่า
เรากำลังจะโพสต์เพื่อประโยชน์ของใคร
ลูกหลานเราได้อะไรจากสิ่งที่เราทำจริงๆ เหรอ?
เพราะความเสี่ยงเหล่านั้นสามารถป้องกันได้
โดยเริ่มจากการที่พ่อแม่พาลูกที่คุณรักกลับไปมีชีวิตในโลก offline
ให้เขาเติบโตอย่างเด็กปกติที่คงความสามารถในการเลือกว่าอยากถูกจับจ้อง
หรืออยากเป็นขวัญใจมหาชนอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็นจริงๆ รึปล่าว
……………………………………………………………….
อ้างอิง
“สิทธิเด็กในภาพถ่ายและเคลื่อนไหว” : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php…
“Do Parents Invade Children’s Privacy When They Post Photos Online?” :http://www.npr.org/…/do-parents-invade-childrens-privacy-wh…
“When the Child is Born into the Internet :Sharenting as a Growing Trend among Parentson Facebook” : http://www.educationalrev.us.edu.pl/dok/volumes/43/a19.pdf
“Sharenting’: Are you OK with what your parents post?” : http://www.bbc.co.uk/newsround/38841469
“What is sharenting? Are you sharing too much about your children online?” :http://home.bt.com/…/what-is-sharenting-oversharenting-chil…

…………………………………………………………………………………

credit : https://www.facebook.com/phongsathon.golf/posts/10210774550494637
ขอบคุณภาพ : mygoodplanet.com/wp-content/uploads/2016/03/baby-sharenting.jpg