เปลี่ยน “ภาระ” เป็น “พลัง” ชวนเที่ยวงานวันคนพิการสากล

39

องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล พร้อมเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับคนพิการและเปิดโอกาสให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของสังคมอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรม และเสมอภาคกับคนทั่วไป พม. จึงได้จับมือภาคีเครือข่ายจัดงานวันคนพิการสากล 2561 มุ่งเสริมพลังคนพิการด้วยการมีงานทำ และนวัตกรรมเพื่อคนทั้งมวล  พร้อมเชิญเที่ยวงาน 3-4 ธ.ค.นี้ ที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิด “งานวันคนพิการสากล ประจำปี 2561 ภายใต้แนวคิด “การเสริมพลังคนพิการ และการประกันการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเสมอภาค ทั่วถึง และเป็นธรรม” (Empowering persons with disabilities and ensuring inclusiveness and equality) พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ คนพิการต้นแบบ 11 รางวัล รางวัล องค์กรที่สนับสนุนงานด้านคนพิการดีเยี่ยม 3 รางวัล องค์กรที่สนับสนุนงานด้านคนพิการดีเด่น 64 รางวัล หน่วยงานดีเด่นด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ จำนวน 8 รางวัล และมาตรฐานองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการระดับดีมาก 32 รางวัล โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนทั้งสิ้น 3,000 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายคนพิการ องค์กรคนพิการทั้ง 7 ประเภท คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน องค์กรคนพิการระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 4 ธันวาคม 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์

พลเอก อนันตพร กล่าวว่า  “รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสิทธิ โอกาส ความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมของคนพิการ  ภายใต้แนวคิด ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  (leave no one behind)  และได้มีกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่ำเทียมในสังคม โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเปลี่ยนจาก “ภาระ” ให้เป็น “พลัง”

อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5   พ.ศ. 2560 – 2564  ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ “คนพิการเข้ำถึงสิทธิที่เป็นจริง ดำรงชีวิต อิสระ ในสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”  ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ของชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12   รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลได้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลคุณภาพชีวิต คนพิการ  โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมให้คนพิการมีโอกาส ประกอบอำชีพสร้างรำยได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับคนอื่น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการความสำคัญในการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  ลดความเหลื่อมล้ำเสริมสร้างสังคมที่ ปราศจากอุปสรรค การเข้าถึงสภาพแวดล้อม ข้อมูลข่าวสำร และ เทคโนโลยีสำรสนเทศสำหรับคนพิการ การให้โอกาส เกียรติ และ กำลังใจ เพื่อให้คนพิกำรได้รับการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองและ ส่งเสริมสิทธิ การจัดสวัสดิการด้านต่างๆ อย่างเสมอภาคเท่าเทียม ทั่วถึงและเป็นธรรม

เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  มีความเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์คนพิการของไทย ประเด็น กำรส่งเสริมกำรจ้างงำนคนพิการ ถือเป็นหนึ่งใน มาตรการและกลไกการเสริมพลังคนพิการให้สำมารถดำรงชีวิตได้ อย่างอิสระในสังคมเทียบเท่ำกับบุคคลทั่วไป  ซึ่งกฎหมาย ได้มีการกำหนดให้ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ โดยให้นำยจ้าง หรือสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการ เข้าทำงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม หรือจัดสถานที่จำหน่ายสินค้า และบริการ จ้างเหมาช่วงงาน จัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก  หรืออาจส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อกองทุนได้นำเงินเหล่านี้ไปให้คนพิการ กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพอิสระโดยไม่เสียดอกเบี้ย / หรืออาจนำไป สนับสนุนการดำ เนินโครงกรต่ำง ๆ ที่จะเกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

สำหรับการจัดงานวันคนพิการสากลในครั้งนี้ จะเป็น   การนำผลงานด้านคนพิการ ที่เน้นประเด็นด้านการเสริมพลัง และการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ รวมถึงการแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ของคนพิการมาจัดแสดงให้ประชาชนและบุคคลทั่วไป ได้เห็น ถึงศักยภาพและความสามารถของคนพิการในเชิงประจักษ์

สำหรับกิจกรรมที่สำคัญภายในงานแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ 1) โซนพิธีการ เป็นรูปแบบเวทีเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรูปประสบการณ์ในการมีงานทำของคนพิการ ทั้งเรื่องการจ้างงานคนพิการอย่างมีศักดิ์ศรีและยั่งยืน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านคนพิการ และปัจจัยความสำเร็จ (Key success) ร่วมกัน ระหว่างคนพิการ องค์กรคนพิการ ภาคเอกชน และภาครัฐ  เวทีเสวนา ขอนแก่นโมเดล เดินหน้าการจ้างงานคนพิการผ่านชุมชน เป็นการยกตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นที่มุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ในการขยายเครือข่ายคนพิการ และผู้ดูแลให้รวมตัวกัน ด้วยการร่วมคิดร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมทำงานเพื่อการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้ อีกทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมด้วยประชารัฐระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ส่งผลให้เกิดการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 33 34 และ 35 ในหน่วยงานต่างๆ  นอกจากนี้ มีกิจกรรม Work shop ช่องทางทำกิน “ขนมไทย ทำกินได้ ทำขายรวย” จากศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการบ้านทองพูนเผ่าพนัส จ.อุบลราชธานี เป็นผู้ฝึกสอนและให้คนพิการได้ทดลองปฏิบัติจริง

2) โซนนิทรรศการ ประกอบด้วย องค์กรคนพิการ 7 ประเภท และภาคเอกชนที่สนับสนุนงานด้านคนพิการดีเด่น และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ 3) โซนบูธขายผลิตภัณฑ์คนพิการและกลุ่มอาชีพคนพิการ อาทิ งานศิลปะ งานฝีมือ งานประดิษฐ์ เครื่องใช้ งานจักรสาน งานตัดเย็บ งานทอผ้า อาหาร อาหารแปรรูป จำนวนกว่า 150 บูธ