๊UN จัดภิปราย นโยบายภูมิภาคเอเชียของเอวีพีเอ็น หัวข้อ “ความร่วมมือด้านนโยบายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจเพื่อสังคม”

91

การประชุมอภิปรายด้านนโยบายในภูมิภาคเอเชียของเอวีพีเอ็น แนะให้มีความร่วมมือแบบสร้างสรรค์ระหว่างรัฐและเอกชน โดยนำทรัพยากรจากภาคเอกชนมาร่วมสร้างประโยชน์เพื่อสังคม

การประชุมอภิปรายด้านนโยบายในภูมิภาคเอเชียของเอวีพีเอ็น (เอพีเอฟ) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้ ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ ยูเนสแค็ป (UNESCAP) ภายในงานประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญกว่า 89 คน จาก 21 ประเทศทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยเอวีพีเอ็น ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิบีเอ็มดับเบิลยู เครดิต สวิส บริติช เคานชิล และ ยูเนสแค็ป นำเสนอการประชุมที่มีเนื้อหาเพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจเพื่อสังคมในเอเชีย

การประชุมอภิปรายจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือด้านนโยบายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจเพื่อสังคม” สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการแนวทางใหม่ ๆ ในการให้บริการทางสังคมที่ใช้ความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์ โดยเนื้อหาในการประชุมอภิปรายครอบคลุมถึงความต้องการที่จะให้รัฐบาลนำทรัพยากรจากภาคเอกชนมาร่วมสร้างประโยชน์แก่สังคม ตัวแทนในที่ประชุมได้กล่าวถึงอนาคตที่ดีขึ้นซึ่งเกิดโดยการพัฒนาจากมุมมองแบบเอเชียอย่างชัดเจนและความเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ของรัฐบาล “ในตอนนี้ เศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาสังคมถูกมองว่าเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พวกเราคาดหวังว่าเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาสังคมนี้จะกลายมาเป็นเศรษฐกิจหลักในอนาคต และความคิดริเริ่มอย่าง การประชุมอภิปรายด้านนโยบายในภูมิภาคเอเชียของเอวีพีเอ็น จะทำให้เศรษฐกิจแบบนี้เกิดขึ้นได้จริง” กล่าวโดย เปาโล เบนิกโน “แบม” อากิโน ที่ 4 วุฒิสมาชิกแห่งวุฒิสภาฟิลิปปินส์

โดยตลอดทั้งวัน วิทยากรกว่า 30 ท่าน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนตัวอย่างของกฎหมายมากมายที่ได้เกิดขึ้นทั่วทั้งเอเชีย เพื่อกระตุ้นภาคเอกชนให้ลงทุนในเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาสังคม จากมาตรการจูงใจทางการเงินในประเทศไทยไปจนถึงเทศบัญญัติในกรุงโซล การอภิปรายเป็นหมู่คณะและการประชุมกลุ่มย่อย สรุปแนวทางสำคัญที่รัฐบาลสามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นด้วยการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรกับนักลงทุน “กฎระเบียบและกฎหมายไม่ควรเป็นอุปสรรคแต่ควรเป็นพื้นฐานสำหรับนโยบายที่ยั่งยืนในระยะยาว” พอล คาร์ทาร์ ที่ปรึกษาอาวุธโส บริดจ์สแปน กรุ๊ป และอดีตผู้จัดการกองทุนนวัตกรรมทางสังคมภายใต้ประธานาธิบดีโอบามา

พันธบัตรเพื่อสังคม หรือ เอสไอบี เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่บรรดาผู้แทนของรัฐบาลเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มผู้กำหนดนโยบายจากทั่วโลก เนื่องจากสามารถรวมเอารัฐบาล ผู้ให้บริการภาคเอกชน และนักลงทุนมาร่วมกันในการดำเนินงานที่สามารถกำหนดผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า สภาเทศบาลกรุงโซลได้ผ่านร่างกฎหมายเอสไอบี เมื่อปี พ.ศ. 2557 และในปี พ.ศ. 2558 ได้เปิดตัวเอสไอบีแรกของประเทศที่กำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่อาศัยอยู่ในที่พักที่เป็นสวัสดิการของเมือง

“พันธกิจของเอวีพีเอ็นคือ ส่งเสริมการลงทุนทางสังคมในเอเชียและสร้างความมั่นใจว่าการลงทุนเหล่านี้จะสร้างผลกระทบด้านบวกทางสังคมได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” แพทเซียน โลว์ ผู้อำนวยการ เอพีเอฟ เอวีพีเอ็น กล่าว “การประชุม เช่น เอพีเอฟ จึงมีความสำคัญต่อพันธกิจนี้ เนื่องจากรัฐบาลเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในเศรษฐกิจเชิงสังคม เพราะสามารถอนุญาตหรือยับยั้งเงินที่จะนำไปใช้เพื่อบรรเทาปัญหาทางสังคมได้”

ต่อยอดจากรายงานเอวีพีเอ็นฉบับล่าสุด ภาพรวมการลงทุนเพื่อสังคมในเอเชีย เอวีพีเอ็นซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรสำหรับนักลงทุนทางสังคมในเอเชียระบุว่ายังคงมุ่งเน้นการวิจัยเชิงนโยบายและการสร้างประชาคมสำหรับผู้กำหนดนโยบายระดับภูมิภาคผ่านโครงการเอพีเอฟ สำหรับแผนกิจกรรมในอนาคตนั่นประกอบด้วย การสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายที่มีประโยชน์สำหรับบริษัท การแสวงหาความร่วมมือในการดำเนินงานของผู้กำหนดนโยบาย และผู้นำด้านเศรษฐกิจเชิงสังคมที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นให้กับนโยบายเศรษฐกิจสังคมในภาพรวมของเอเชีย
###

เอวีพีเอ็น เป็นเครือข่ายของผู้ให้บริจาคที่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างการบริจาคให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนการลงทุนเพื่อสังคมทั่วทั้งเอเชีย ภารกิจของเอวีพีเอ็นคือ การกระตุ้นการเคลื่อนไหวไปสู่แนวทางเชิงกลยุทธ์ให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนแนวทางที่เป็นการทำงานร่วมกันและเน้นผลลัพธ์ของการกุศลและการลงทุนเพื่อสังคม รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าทรัพยากรต่างๆ จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อรับมือกับความท้าทายทางสังคมที่สำคัญ ที่เอเชียกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต www.AVPN.asia