สพฉ.เปิดเวทีเสวนาเสวนาพิเศษให้ข้อ “นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบการแพทย์ฉุกเฉินยุคใหม่” พัฒนาระบบการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินแก่ผู้ป่วย พร้อมผุดนวัตกรรม OIS รวมระบบในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจากต้นทางจนถึงปลายทางที่สามารถเชื่อมต่อกับแพทย์อำนวยการได้ พร้อมเตรียมประสาน GOOGLE เปิดระบบ AMLที่เครื่องโทรศัพท์ สามารถระบุพิกัดผู้ป่วยฉุกเฉินผ่านการโทรศัทพ์ได้ปกติแม้ไม่มี Application
ในการจัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติครั้งที่ 13 ประจำปี 2562 ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่ยุคใหม่การแพทย์ฉุกเฉินไทย” (Conference Program of National EMS Forum 2019 : Next Generation) ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้มีการจัดเสวนาพิเศษให้ข้อ “นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบการแพทย์ฉุกเฉินยุคใหม่” Ems System Technology Innovation” โดยมีวิทยากรในด้านการปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉินเข้าร่วมเป็นวิทยากร
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า การพัฒนาเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและสารสนเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินประสบผลสำเร็จเนื่องจากที่ผ่านมาเราพบปัญหาและอุปสรรคในการช่วยเหลือฉุกเฉินอยู่หลายส่วน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มประชากรเปราะบาง สพฉ.จึงต้องเร่งพัฒนาให้ประประชาชนทุกคนได้มีโอกาสในการเข้าถึงการให้บริการในนะบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งในขณะเดียวกันในเชิงป้องกันก็มีความสำคัญทีเราจะพัฒนาควบคู่กันไปด้วย โดยการพัฒนาทั้งสองสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมการพัฒนาก็คือเทคโนโลยี ซึ่งในแต่ละพื้นที่เรามีผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินหลายกลุ่ม ถ้าต่างคนต่างทำ จะทำให้การช่วยเหลือไม่เป็นระบบเดียวกัน เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบกลางขึ้นมา เพื่อให้พื้นที่นำไปใช้ร่วมกันได้ ทั้งรัฐและเอกชน
รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า ในการพัฒนานั้นสพฉ.ได้อาศัยภาครัฐหลายหน่วยงานมาให้ความรู้ มาช่วยในการคิดนวัตกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาระบบดิจิทัลเรียลไทม์การให้บริการทางด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การสื่อสารด้วยอินเตอร์เน็ทมีทั้งภาพ เสียง และวีดีโอ การพัฒนาการช่วยเหลือกลุ่มผู้พิการทางการได้ยินให้เข้าถึงการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินผ่านล่ามภาษามือ หรือแม้กระทั่งชาวต่างชาติสามารถใช้ระบบแปลภาษาได้โดยไม่ต้องใช้ล่าม หรือพื้นที่ที่ห่างไกลเราก็จะมีระบบดาวเทียม ระบบวิทยุ อินเตอร์เน็ต เพื่อสนันสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดต้องให้ทุกหน่วยงานพิจารณาร่วมกันโดยใช้ระบบกลางมาดำเนินการ
“ระบบที่เกิดขึ้นจะสนับสนุนให้แพทย์สามารถทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยได้ ปัจจุบันเราได้พัฒนาเป็นระบบ CIS ที่ประชาชนแค่โทรผ่านโทรศัพท์ธรรมดาไม่ต้องผ่านแอพพลิชั่นเราก็สามารถรู้พิกัดผู้ป่วยได้เลย โดยระบบนี้จะมีความคลาดเคลื่อนเพียง 7 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีระบบ เทเลเมดีซีน ที่อยู่ในรถพยาบาลแต่ละคัน ที่รถพยาบาลทุกคันจะต้องติดตั้งจีพีเอส ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่าระบบปฏิบัติการ OIS ที่สามารถเชื่อมต่อกับแพทย์ดำเนินการ โดยแพทย์จะรู้ถึงสัญญาณชีพหรือคลื่นหัวใจของผู้ป่วย แพทย์จะเห็นคนไข้ผ่านกล้อง และระบบสามารถดึงลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อดูข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยซึ่งแพทย์จะนำข้อมูลเหล่านั้นมารักษาผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีได้”นพ.ไพโรจน์กล่าว
ขณะที่ ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันการรับเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินมีการขยายขอบเขตมากขึ้นโดยเฉพาะในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอมริกา การรับเรื่องจะเป็นคีย์เวิร์ด จากเสียงมาเป็นวีดีโอคอลแล้วจึงมากลายเป็นเท็กซ์หรือข้อมูล ที่สำคัญคนพิการหรือหูหนวกตาบอด สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง ไม่เท่านั้นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็สามารถเข้าถึงด้วยการแปลภาษาได้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยสิ่งที่แรกที่เราจะต้องทำคือระบบคอลเซ็นเตอร์ที่เราจะต้องสามารถวีดีโอคอลรวมได้ด้วยรวมทั้งยังคงระบบซัพพอร์ทเพื่อใช้กับระบบเดิมในการเพิ่มประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามการแจ้งเหตุฉุกเฉินความสำคัญอยู่ที่การทราบพิกัดยกตัวอย่างเช่นในต่างประเทศจะทีระบบ AML หรือการส่งพิกัดทางมือถือแบบอัตโนมัติเพื่อมาช่วยในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างกรณีที่มีนักปีนเขาโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเมื่อโทรมาที่เบอร์ฉุกเฉินแล้วสายได้ถูกตัดหรือขาดการติดต่อไปหากเป็นระบบเดิมก็จะไม่สามารถทราบถึงพิกัดแต่เมื่อมีระบบ AML นี้ขึ้นมาก็จะทำให้ทราบถึงพิกัดแบบอัตโนมัติซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยในประเทศไทยขณะนี้กำลังติดต่อประสานเพื่อพูดคุยกับบริษัท GOOGLE ที่ต่อไปเพียงผู้ขอความช่วยเหลือโทรมาที่เบอร์ 1669 แม้โทรมาแล้วแต่ขาดการติดต่อก็จะทราบถึงพิกัดทันที
รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยในระบบการแพทย์ฉุกเฉินปัจจุบันนี้เราได้เก็บข้อมูลผ่านกระดาษหรือไม่ เพราะหากเก็บข้อมูลในกระดาษเพียงอย่างเดียวจะทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนข้อมูลลดลง จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล ที่ผ่านมาจะเห็นว่าข้อมูลของผู้ป่วยผู้บาดเจ็บจะมีความสำคัญที่สุดถ้าเรามีการเก็บอย่างถูกต้องแม่นยำก็จะทำให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นกรณีของการเกิดสึนามิ การส่งข้อมูลต่างๆ จะมาจากหลายภาคส่วนและส่งมาที่ส่วนกลาง ซึ่งจุดสำคัญคือมีการส่งข้อมูลผ่านกระดาษเป็นส่วนใหญ่ เมื่อข้อมูลมาส่วนกลางจึงทำให้ข้อมูลส่วนใหญ่มักไม่ตรงกันหรือคลาดเคลื่อน การจัดการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการตรวจสอบความถูกต้องอย่างแม่นยำก็จะช่วยในการให้บริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดร.ธีรวัฒน์ อิสสริยะกุล ผู้จัดการส่วนบริหารความปลอดภัยและมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ระบบเอไอหรือ หุ่นยนต์ จะเข้ามามีบทบาทหลักในการทำงานของทุกภาคส่วน ทุกอย่างกำลังจะเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉินก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะขณะนี้หลายประเทศได้มีการเปิดให้ใช้บริการ 5G แล้ว ซึ่งระบบนี้ จะมีความเสถียรและสามารถรับส่งข้อมูลระดับใหญ่ได้ ต่อไประบบนี้ก็จะมาช่วยแพทย์ทำการผ่าตัดทางไกลได้ ซึ่งประเทศไทยต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ถึงใช้ได้ นอกจากนี้มีความสำคัญที่ต้องพูดถึง ปีที่ผ่านมา ประเทศสิงคโปร์ เคยทำข้อมูลของประชาชน รั่วไหลออกมากว่า 1.5 ล้านคน จนทำให้ ผู้ป่วยได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ต้องระวังเรื่องการปล่อยไวรัสเรียกค่าไถ่ ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยด้วย เพราะถูกไวรัสเรียกค่าไถ่หรือ ransom were โดยโรงพยาบาลไม่สามารถนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน มารักษายังโรงพยาบาลได้ เพราะข้อมูลถูกโจมตี จนต้องส่งไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง ส่งผลกระทบมากมาย เรื่องนี้ต้องระวัง
นอกจากนี้ยังมีกรณีประเทศเวเนซุเอลา ที่ไฟฟ้าดับทั้งประเทศนาน 1 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ถ้าเกิน 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ เรื่องนี้ต้องระมัดระวัง ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำความปลอดภัยในการใช้ “Internet of medical things” ดังนี้ 1.ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย 2.หากไม่มีความจำเป็นใช้อินเตอร์เน็ต ก็ให้ปิด ไม่จำเป็นต้องเปิดตลอดเวลา 3.อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เมื่อเราได้รับเครื่องมาแล้ว ควรตั้งรหัสผ่านให้ทั้งหมด และ 4.ควรจะมีการอัพเดทซอร์ฟแวร์ตลอดเวลา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นมาจากระบบเดิมของเครื่องมือช่วยชีวิต
ดร.กิตติ วงศ์ถาวรวราวัฒน์ หัวหน้าทีมนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้เราได้นำระบบสื่อสารและสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน โดยการใช้ระบบ ITEMS 3 (OIS) Operation Information System ที่ติดตั้งระบบกับศูนย์รับแจ้งเหตุ หน่วยปฏิบัติการโรงพยาบาล และรถปฏิบัติการ เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่ทำงานแบบ real time มาใช้ออกปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตั้งแต่ต้นทางที่รับส่งผู้ป่วยจนถึงปลายทางในการนำส่งผู้ป่วย โดยเราได้เริ่มทดลองใช้จังหวัดอุบลราชธานี โดยระบบนี้มีความสำคัญอยู่ที่ในขณะที่เรามีการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ทีมแพทย์ที่ไม่ได้อยู่บนรถจะสามารถให้คำแนะนำหรือให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินผ่านการ Monitor จากระบบได้ OIS ได้
นอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถบอกให้ทราบถึงตำแหน่งจุดเกิดเหตุ ชุดปฏิบัติการที่ออกช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินคือชุดอะไร และรถฉุกเฉินกำลังแล่นไปที่ไหน ซึ่งเราจะรู้ถึงข้อมูลทั้งหมด ทั้งนี้เราต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ยังมีความคุ้นชินกับระบบอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ หากที่จังหวัดอุบลราชธานีมีความสำเร็จแล้วเราก็จะขยายระบบนี้ไปทั่วประเทศ ทั้งนี้ข้อดีของระบบ OIS จะทำให้แพทย์เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรถและสามารถช่วยในการตัดสินใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าวว่า ในฐานะผู้ใช้งาน EMS ระบบงานส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลถือเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสำคัญก็คือ การจะติดตั้งระบบมอนิเตอร์ ต้องใช้การลงทุนจำนวนมาก ซึ่งระบบนี้จะประสานได้ทั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและคนสั่งการ ทำให้รู้ว่ารถพยาบาลที่รับผู้ป่วยอยู่ตรงไหน เป็นต้น ตรงนี้ถือเป็นประโยชน์อย่างมาก ที่ผ่านมามีการทดลองใช้ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเช่นกัน แต่การดำเนินการ บุคลากรยังไม่คุ้นชิน คงต้องใช้เวลาสักระยะ