LINE ประเทศไทย จัดงาน “LINE THAILAND BUSINESS 2020” ฟอรัมธุรกิจแห่งปี พิสูจน์การเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งอนาคตสำหรับธุรกิจทุกประเภท ด้วยการสร้างนิยามใหม่ของการเติบโตในโลกธุรกิจที่ไม่มีวันกลับเป็นเหมือนเดิมให้แก่แบรนด์ เอเจนซี่ และนักการตลาดชั้นนำ โดยนีลเส็น ประเทศไทย เผยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงวิกฤตภัยโควิด-19 พร้อมนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ จาก LINE สอดรับกับกระแสโลกที่ก้าวออกจากยุค Globalization สู่ Decentralization
นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า ในอดีต เราเห็นตัวอย่างของเทรนด์ใหญ่ระดับโลก (Megatrends) มากมายที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การเชื่อมต่อความเร็วสูง 5G การใช้จ่ายเงินดิจิทัล สงครามทางการค้าระหว่างประเทศ และล่าสุดกับการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกธุรกิจ
คอยเรียนรู้และเร่งปรับตัว ดำเนินรอยตาม Global อยู่เสมอ แต่ด้วยวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็น
ถึงการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมธุรกิจทั่วโลกครั้งใหญ่ไปโดยสิ้นเชิง ทุกภาคส่วนต่างเร่งรับมือกับโจทย์ใหญ่ คือการก้าวขึ้นสู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้มีสูตรสำเร็จในการใช้ดิจิทัลรับมือวิกฤตครั้งนี้มาก่อน เราจึงมองว่าการทำธุรกิจแบบ Decentralization ที่ให้ความสำคัญกับภาคส่วนย่อยมากขึ้น สามารถสอดรับการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันนี้ได้เป็นอย่างดี ควบคู่กับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ทำให้แต่ละภาคธุรกิจต้องนิยามการเติบโตในธุรกิจใหม่ เพื่อความอยู่รอดและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอีกครั้งหลังวิกฤตครั้งใหญ่นี้
โดยในงาน LINE THAILAND BUSINESS 2020 ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่นีลเส็น ประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลและแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไประหว่างช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยสรุปออกมาเป็น 4 ประเด็นสำคัญได้แก่
Basket – ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าในปริมาณน้อยลง Homebody – ผู้บริโภคนิยมหันมาดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่บ้าน Rational – ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงเหตุผลมากขึ้น และ Affordability – ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงปัจจัยด้านราคามากขึ้น
ผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง
จากข้อมูลเชิงสถิติบนแพลตฟอร์ม LINE ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้บริโภคมากมายหลายด้าน
และมีจำนวนผู้บริโภคที่นิยมชื่นชอบพฤติกรรมเหล่านี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ๆ ในสังคมไทย
โดยเราเรียกเทรนด์นี้ว่า “New Human” หรือผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ ตัวอย่างเทรนด์นี้ที่เห็นได้ชัดคือกระแสซีรีส์วายพลิกจากความชอบเฉพาะกลุ่มสู่พฤติกรรมกระแสหลักของผู้ชมชาวไทยก่อนจุดติดเป็นกระแสซีรีส์วายฟีเวอร์ทั่วเอเชีย สร้างกลุ่มแฟนตัวจริงหรือ Fandom ที่พร้อมสนับสนุนนักแสดงซีรีส์วายในดวงใจ ก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ Y-Economy ด้วยการใช้ศิลปิน นักแสดงเป็นกลไกนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากข้อมูลผลสำรวจโดย LINE ประเทศไทยยังพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ชมซีรีส์วายชาวไทยคือเกือบ 20 ล้านคนนิยมดูซีรีส์วายผ่านช่องทาง LINE TV เป็นหลัก
บรรทัดฐานใหม่ในการเก็บข้อมูลไม่พึ่งพาคนกลาง
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา จนเกิดเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการเก็บข้อมูลหรือ “New Rule” ที่อาจส่งผลต่อทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งในฝั่งแพลตฟอร์มและฝั่งแบรนด์ การเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า (First-party data) จึงเป็นทางออกที่ทุกกลุ่มธุรกิจควรให้ความสำคัญ และควรเริ่มเตรียมตัว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง รองรับมาตรการเหล่านี้ให้ทันท่วงที ซึ่ง LINE เล็งเห็นความสำคัญของ First-party data และเปิดให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า
ผู้ใช้งานด้วยโซลูชันและเครื่องมือบนแพลตฟอร์ม LINE มานานเกือบ 3 ปีผ่าน LINE Business Connect for CRM (BCRM) ที่ช่วยบริการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าบน LINE Official Account และ Mission Stickers สติกเกอร์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับเมื่อทำภารกิจตามที่แบรนด์กำหนด เช่น การเพิ่มเพื่อนบน LINE การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเครื่องมือ สามารถช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ในจำนวนมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็วถึงนับล้านโปรไฟล์ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา LINE มีฐานข้อมูลสะสมที่ได้รับโดยตรงจากผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านโปรไฟล์รวมจากทุกแบรนด์ที่ใช้บริการ
ในงานนี้ LINE ยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญของการเก็บและใช้ประโยชน์ของดาต้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศเปิดตัวโซลูชันใหม่ล่าสุด MyCustomer ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่าน LINE OA ให้กับแบรนด์ได้ดีและลึกยิ่งขึ้น ยกระดับระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าแบบครบวงจรหรือ CRM (Customer relationship management) บน LINE ในแบบเดิมๆ สู่การเป็น CDP – Customer Data Platform หรือแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้าแบบใหม่ ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปีหน้า
อิทธิพลและพลังของเอเชียเหนือทั่วโลก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเอเชียได้ก้าวเข้ามาเป็นขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลค่า
การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน 3 ไตรมาสแรกมีมูลค่ารวมกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ1 มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือกว่า 3 เท่า ส่งให้เอเชียกลายเป็น “New Power” ที่อิทธิพลและพลังเหนือภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยหากวัดเฉพาะผู้บริโภคของไทย ประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในด้านการช้อปปิ้งผ่านโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 25592 โดยเฉพาะ Chat Commerce ซึ่งมีผลสำรวจเผยว่า เป็นช่องทางการซื้อขายรูปแบบ E-Commerce ที่ดีที่สุดสำหรับเอสเอ็มอีไทย หากวัดจากผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ ROI – Return on Investment3
จึงอาจกล่าวได้ว่า Chat Commerce คือช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการขายสินค้าแบบ E-Commerce ที่เหมาะและตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยได้อย่างลงตัว LINE จึงได้เปิดให้บริการ MyShop เครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพ LINE OA ด้านการขายของ ด้วยระบบหน้าร้านออนไลน์ ระบบจัดการสต๊อกสินค้า เป็นต้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Merchandise Value) ของ MyShop
มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 17 เท่านับตั้งแต่เปิดให้บริการมา
จากความสำเร็จนี้ LINE ได้เดินหน้าแนะนำเครื่องมือและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อการเติบโตของทุกธุรกิจไทยภายใต้
ความเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Decentralization ออกมาอีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อผู้บริโภคไทย และภาคธุรกิจไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น MyRestaurant โซลูชันสำหรับจัดการบริการต่างๆ ด้านธุรกิจอาหารบน LINE OA ภายใต้ความร่วมมือจาก LINE MAN Wongnai ช่วยดูแลธุรกิจอาหารตั้งแต่บนโลกออนไลน์ถึงหน้าร้านและบริการจัดส่งอย่างครบวงจร Event Stickers สติกเกอร์รูปแบบใหม่ที่แบรนด์สามารถกำหนดยอดดาวน์โหลดได้เองเพื่อควบคุมงบประมาณได้ตามต้องการ เป็นการขยายฐานให้กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงโซลูชันนี้ในการทำธุรกิจได้มากขึ้น
เช่น การแจกสติกเกอร์ให้กับผู้ร่วมงานอีเวนท์ตามจำนวนที่กำหนด การแจกสติกเกอร์สำหรับลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าที่กำหนดไว้ในจำนวนจำกัดเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งพร้อมเปิดให้แบรนด์สามารถใช้งานโซลูชันนี้ได้แล้ววันนี้! และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือการเปิดตัว LINE OA Store แหล่งรวมเครื่องมือและโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ LINE OA ในด้านต่างๆ ทั้งที่พัฒนาจาก LINE เอง และจากองค์กรนักพัฒนาภายนอก รวมไว้ในที่เดียว ซึ่งนอกจากจะมีช่องทางหลักให้ธุรกิจสามารถเลือกใช้เครื่องมือ โซลูชันได้ตามจุดประสงค์ ความต้องการแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักพัฒนาไทย ให้มีตลาดในการนำเสนอผลงานทางด้านเทคโนโลยีสำหรับภาคธุรกิจได้อย่างจริงจัง โดยมีแผนเปิดให้ใช้งานภายในสิ้นปีนี้เช่นเดียวกับ MyRestaurant
“ธุรกิจไทยยังมีความท้าทายข้างหน้ารออยู่ในโลกหลังโควิด-19 โดย LINE พร้อมที่จะนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ เพื่อพลิกนิยามของการเติบโตทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ทั้งแบรนด์ นักการตลาด และเอสเอ็มอี ตลอดจนยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ให้สะดวกสบายขึ้นไปอีกขั้น กระแสตอบกลับต่อเหตุการณ์ครั้งใหญ่ของโลกแบบเฉพาะตัวอันแตกต่างไปตามแต่ละท้องที่หรือ Decentralization ได้สร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจไทยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตามอีกต่อไป ” นรสิทธิ์ กล่าวสรุป