ผลสำรวจจากซีบราเผย มีผู้บริโภคเพียง 2 ใน 10 เท่านั้นที่มั่นใจว่าอาหารที่ตนรับประทานปลอดภัย 100% โดยเฉลี่ย น้อยกว่า 40% ของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเชื่อมั่นในมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ซีบรา เทคโนโลยีส์ (NASDAQ: ZBRA) ผู้นำด้านนวัตกรรมโซลูชั่นอันทันสมัย และคู่ค้าที่เสริมประสิทธิภาพให้กับองค์กรยุคใหม่ เผยผลสำรวจจากรายงาน Food Safety Supply Chain Vision Study ซึ่งรวบรวมไฮไลท์ผลสำรวจจากมุมมองผู้บริโภค รวมไปถึง decision maker ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก โดยรวมถึงผู้ที่ดูแลด้านการจัดจำหน่าย คลังสินค้า ไปจนถึงร้านขายของชำและร้านอาหาร ในหัวข้อ เรื่องความปลอดภัย การตรวจสอบแบบย้อนกลับ (Traceability) และความโปร่งใสของมาตรฐานอาหารและเครื่องดื่ม
จากผลสำรวจพบว่า เมื่อกล่าวถึงความความปลอดภัยของอาหารหรือ Food Safety เรื่องที่ผู้บริโภคเป็นกังวลมากที่สุดได้แก่ ความสะอาดของครัวที่ใช้ประกอบอาหาร, ความสะอาดของพนักงานผู้ประกอบอาหาร, ความเจ็บป่วยจากอาหารเป็นพิษ, อาหารถูกปนเปื้อน และอาหารและเครื่องดื่มถูกเรียกคืนเนื่องจากพบว่าผิดปกติ โดยจากผลสำรวจยังพบว่า 6 ใน 10 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามจะไม่กลับไปทานอาหารที่ร้านเดิมอีกเลยหากพวกเขาเกิดเจ็บป่วยจากอาหารที่รับประทานเข้าไปจากที่ร้าน อีกทั้งผู้บริโภคมากกว่า 80% ยังมองว่าผู้ให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงทั้งโดยหน้าที่และจริยธรรมในการสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอาหารที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
ทั้งนี้ 70% ของผู้บริโภคกล่าวว่า การได้รู้ว่าอาหารและเครื่องดื่มของพวกเขาถูกปรุงแต่ง, จัดเตรียม และจัดการอย่างไรมีความสำคัญมาก และ 69% ยังเห็นด้วยว่าการรับรู้ว่าอาหารของพวกเขามีแหล่งผลิตที่มาที่ไปอย่างไรเป็นสิ่งที่สำคัญ
ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่มากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจที่ทั้งผู้บริโภค และผู้ที่อยู่ในวงการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่างเห็นตรงกันว่า แหล่งที่มา, คุณภาพ และความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้บริโภคเชื่อและสิ่งที่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่มคิดยังคงมีความเหลื่อมล้ำ โดย 7 ใน 10 (69%) ของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่มเห็นว่า อุตสาหกรรมอาหารมีความพร้อมต่อการตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใสของอาหาร แต่มีผู้บริโภคเพียง 35% เท่านั้นที่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว เมื่อถามถึงความพร้อมเรื่องการตรวจสอบแบบย้อนกลับและความโปร่งใสของขั้นตอนการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม มีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่รู้สึกว่าการตรวจสอบนั้นทำได้ในขณะที่ 27% ของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเห็นเช่นเดียวกัน และ 51% ยอมรับว่า การตรวจสอบแบบย้อนกลับและความโปร่งใสของขั้นตอนการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า
ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศ, ซีบรา เทคโนโลยีส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะมีการสร้างมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคทั้งในด้านขั้นตอนการผลิตและการตรวจสอบย้อนกลับ ผู้บริโภคยังคงมีความเคลือบแคลงในมาตรการดังกล่าว ดังนั้นการเพิ่มความเชื่อใจของผู้บริโภคต่อแหล่งที่มาของอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ การแชร์ข้อมูลที่ธุรกิจมีเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่ไป ขั้นตอนการผลิตอาหารจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจสามารถทำได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค”
อีกประเด็นที่น่าสนใจจากรายงานคือ การนำเทคโนโลยีสำหรับตรวจสอบและติดตาม (track and trace solutions) มาปรับใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยกว่า 90% ของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่มยอมรับว่าการลงทุนในโซลูชันที่เน้นการตรวจสอบย้อนกลับจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งยังช่วยตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคไปได้พร้อมกัน เมื่อถามถึงประโยชน์ที่โซลูชั่นของโซลูชั่นดังกล่าว 6 ใน 10 ของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกล่าวว่า โซลูชั่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการขนส่งและการจัดเก็บที่เหมาะสม นอกจากนี้ 41% ยังกล่าวว่า ป้ายผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีอ่านแบบ RFID ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับของอาหารในห่วงโซ่อุปทานได้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีเพียง 31% เท่านั้นที่ใช้ป้ายดังกล่าวในบริษัทของตน
อีกทั้งยังพบว่า คอมพิวเตอร์พกพาและแท็บเล็ต, เครื่องปริ้นฉลากบาร์โค้ดแบบพกพา, เครื่องสแกนและฉลากแบบเฉพาะ จะเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะความเชื่อใจและส่งมอบข้อมูลที่โปร่งใสมากขึ้นให้กับลูกค้า
90% ของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่มคาดว่าจะใช้งานคอมพิวเตอร์พกพาแบบมือถือที่มีความทนทานพร้อมตัวสแกน, เครื่องสแกนบาร์โค้ด, และเครื่องปริ้นฉลากบาร์โค้ดแบบพกพา ภายในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อจัดการและติดตามผลิตภัณฑ์อาหารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้รูปแบบดิจิทัล
ทาน อิ๊ก จิน ผู้จัดการธุรกิจ Vertical Solutions, ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า “ซีบรามีโซลูชันที่สามารถอำนวยความสะดวกและสร้างข้อได้เปรียบให้แก่เหล่าธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่มอย่างครบครันตั้งแต่ขึ้นตอนการสร้างผลผลิตเริ่มต้นเช่นจากในฟาร์ม ไปจนถึงขั้นตอนการปรุงแต่งและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สู่หน้าร้านแก่ผู้บริโภค ธุรกิจสามารถเลือกใช้โซลูชั่นวิธีการติดตามโดยจับคู่เครื่องปริ้นพกพารุ่น ZQ511 และ ZQ521 กับเครื่องสแกน CS60 Series เพื่อปริ้นและสแกนบาร์โค้ด และสามารถเลือกใช้โซลูชัน RFID ได้ผ่านการจับคู่เครื่องปริ้นพกพา RFID รุ่น ZQ511 และ ZQ521 ซึ่งผลิตฉลากพร้อมใช้งาน RFID คู่กับเครื่องอ่าน RFID แบบพกพาและเครื่องสแกนที่สามารถใช้งาน RFID ได้ ดังนั้น RFID จะสามารถช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ มองเห็นการติดตามแบบเรียลไทม์แทบจะทุกขั้นตอน พร้อมนำทางกิจการพวกเขาไปสู่ขั้นใหม่ที่เหนือกว่า”
ข้อมูลสำคัญจาการสำรวจระดับภูมิภาค
เอเชีย-แปซิฟิก:
• ผลสำรวจเผยผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม 93% เชื่อว่าบริษัทของตนมีความรับผิดชอบทางจริยธรรมเพื่อดูแลและจัดการอาหารอย่างปลอดภัย
• ผู้บริโภคเกือบ 3 ใน 4 (73%) ระบุว่าการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากอาหารที่ปนเปื้อน เป็นข้อกังวลอันดับต้นๆของพวกเขาต่อห่วงโซ่อุปทานอาหาร
• ผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรม 89% เชื่อว่าการลงทุนในโซลูชันที่เน้นการตรวจสอบย้อนกลับจะช่วยให้บริษัทของตนมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
ข้อมูลวิธีการสำรวจ
Food Safety Supply Chain Vision Study โดยซีบรา เป็นการศึกษาวิสัยทัศน์ซัพพลายเชนเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งรวบรวมผู้บริโภคประมาณ 4,957 ท่านและผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 462 ท่าน ในอุตสาหกรรมการผลิต, การขนส่งและโลจิสติกส์, การค้าปลีกและค้าส่งในอเมริกาเหนือ, ละตินอเมริกา, เอเชียแปซิฟิก และยุโรป โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนมกราคม 2020 โดย Azure Knowledge Corporation