เพราะที่นอนที่ดีที่สุด ไม่ใช่ที่นอนที่แพงที่สุด หลับดี-สุขภาพดี จะเป็นอย่างไร

234

การนอนคือการพักผ่อนที่จำเป็นของร่างกาย  1 ใน 3 ของชีวิตคนเรา จึงอยู่กับการนอน ไม่เฉพาะการพักผ่อนเพื่อให้หายจากความเมื่อยล้าเท่านั้น แต่ช่วงที่เราหลับ ยังเป็นเวลาของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย คนที่นอนไม่พอหรือนอนไม่หลับ นอกจากเสียสุขภาพกายแล้ว จิตใจยังไม่ผ่องใสอีกด้วย

ที่นอนจึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการนอน คนบางคนต้องพลิกตัวทั้งคืน บ้างก็กระสับกระส่าย หลับๆ ตื่นๆเพราะที่นอนแข็งหรือนุ่มเกินไป ตื่นมานอกจากความงัวเงียแล้ว ยังปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ แต่ที่นอนก็เป็นสินค้าที่เลือกยาก เพราะหากไม่ได้ลองนอนจริงๆ ก็คงไม่สามารถมั่นใจได้เลย

“เราให้คำแนะนำลูกค้าของเราเสมอว่า ที่นอนที่ดีที่สุด ไม่ใช่ ที่นอนที่แพงที่สุด แต่เป็นที่นอนที่คุณรู้สึกนอนหลับได้อย่างสบายที่สุดตลอดทั้งคืน” นั่นคือคำยืนยันจาก ที่นอนซินด้า นวัตกรรมที่นอนจากสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอายุกว่า 22 ปี

คุณวราภรณ์   จารึกวงศ์สวัสดิ์   ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการลาด บริษัท ซินด้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งของช่วงเวลาในการทดลองนอน เพื่อเลือกที่นอนที่”ใช่” ที่สุดสำหรับแต่ละท่าน  จึงได้นำเข้า SYNDA SLEEP CABIN เพื่อให้ทุกท่านที่มาทดลองนอนบนที่นอนของซินด้ามีความรู้สึกเป็นส่วนตัว ผ่อนคลาย และไม่ต้องกังวลกับผู้คนมากมายที่เดินผ่านไปมาในขณะที่กำลังทดลองนอน โดยที่นอนที่อยู่ในห้อง SYNDA SLEEP CABIN เป็นที่นอนนวัตกรรม ล่าสุด ที่เรียกได้ว่าเป็น the3 rd Generation of Memory Foam ที่ผสานนวัตกรรม C Curve Cooling Gel Memory Foam

นับเป็นวิธีการทางการตลาดที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสินค้า จะพอใจหรือไม่อย่างไรก็ทดลองนอนให้รู้กันไปเลย โดยเจ้า SYNDA SLEEP CABIN  ตั้งอยู่ที่   เอสบีดีไซน์ สแควร์  สาขาราชพฤกษ์ ในวันที่12 ม.ค  -18 ก.พ. 61  และมีกำหนดการจะไปตั้งที่ เอสบี ดีไซนสแควร์ สาขาบางนา  และ เอสบีดีไซน์ สแควร์ สาขาเวสต์เกต  ในวันที่ 1-18 ก.พ. 2561  ผู้สนใจสามารถเข้าไปทดลองนอนได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น.

ด้านคุณณัฐธิดา โชติวิทยพร  ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์  กล่าวว่า  พฤติกรรมการนอนของแต่ละคนจะสามารถแบ่งได้ตามท่านอนที่แต่ละคนคุ้นเคย เช่น ชอบนอนตะแคง นอนหงาย หรือ นอนคว่ำ

  • คนที่ชองนอนตะแคง มักจะมีปัญหา ปวดชาที่ต้นแขน เนื่องจากถูกกดทับขณะที่นอนหลับเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงควรเลือกที่นอนที่มีความนุ่ม หรือ สามารถกระจายแรงกดทับได้ดี ก็จะช่วยให้นอนหลับได้สนิท และอาการปวดชาต่างๆก็จะหายไปได้ด้วย
  • คนที่ชองนอนหงาย ที่นอนจะมีความสำคัญมากๆ เพราะจะต้องสามารถรองรับกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี ไม่ทำให้กระดูกสันหลังงอเป็นแอ่งกระทะ หรือ แข็งเกินไป จนเกิดช่องว่างระหว่างช่วงเอว และ ทีนอน อันนี้ต้องลองสังเกต เวลานอนกันดูว่า ถ้านอนแล้ว สามารถเอามือสอดเข้าไประหว่างช่วงเอวกับที่นอนได้ แสดงว่าที่นอนไม่สามารถรองรับสรีระได้ดีพอ จะทำให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อหลังส่วนบน และ สะโพก ทำให้เกิดเป็นอาการปวดหลังได้
  • คนที่ชอบนอนคว่ำ ซึ่งเป็นท่าที่ทางการแพทย์ ไม่แนะนำเลย เพราะเป็นท่าที่จะกดทับช่วงหน้าอก ทำให้หายใจไม่สะดวกและ เป็นท่านอนที่ทำให้กระดูกสันหลังโค้งเป็นแอ่งกระทะ

ทั้งนี้การจะดูว่าเราพักผ่อนได้เพียงพอไหม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนเท่านั้น  แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่เราหลับลึก หรือที่เรียกว่า Deep Sleep นั่นเอง เพราะโดยทางการแพทย์แล้วเราจะแบ่งช่วงในการนอนออกเป็น 2 ช่วง คือช่วง REM และ NON-REM หรือ Deep Sleep

  • ช่วง REM เป็นช่วยที่เราเพิ่งเริ่มนอนหลับ สังเกตได้จากการยังเห็นลูกตากรอกไปกรอกมา ในขณะที่เราหลับตาอยู่
  • ช่วง NON-REM หรือ Deep Sleep  คือช่วงที่เรา นอนหลับได้สนิท เป็นช่วงที่ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนต่างๆมาเพื่อ ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งเป็นช่วงที่เราได้พักผ่อนอย่างแท้จริง ซึ่งตามหลักการแล้ว คนเราควรมีช่วงเวลา Deep Sleep อย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูอย่างเต็มที

การจะเพิ่มชั่วโมง Deep Sleep ในการนอน หรือที่เรียกว่าเพิ่มคุณภาพในการนอนนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ เวลาที่นอนนั้นต้องรู้สึกว่านอนหลับสบาย และ ผ่อนคลาย เพราะหากที่นอนที่คุณนอนอยู่นั้นรู้สึกไม่สบายเท่าที่ควร หรือ รองรับสรีระได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยและพลิกตัวในระหว่างที่คุณนอนอยู่บ่อยขึ้น และการพลิกตัวในขณะที่นอนหลับนั้นจะเป็นการรบกวนชั่วโมงของการนอนแบบ Deep Sleep หรือที่เรียกว่า การตื่นช่วงสั้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกว่านอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุด คือ การเลือกที่นอนที่คุณนอนแล้วรู้สึกสบาย และ สามารถรองรับสรีระได้ดี ก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนได้

นอกจากนั้นการ เว้นระยะห่างของการกินมื้อเย็นให้ห่างจากการนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  รวมทั้งทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ก็มีส่วนทำให้การนอนหลับอย่างมีสุขภาพดี ตื่นมาพร้อมลุยกับทุกงานได้อย่างสดชื่น