เนื่องในวาระวันเบาหวานโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF: International Diabetes Federation) ได้มีการรณรงค์ในประเด็นต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบ
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร, กรมควบคุมโรค, เครือข่าย คนไทยไร้พุง, เครือข่ายชมรมเบาหวาน, ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการฯ, สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยฯ ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมภาคประชาชน ที่ให้ความรู้ในรูปแบบ Walk-Rally และเปิดเวทีเสวนา ภายใต้แนวคิด “Education to Protect Tomorrow” “พรุ่งนี้ไม่สาย ถ้าเรารู้ทัน” #ให้เบาหวานเป็นเรื่องต้องรู้
รวมถึงออกบูธ กิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ในเรื่อง Healthy Lifestyle ทั้งด้านอาหารการออกกำลังกายและการดูแลอารมณ์ จิตใจ เป็นการป้องกันโรคอ้วน เบาหวาน และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ที่เป็นเบาหวาน ให้ได้เข้าถึงความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตัวเอง เพื่อให้สามารถควบคุมเบาหวานได้ตามเป้าหมายและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ตลอดจน หาแนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ผลักดันนโยบายเพื่อยกระดับการเข้าถึงความ รู้ยาและอุปกรณ์ในการดูแลติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมุ่งผลักดันให้โรค เบาหวาน ซึ่งเป็นวาระด้านสุขภาพของโลกและประเทศไทยที่ต้องร่วมมือกันดูแลและ ป้องกันเพื่ออนาคตที่ดีของประชาชน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่ง ประเทศไทย เผยในการเสวนา “กรุงเทพ เดินได้” ว่า “โรคเบาหวาน” เป็นโรคที่พบได้บ่อย และเป็นภาระด้าน สาธารณสุขของประเทศ จากการสำรวจสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา พบว่ามีคนไทยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 5.3 ล้านคน ซึ่งจำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือคนในกรุงเทพเป็นเบาหวานมากกว่าจังหวัด อื่นๆ เกือบเท่าตัว โดยเฉลี่ย คนไทย 100 คน เป็นเบาหวาน 10 คน
แต่สำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเบาหวานถึง 17 คนจาก 100 คนเลยทีเดียว สอดคล้องกับที่เห็นคนกรุงเทพจำนวนมากมีภาวะ อ้วนและเกิดปัญหาสุขภาพมากกว่าคนในจังหวัดอื่น ๆปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานมีหลายอย่าง แต่ที่สำคัญและมักถูกละเลยคือ “กินอยู่ไม่ดี” หรือ “กินดีอยู่ดีเกินไป” หมายถึง ภาวะโภชนาการเกิน กินไม่ถูกต้อง ไม่ออกกาลังกายหรือมีกิจกรรมออกแรง ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมลภาวะในอากาศรอบตัว รวมถึงอายุที่มากขึ้นและพันธุกรรม ก็เป็นปัจจัยเร่งเพิ่มเติม
“การเดินเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมออกแรงทางกายที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดและประหยัดที่สุด เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากนัก และก็เหมาะกับผู้คนทุกช่วงวัย รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานด้วย” แพทย์หญิงวรรณี กล่าว
รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเสวนา ภายใต้หัวข้อ “กรุงเทพ เดินได้” ว่า กรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่มีจำนวนผู้คนอยู่ อาศัยสูงสุดในประเทศแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคด้วยซึ่ง เป้าหมายของทุกคน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ เองก็คือ การพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่ดี
” โดยเรามีนโยบายพัฒนามหานครของเราให้เป็นเมืองที่ดีในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี หรือแม้แต่ปลอดภัยดี และแน่นอน เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ดีครบในทุกมิติอย่างแท้จริง หนึ่งในความ มุ่งหวังของกรุงเทพมหานคร และนโยบายที่เราให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือการทำให้คนในกรุงเทพมหานคร มีสุขภาพที่ดี โดยที่กรุงเทพมหานคร มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่ลงลึกในระดับเขตที่ส่งเสริมให้คนใน กรุงเทพมหานคร มีสุขภาพที่ดี รวมถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมดีและการเดินทางดี เพื่อให้ท้ายสุดผู้คนมีสุขภาพ ที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม จึงอยากเชิญชวนให้ คนกรุงเทพฯ ใส่ใจดูแลสุขภาพ และ เดินให้มากขึ้น” รศ.ดร.ทวิดา กล่าว
สำหรับบรรยากาศ ของการจัดกิจกรรมวันเบาหวานโลก Walk Rally Theme: Access to Diabetes Care ในหัวข้อ “Education to protect tomorrow” “พรุ่งนี้ไม่สาย ถ้าเรารู้ทัน” #ให้เบาหวานเป็นเรื่องต้องรู้ มีความคึกคักตั้งแต่เริ่มงาน โดยมีผู้รักสุขภาพหลากหลายช่วงวัย พาเหรดมาลงทะเบียน และรับเสื้อ วอร์มอัพร่างกายพร้อมแล้ว ก็ออก Walk Rally ตะลุยฐานกิจกรรม ที่ได้ทั้งออกกำลังกายและรับความรู้ กับกิจกรรมฐานเกมส์ต่างๆ สิ้นสุดกิจกรรมเรียกเหงื่อด้วยอาหารเช้ามากคุณประโยชน์ช้อปตลาดนัดสุขภาพกัน อย่างคึกครื้น
จากนั้นเข้าสู่ช่วงพิธีการ โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับเข้าสู่งานฯ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาหัวข้อ “กรุงเทพฯ เดินได้” พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ภายในบริเวณการจัดงาน เต็มไปด้วยบูธให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเข้าถึงอาหารสุขภาพ และการออกกำลังกาย, นิทรรศการศิลปะเบาหวานเด็ก จัดแสดงภาพวาด ภาพถ่าย VDO รณรงค์ เรื่อง Diabetes awareness, อาหารเพื่อสุขภาพ จำหน่ายพืชผักผลไม้ สินค้าปลอดสารพิษ, ประเมินความเสี่ยงเบาหวานด้วยตนเอง, ตรวจน้ำตาลในเลือดเจาะปลายนิ้ว, ฉีดวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น นับว่าประทับใจผู้มาร่วมงานถ้วนหน้าเพราะได้ทั้งสารอาหารดีต่อร่างกายแล้ว ยังได้องค์ ความรู้ดีๆ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ สวนอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย