W9 จับ “เศรษฐกิจการนอน” คนไทยนอนไม่หลับพุ่ง 40% ของประชากร

21
Sleepless young woman suffering from insomnia or nightmares close up, bad dreams, tired depressed female covering eyes with hands, lying on pillow in bed, feeling headache or migraine

W9 Wellness Center เดินหน้าจับตลาด “Sleep Economy” หรือ “เศรษฐกิจการนอน” เผยเป็นหนึ่งเซ็กเมนต์ในกลุ่มธุรกิจ Wellness ที่มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบคนไทยเผชิญปัญหานอนไม่หลับมากถึง 40% ของประชากร หรือราว 19 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน 70% นับเป็นหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตา แนะแก้ปัญหาการนอนที่ต้นเหตุ ตรวจวิเคราะห์ปรับสุมดลสุขภาพ ฮอร์โมน ที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายเพื่อการนอนหลับที่ได้คุณภาพ

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหานอนไม่หลับขึ้นแท่นปัญหาสุขภาพระดับโลก สาเหตุจากปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก อาทิ เสียงดังรบกวน สว่างเกินไป หรือคับแคบเกินไป ทำให้นอนหลับยาก และปัจจัยภายในจากการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานในร่างกาย ทั้งความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว อาการไอ และปัญหาโรคอ้วน ทำให้มีปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่เพียงพอ เกิดภาวะนอนไม่หลับ เป็นต้น

ส่งผลให้เทรนด์ตลาดโลกเปลี่ยน ล่าสุด Statista แพลตฟอร์มออนไลน์เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและเก็บสถิติชั้นนำคาดการณ์มูลค่าตลาด “เศรษฐกิจการนอน” รวมทั่วโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตถึง 585,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโต 35% จากปี 2562 ซึ่งเป็นทิศทางสอดรับกับภาพรวมเทรนด์ตลาดสุขภาพประเทศไทย โดยรายงานของกรมสุขภาพจิตพบว่า คนไทยเผชิญปัญหานอนไม่หลับมากถึง 40% ของประชากร หรือราว 19 ล้านคน โดยจากตัวเลขดังกล่าว เฉลี่ยพบว่าเป็นกลุ่มที่นอนหลับยาก 30% และเป็นกลุ่มคนทำงานจำนวนสูงถึง 70% คาดแนวโน้มจำนวนผู้มีปัญหาในการนอนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานและวัยรุ่น

ทั้งนี้ จากภาพรวมและแนวโน้มความต้องการในตลาดชี้ให้เห็นว่า เทรนด์สุขภาพที่เกี่ยวกับตลาด “เศรษฐกิจการนอน” เป็นหนึ่งเซ็กเมนต์ในกลุ่มธุรกิจ Wellness ที่น่าจับตาในปัจจุบันและอนาคต ด้วยอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ล่าสุด W9 Wellness ศูนย์การแพทย์แบบองค์รวม แบ่งโรคนอนไม่หลับออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปัญหาการนอนหลับตามระยะเวลาที่เกิดโรค และกลุ่มปัญหาการนอนหลับที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของการนอน

โดยกลุ่มแรก ได้แก่ โรคนอนไม่หลับจากปัญหาการปรับตัว หรือ Adjustment Insomnia มักเกิดจากความตื่นเต้น ความเครียด ปัญหาวิตกกังวล มักมีอาการนอนไม่หลับไม่กี่คืน และมีอาการดังกล่าวน้อยกว่า 3 เดือน เมื่อเหตุปัจจัยข้างต้นหายไป ก็สามารถกลับมานอนหลับได้เป็นปกติ และ โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง หรือ Chronic insomnia ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หรือ การทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งมีอาการนานมากกว่า 1 เดือน มักจะกังวลกับการนอนหลับของตนเอง หรืออาจเพราะการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในระหว่างการนอนหลับ

ส่วนกลุ่มที่ 2 ที่มีปัญหาการนอนในแต่ละช่วงเวลา ได้แก่ Initial insomnia หรือ ภาวะที่คนไข้ที่ใช้เวลานานกว่าจะหลับ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับความเครียด ภาวะวิตกกังวล Maintenance insomnia หรือ ภาวะที่สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ ไม่สามารถนอนหลับได้ยาว ซึ่งอาจสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพ การหยุดหายใจขณะหลับ หรือการเสียสมดุลของระบบฮอร์โมน และ Terminal insomnia หรือ ภาวะตื่นเร็วกว่าเวลาอันควร ซึ่งอาจสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า หรือโรคความเสื่อม ที่ส่งผลถึงนาฬิกาชีวิต

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์

เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคแก้ไขปัญหานอนไม่หลับหรือหลับไม่เพียงพอ W9 Wellness แนะกลยุทธ์ปรับ “นาฬิกาชีวิต” แก้ปัญหาการนอนที่ต้นเหตุ เน้นความสำคัญกับมิติของความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตใจ ผ่านการปรับสมดุลสุขภาพ เช่น การปรับสมดุลฮอร์โมน สมดุลสารสื่อประสาท ที่สัมพันธ์กับอารมณ์ ความเครียด และวงจรการนอนหลับ เพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพ หรือการปรับสมดุลวิตามิน แร่ธาตุ ในร่างกาย ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ช่วยในการเสริมคุณภาพการนอนหลับ

การใช้เทคโนโลยีออกซิเจนบำบัด ให้ร่างกายรับออกซิเจนได้ในปริมาณที่มากขึ้น เข้าไปช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ร่างกายผ่อนคลาย ช่วยให้หลับง่ายขึ้น และการเสริมประสิทธิภาพระบบขับสารพิษของร่างกาย จากสารพิษ สารเคมีเยอะต่าง ๆ ที่เผชิญในชีวิตประจำวัน ที่อาจเข้าไปรบกวนการทำงานของร่างกายทั้งระบบประสาทและระบบฮอร์โมน

อย่างไรก็ดี แกนหลักสำคัญแก้ไขปัญหาการนอนควรแก้จากต้นเหตุ ควบคู่กับการรักษาสมดุลสุขภาพกายและสุขภาพใจ ย้ำการรักษาทางการแพทย์แบบองค์รวมช่วยแก้ไขปัญหาการนอนหลับเชิงลึกในทีละขั้นจนผู้ป่วยสามารถกลับมานอนหลับได้เอง โดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับอีกต่อไป ปรึกษาข้อมูลการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบเจาะลึกเฉพาะบุคคลด้วยการออกแบบโปรแกรมสุขภาพที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ พร้อมรับคำปรึกษาได้ที่ W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://w9wellness.com หรือโทรศัพท์ 092 993 6922