ดีไซน์เก๋จากดินเผา “จากท้องถิ่นสู่เมือง เลื่องชื่ออัตลักษณ์”

466

ภูมิปัญญาที่มีมาแต่โบราณคือองค์ความรู้อันเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตของคนไทย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาดของคนในอดีต และวันนี้ นอกจากการสืบสานเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแล้ว การต่อยอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มก็เป็นอีกแนวทางที่จะทำให้ภูมิปัญญานั้นๆ มีความโดดเด่น พร้อมคุณค่าความสง่างามท่ียังคงอยู่สืบไป

เช่นเดียวกับภูมิปัญญาของการทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป หนึ่งในเครื่องปั้นดินเผาของไทยที่รู้จักกันดีคือ ดินเผาตำบลด่านเกวียน จ.นครราชสีมานั่นเอง

ล่าสุด สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดนิทรรศการเครื่องประดับดินเผาด่านเกวียน “จากท้องถิ่น สู่เมือง เลื่องชื่ออัตลักษณ์” (Inheritance and Identities) ที่ ผลิตจากดินเผาด่านเกวียนโดยนำมผสมผสานกับวัสดุอื่นๆ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแบบใหม่ที่มี ความสวยงามและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยได้นำมาจัดแสดงเพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สัมผัสกับมุมมองใหม่ๆ ของ เครื่องประดับจากดินเผาตำบลด่านเกวียน จ.นครราชสีมา

ภายในนิทรรศการนอกจากนี้ยังมีการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการพัฒนามาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้ กับท้องถิ่น ยังมีกิจกรรมกิจกรรม DIY เครื่องประดับภายในพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ (GIT Museum) อีกด้วย

สนใจก็เข้าไปชมนิทรรศการ “จากท้องถิ่น สู่เมือง เลื่องชื่ออัตลักษณ์”  (Inheritance and Identities) กันได้ตั้งแต่ วันนี้-27 เมษายน 2561 ณ พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ (GIT Museum) สถาบันวิจัยและพัฒนา อัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0 2634 4999 ต่อ 312