กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดสัมมนา T Mark

71

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ขานรับนโยบายรัฐบาลผลักดันการพัฒนาการค้าควบคู่ไปกับการสร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานแรงงานไทย  พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนในองค์กร ผ่านการจัดสัมมนา Thailand Trust Mark “เคล็ด (ไม่) ลับ ลุยตลาดโลก (Borderless Economy)” โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมหน่วยงาน      ภาคเอกชนมาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ร่วมงาน

ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่  ผู้อำนวยการสํานักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  กล่าวว่า “จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมถึงการใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคธุรกิจต้องเร่งผลักดันตนเองเพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น ในคุณภาพสินค้าและบริการของตน ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินโครงการ Thailand Trust Mark เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน และกระบวนการ  ผลิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมได้สมัครขอรับตรา T Mark เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเชื่อมั่น  และความไว้วางใจว่าเป็นสินค้าและบริการที่มาจากองค์กรที่คำนึงถึงสังคม นอกจากนี้ทางรัฐบาลเองได้มีการประกาศวาระแห่งชาติ ในการใช้สิทธิมนุษยชน ในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นตราสัญลักษณ์ T Mark ของกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญที่จะช่วยผลักดันคุณภาพสินค้า เคียงคู่สิทธิมนุษยชนของแรงงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อตอกย้ำปณิธาน    และความมุ่งมั่น ในการยกระดับคุณภาพสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่อง”

ด้วยบทบาทของโครงการ Thailand Trust Mark มีหน้าที่ในการดำเนินการและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้า   และบริการไทยจึงประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาให้ความรู้เรื่องของมาตรฐานแรงงานไทย   และอุตสาหกรรมสีเขียวที่จะช่วยผลักดันแบรนด์ไทยให้มีความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดโลก ผ่านการจัดสัมมนาภายใต้ โครงการการสนับสนุนสินค้าและบริการไทยที่มีคุณภาพ “Thailand Trust Mark” ในหัวข้อ “เคล็ด (ไม่) ลับ ลุยตลาดโลก (Borderless Economy)” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของหน่วยงานทั้งภาครัฐ          และภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันมาถ่ายทอดความรู้  ได้แก่ ศาตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นบรรยายในเรื่องสิทธิมนุษยชน : ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ประกอบการถึงการสร้างคุณภาพมาตรฐานแรงงานและสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านมุมมอง 3 มิติหลัก คือ

มิติที่ 1 : การสร้างมาตรฐานแรงงาน ตามกรอบและระเบียบของกฏหมายแรงงาน

มิติที่ 2 : การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม

มิติที่ 3 : การสร้างมาตรฐานสินค้าให้ ได้คุณภาพทั้งมาตรฐานภายใน และ มาตรฐานสากล

ในส่วนการเสวนา “เคล็ด (ไม่) ลับ ลุยตลาดโลก (Borderless Economy)” โดย คุณณัฐภาณุ นพคุณ  ผู้อํานวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ คุณยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณสําราญ สอนผึ้ง ผู้อํานวยการ ฝ่ายอาวุโส ฝ่ายหน่วยตรวจสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และ คุณบุญธรรม ว่องประพิณกุล ผู้อำนวยการประจำกลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริหาร จากกลุ่มมิตรผล ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางของสิทธิมนุษยชน การจัดการปัญหาแรงงานในองค์กรและการใช้       แรงงานที่เป็นธรรมตามหลักกฎหมาย ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทย  ให้ก้าวสู่ตลาดโลก

พร้อมผู้แทนจาก 2 หน่วยงาน คุณวิชญพรรณ พลอยทับทิม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และคุณสุกิจ ครุฑคง ผู้อำนวยการพัฒนากลุ่มงานระบบมาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมเสวนาในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐาน  แรงงานไทย  และอุตสาหกรรมสีเขียว”

“ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ประเทศไทยภายในปี 2575 เป็นประเทศที่ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และลดปัญหาการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลจึงประกาศให้เรื่องสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจถือเป็นวาระแห่งชาติเพื่อช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ และขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ให้บรรลุผล โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ผลักดันโครงการสำคัญอย่าง Thailand Trust Mark  ในการสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ ภายใต้เงื่อนไขการผลิตที่ ได้มาตรฐาน คือ มีสถานประกอบการที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour standard) เป็นอุตสาหกรรมที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environmental Concern) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)     รวมถึงมีการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน”  ม.ล.คฑาทอง กล่าว

ทั้งนี้จุดประสงค์ของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ Thailand Trust Mark ในวงกว้าง เเละเพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสินค้าและบริการในประเทศไทย เข้าร่วมโครงการเพื่อให้นานาชาติ    รับรู้ว่าสินค้าและบริการของบริษัทท่านมีการใช้แรงงานที่เป็นธรรม มีกระบวนการผลิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม หากสนใจสามารถสมัครขอรับตราได้ที่ www.thailandtrustmark.com