การแพร่ระบาดของไวรัสในปัจจุบันสร้างผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งทางร่างกายจิตใจ รวมถึงเศรษฐกิจสังคมในเรื่องของค่าใช้จ่ายการดูแลรักษา สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนยังคงอยู่ภายใต้ความเสี่ยงต่อการคุกคามของไวรัสและเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไวรัสที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย เช่น ไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสงูสวัด และอื่นๆ
โรคจากไวรัสเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยหลากหลายระดับ ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงภาวะรุนแรงที่ส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพกายและใจของผู้ป่วย หนึ่งในภัยคุกคามสุขภาพล่าสุดคือ “งูสวัด” (Herpes Zoster) ซึ่งเกิดจากไวรัส Varicella-Zoster ไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใสโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพราะระบบภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มอ่อนแอลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
สถิติการเกิดงูสวัดพบว่าในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แม้จะมีร่างกายแข็งแรงดี แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดได้ถึงร้อยละ 25 และจะเพิ่มถึงร้อยละ 50 ในผู้ที่มีอายุถึง 85 ปี หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยในการเกิดโรค เช่น ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันทำให้ไวรัสที่แฝงตัวอยู่กลับมาก่อโรคอีกครั้ง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของ โรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน โรคหัวใจ และการบาดเจ็บที่ระบบประสาท หรือมีปัจจัยกดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง หรือการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
คนสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงตามอายุ เมื่อร่างกายไม่สามารถต้านทานไวรัสที่ซ่อนอยู่ในปมประสาทได้ดีเท่ากับช่วงวัยหนุ่มสาว ไวรัสที่เคยทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสก็อาจกลับมากำเริบและพัฒนาเป็นงูสวัดได้
ศ. ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) (APCO) หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM กล่าวถึงภัยจากโรคงูสวัดว่า “ภูมิต้านทานของร่างกายที่ลดลงทำให้เชื้อไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายมีโอกาสกลับมาก่อโรค ความรุนแรงของโรคงูสวัดอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่รับยาเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็ง เมื่อเป็นโรคงูสวัดจะมีอาการปวดรุนแรงกว่าผู้อื่น และยังสามารถแพร่กระจายโรคสู่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระบบประสาท หากไวรัสเข้าสู่สมอง หรือทำให้เกิดอาการผิดปกติในดวงตาซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้
การมีสุขภาพแข็งแรงและดูแลร่างกายให้สมบูรณ์อยู่เสมอเป็นวิธีการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจึงมีความสำคัญในการป้องกันไวรัสและเชื้อโรครวมถึงไวรัสงูสวัด โดยงานวิจัยล่าสุดของ APCO ได้พัฒนานวัตกรรมแห่งชาติไทย มังคุดเสริมฤทธิ์ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันจากสารสกัดธรรมชาติในพืชไทย 5 ชนิด คือ มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพิ่มเซลล์ทีพิฆาต (Killer T cells) ให้จัดการกับไวรัสได้ครอบคลุมทุกชนิด รวมถึงไวรัสงูสวัด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ (Telomere) ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงและดูอ่อนเยาว์ขึ้น”
การดูแลสุขภาพด้วยการป้องกันและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องนี้จะช่วยให้ร่างกายต้านทานโรคร้ายได้ดีขึ้น อีกทั้ง มังคุดเสริมฤทธิ์ ยังเหมาะสมกับทุกวัยและช่วยเสริมเกราะป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัส ควบคู่กับการดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด เช่น การฝึกโยคะและการทำสมาธิ ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงและปกป้องร่างกายจากโรคภัยต่างๆได้เป็นอย่างดี